วันที่ 5 ตุลาคม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าโครงการสำรวจฯ บริษัท ซูเปอร์โพล จำกัดได้กล่าวถึง ผลการสำรวจของซูเปอร์โพล ที่ได้สำรวจเกาะติดความคิดเห็น ความรู้สึกของประชาชนต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองของทุก ๆฝ่าย ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ซูเปอร์โพลชี้ประชาชนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารประเทศ
ปากพาจน “ผอ.ซูเปอร์โพล" จ่อฟ้องเอาผิด"สิระ"
ผลโพลเทเสียง ให้ส.ส. แก้นิสัย ก่อนแก้รัฐธรรมนูญ
ซุปเปอร์โพลเผย “คนไทย”อยากเห็นทุกคนรักกัน ทำดีเพื่อพ่อ
โดยล่าสุดผลสำรวจที่ค้นพบ เป็นเรื่องความรู้สึกนึกคิดของประชาชน ต่อการเคลื่อนไหวการชุมนุม ของกลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มต่าง ๆ สิ่งที่คณะทำงานได้ค้นพบว่า ประชาชนโดยส่วนใหญ่ รับไม่ได้กับการที่มีการคุกคาม การใส่ร้ายป้ายสี การใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย เป็นการสวนความควาดหวังของคน
ซึ่งก่อนหน้านี้เราพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ หนุน สนับสนุน การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มผู้ชุมนุม เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ประชาชนคาดหวัง จะมีอะไรใหม่ๆ จะมีอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน แล้วจะไม่ไปซ้ำรอยเดิม ซ้ำรอยเดิมคล้ายๆกับในอดีตในเรื่องของความรุนแรงบานปลาย ประชาชนรับไม่ได้กับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจขณะนี้ และวิกฤต โควิด-19 แต่เมื่อมาชุมนุมแล้ว คนโดยส่วนใหญ่มองว่าเป็นการซ้ำเติม เป็นเพราะว่าผู้ชุมนุมยังคงใช้ถ้อยคำ การคุกคามผู้อื่นที่เห็นต่างแต่ในเวลาเดียวกัน ผู้ชุมนุมบอกว่า ตัวเองต้องปลอดจากการคุกคามที่เห็นต่างจากอีกฝั่งหนึ่ง แต่ว่ากลุ่มผู้ชุมนุมหรือกลุ่มที่สนับสนุนกลุ่มผู้ชมุนุม ได้ไปคุกคามผู้อื่นที่เห็นต่างกับฝั่งตัวเอง นอกจากนั้นไปทำลายผู้อื่นเดือดร้อน แบบนี้สังคมไทยรับไม่ได้
“ไม่ใช่แค่สังคมไทย สังคมไหนก็รับไม่ได้ ไปเบียดเบียนผู้อื่น ไปทำร้ายผู้อื่น ใส่ร้ายป้ายสี เป็นสิ่งที่คณะวิจัย ซุเปอร์โพล สำรวจค้นพบยืนยันได้ว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า ถ้าหากผู้ชุมนุมยังคงใช้วิธีแบบเดิม ๆใช้การคุกคามแล้วทำหรือเคลื่อนไหว ที่มีนัยยะที่จะเกิดความรุนแรงบานปลาย ไม่มีใครที่จะเห็นชอบด้วย แต่ถ้าจะชุมนุมภายใต้กฎหมาย ออกมาแสดงความต้องการให้ฝ่ายที่มีอำนาจรัฐ ต้องการส่งเสียงไปยังผู้มีอำนาจ ควรจะทำด้วยความสงบเรียบร้อย มากกว่าความรุนแรงบานปลาย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล ระบุ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล ระบุอีกว่า ชาติ บ้านเมืองอยู่ในช่วงวิกฤต ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ และ เรื่องโควิด -19 เราจะเห็นว่าคนในโลกออนไลน์ กำลังโจมตีคนที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคม ถ้าเป็นการไปรวมตัวและไม่รับผิดชอบระมัดระวัง กลุ่มคนแพร่ระบาดโควิด-19 การชุมนุมอาจเป็นการเสี่ยง ถ้ากลุ่มผู้ชุมนุมอยู่ในโลกโชเชียล กันอย่างจริงๆ มีจิตใจที่จะคอยปกป้องดูแลสังคม กลับกลายเป็นว่าไปละเมิดเสียเอง ละเมิดกฎหมาย ละเมิดการป้องกันการแพร่ระบาด สิ่งเหล่านี้ต้องนำมาเป็นโจทย์ตั้งเคลื่อนไหวอย่างไรทำให้ได้ฐานสนับสนุน
“ชุมนุมได้ เป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่งดงาม แต่จะต้องภายใต้กฎหมาย ชุมนุมอย่างสงบด้วยความเรียบร้อย ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองกำลังดูอยู่ ถ้าก่อให้เกิดความรุนแรงบานปลายไม่มีใครที่จะเห็นด้วย ยกเว้นคนที่ได้ประโยชน์จากความรุนแรง บานปลายและการสูญเสีย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดลกล่าวทิ้งท้าย