ประกาศเฝ้าระวังพายุ 7-12 ต.ค. พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม

05 ต.ค. 2563 | 12:01 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ต.ค. 2563 | 02:11 น.

รับมือพายุดีเปรสชั่น "กองอํานวยการน้ำแห่งชาติ" ออกประกาศ เรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม

วันที่ 5 ต.ค. 63 เวลา 18.00 น. มีประกาศ กองอํานวยการน้ำแห่งชาติ เรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ฉบับที่ 9/2563 ลงนาม โดย นายสําเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสํานักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เลขานุการกองอํานวยการน้ำแห่งชาติ ระบุว่า

 

 
ตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2563 แจ้งว่า หย่อมความกดอากาศต่ำ กําลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มจะทวีกําลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในวันพรุ่งนี้ (6 ตุลาคม 2563) คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนใต้ (ในวันที่ 7 ตุลาคม 2563) 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เช็กเส้นทางพายุดีเปรสชั่น 2 ลูก จังหวัดไหนกระทบบ้าง

ไต้ฝุ่น “จันหอม” จ่อถล่มญี่ปุ่น 6-8 ต.ค.

“พายุดีเปรสชั่น”ไม่มาไทย แต่หลายจังหวัดเตรียมรับมือฝนถล่ม 7-10 ต.ค.นี้

เวียดนาม กัมพูชา ระทึก “พายุ” จ่อถล่ม

อีก 27 วัน "สิ้นสุดฤดูฝน" จับตา 8 -11 ต.ค. 63 หย่อมความกดอากาศต่ำอาจเป็นพายุ 

 

หลังจากนั้นจะเคลื่อนตัว ทางทิศตะวันตก มายังบริเวณอ่าวไทยตอนบน (ในวันที่ 8 ตุลาคม 2563) ทําให้ในช่วงวันที่ 7 – 9 ตุลาคม 2563 มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันตก และภาคใต้

กองอํานวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ (One Map) พบว่ามีพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ในช่วงวันที่ 7-12 ตุลาคม 2563 ดังนี้

1. เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม บริเวณ 

- ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก น่าน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี 

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดชัยภูมิ เลย ขอนแก่น และนครราชสีมา 

- ภาคตะวันออก จังหวัดปราจีนบุรี นครนายก สระแก้ว ชลบุรี และระยอง 

- ภาคตะวันตก จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ 

- ภาคใต้ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และสตูล

 

2.เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ลําตะคอง ลําน้ำมูล และลําปลายมาศ จังหวัดนครราชสีมา

ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการ ดังนี้

1.    ติดตามเฝ้าระวังสภาพอากาศ และสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะพื้นที่ ที่มีฝนตกหนักต่อเนื่อง หรือพื้นที่เสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมซ้ำซากและมีสิ่งกีดขวางทางระบายน้ำ

2.    ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำและแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมพร้อมในการอพยพ ได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

3.    ปรับแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ พร้อมพิจารณา ความเหมาะสมในการบริหารน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ ๙๐ หรือเกินเกณฑ์ ควบคุมระดับน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) 

โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก และอ่างเก็บน้ำ หนองปลาไหล จังหวัดระยอง เพื่อมิให้ส่งผลกระทบให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งเตรียมพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อเป็นแก้มลิงในการหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลาก

4.    เตรียมความพร้อมแผนเผชิญเหตุรับมืออุทกภัย บุคลากร และเครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อบูรณาการ ให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน

 

ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 18.00 น.

ประกาศ กองอํานวยการน้ำแห่งชาติ เรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ฉบับที่ ๔/๒๕๑๓”