ขอไฟเขียว ‘ยอร์ชต่างชาติ’เข้าไทยกักกันโรค14วันบนเรือยันไม่เสี่ยง

12 ต.ค. 2563 | 07:24 น.

สมาคมธุรกิจเรือยอร์ชไทยยื่นกรมเจ้าท่า ขอรัฐไฟเขียวเปิดรับเรือยอร์ชต่างชาติเข้าไทย ชี้เสี่ยงต่ำ ช่วยสร้างงานอู่ซ่อมเรือ-มารีนา เพิ่มกำลังซื้อในพื้นที่ โดยขอกักตัว14วันบนเรือ

สมาคมธุรกิจเรือยอร์ชไทยยื่นกรมเจ้าท่า ขอรัฐไฟเขียวเปิดรับเรือยอร์ชต่างชาติเข้าไทย ช่วยสร้างงานอู่ซ่อมเรือ-มารีนา เพิ่มกำลังซื้อในพื้นที่ พร้อมปฎิบัติตามเงื่อนไขกักกันโรคของสาธารณสุขโดยขอกักกันบนเรือ ชี้ความเสี่ยงตํ่าไม่สัมผัสผู้คนลดโอกาสแพร่เชื้อ
    

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมธุรกิจเรือยอร์ชไทย (TYBA) ได้ยื่นหนังสือถึงจังหวัดสงขลาผ่านหอการค้าจังหวัดภูเก็ต เพื่อพิจารณาอนุญาตให้เรือยอร์ชต่างชาติเข้ามาทอดสมอลอยลำหรือเทียบท่าในประเทศได้อีกครั้ง เพื่อเป็นการกลับมาเปิดธุรกิจเรือท่องเที่ยวสู่ราชอาณาจักรไทยอีกครั้ง ซึ่งหอการค้าจะได้ส่งข้อเสนอให้ทางจังหวัดพิจารณา ก่อนส่งให้ส่วนกลางมีมติอีกครั้ง
  ขอไฟเขียว ‘ยอร์ชต่างชาติ’เข้าไทยกักกันโรค14วันบนเรือยันไม่เสี่ยง    

นายแมทธิว พลวัต ณ นคร นายกสมาคมธุรกิจเรือยอร์ชไทย เปิดเผย“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า สมาคมได้รับการประสานจากเรือต่างชาติว่าประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนเกิดโควิด-19 และยังยืนยันความต้องการอยู่กว่า 20 ลำในย่านมหาสมุทรอินเดีย เนื่องจากที่อื่นไม่มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ และยังมีเรือในย่านเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ที่อินโดนีเซีย อีกไม่ตํ่ากว่า 20 ลำเช่นกัน ที่ต้องการนำเรือเข้ามาซ่อมบำรุง ซึ่งได้รอมากว่า 6 เดือนและถึงรอบการตรวจเช็กแล้ว แต่ติดปัญหาที่ไทยยังไม่เปิดให้เข้า
    

จากเดิมที่เคยมีเรือยอร์ชเข้ามาในประเทศปีละ 1,500-1,700 ลำ การห้ามเรือยอร์ชต่างชาติเข้าประเทศส่งผลกระทบต่อสมาชิกสมาคมฯอย่างหนัก เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากเรือยอรช์ต่างชาติ สูญเสียรายได้มากถึง 50 - 60 % และกิจการที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ธุรกิจให้เช่าเและท่องเที่ยวเรืยอรช์ สูญเสียรายได้มากถึง 90-100%

 

สมาคมจึงใคร่ขอให้คณะ ศบค.พิจารณาอนุญาตให้เรือยอรช์ ที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 เดินทางเข้าประเทศไทยได้ในลักษณะเป็นรายกรณี จึงทำข้อเสนอ“รีสตาร์ทธุรกิจเรือท่องเที่ยวสู่ราชอาณาจักรไทย” ให้กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม พิจารณา ซึ่งกรมเจ้าท่าแจ้งให้เสนอผ่านทางจังหวัดด้วยอีกทาง
ขอไฟเขียว ‘ยอร์ชต่างชาติ’เข้าไทยกักกันโรค14วันบนเรือยันไม่เสี่ยง     

ขอไฟเขียว ‘ยอร์ชต่างชาติ’เข้าไทยกักกันโรค14วันบนเรือยันไม่เสี่ยง

ทั้งนี้ ผู้เดินทางทางเรือพร้อมดำเนินการตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่ใช้สำหรับคนต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ โดยการกักกันโรค 14 วันขอให้เป็นการกักตัวบนเรือที่จะเข้ามาทอดสมอหรือเทียบท่าตามที่หน่วยงานรัฐจะกำหนด
    

ที่ขอกักตัวบนเรือเนื่องจากเป็นเรือส่วนตัว ซึ่งก็เหมือนบ้านลอยนํ้าที่เจ้าตัวใช้พักอยู่แล้ว การให้กักบนเรือทำให้ไม่ต้องเดินทางไปที่ ALSQ บนบก อื่นๆ ไม่เกิดการสัมผัสกับบุคคลอื่นที่เพิ่มความเสี่ยงการระบาดของเชื้อ โดยเจ้าหน้าที่รัฐทั้งตรวจคนเข้าเมือง หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สามารถเฝ้าระวังอยู่ด้านนอกได้จนครบกำหนด รวมทั้งหากให้ขึ้นมากักโรคบนฝั่งขณะที่เรือจอดทอดสมออยู่นั้น อาจมีความเสี่ยงเกิดความเสียหายต่อตัวเรือหรือทรัพย์สินได้ อาทิ จากภัยธรรมชาติ ในช่วงที่ไม่มีใครคอยเฝ้าระวังอยู่บนเรือ โดยตลอดเวลาที่กักโรคบนเรือเจ้าหน้าที่สามารถมอนิเตอร์ได้ทั้งจากการลาดตระเวณ การติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด หรือใช้อุปกรณ์ติดตามตัว เป็นต้น
    

ขอไฟเขียว ‘ยอร์ชต่างชาติ’เข้าไทยกักกันโรค14วันบนเรือยันไม่เสี่ยง

ขอไฟเขียว ‘ยอร์ชต่างชาติ’เข้าไทยกักกันโรค14วันบนเรือยันไม่เสี่ยง

นายกสมาคมธุรกิจเรือยอร์ชไทยกล่าวอีกว่า การเปิดให้เรือยอร์ชต่างชาติเข้าประเทศได้นั้น จะเกิดประโยชน์กับประเทศ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นของต่างชาติถึง 90% จะทำให้อู่และช่างซ่อมบำรุงเรือมีงานทำ จากที่แทบไม่มีงานเลยตั้งแต่ปิดประเทศมา รวมถึงร้านค้าอะไหล่เรือ
    

นอกจากนี้ยังมีผลต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ ทั้งโอกาสในการขายเชื้อเพลิง อาหาร นํ้า ของอุปโภคบริโภคประจำเรือ ตลอดจนการท่องเที่ยวของเจ้าของเรือซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง ที่อาจแวะเที่ยวในพื้นที่หรือบริเวณใกล้เคียง ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจในพื้นที่ให้คึกคักเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากกลุ่มนี้เข้ามาและเราให้เข้าเมืองในกลุ่มนักท่องเที่ยวหนังสือเดินทางพิเศษ (Special Travel Visa-STV)ได้ จะยิ่งเป็นประโยชน์ในการมาพักและท่องเที่ยวเป็นเวลานานๆ 
  ขอบคุณภาพจากเฟซบุก https://www.facebook.com/porttakola    
 

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า2 ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,617 วันที่11-14 ตุลาคม พ.ศ.2563

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

แล็บตรวจโควิด-19 สนามบินภูเก็ตพร้อม 100 % 

เอกชนมั่นใจศบค.เอาอยู่ เปิดปท.รับท่องเที่ยวแบบพิเศษ

พักภูเก็ตโมเดล ‘พิพัฒน์’เล็งลองสเตย์-Expat

จวกรัฐล้มเหลว “ภูเก็ต โมเดล” ธุรกิจโรงแรมวิกฤต