นายยาโชวาดัน โลเฮีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน อินโดรามา เวนเจอร์ส หรือ ไอวีแอล เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ประกาศเข้าร่วมหุ้นส่วนปฏิบัติการขยะพลาสติกโลก หรือ จีพีเอพี (Global Plastic Action Partnership: GPAP) ที่จัดตั้งโดยสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ซึ่งภาคีความร่วมมือระดับโลกนี้ประกอบด้วยสมาชิกจากหลายภาคส่วน มุ่งลดการรั่วไหลของพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับพลาสติก ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของอินโดรามา เวนเจอร์ส ที่ประกาศไว้ในปี 2562 ในการเพิ่มกำลังการรีไซเคิลเป็นอย่างน้อย 750,000 ตันต่อปี พร้อมลงทุน 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2568
Global Plastic Action Partnership ของสภาเศรษฐกิจโลก จะช่วยส่งเสริมเป้าหมายที่มีร่วมกัน คือการลดขยะพลาสติก จากความพยายามหาแนวร่วมของ World Economic Forum ทำให้จีพีเอพีได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม ในการผลักดันแนวทางจัดการที่ครอบคลุมทั้งระดับประเทศและระดับโลก โดยโรงงานรีไซเคิลของไอวีแอลที่ดำเนินงานทั่วโลกสามารถเติมเต็มวงจรการรีไซเคิลให้สมบูรณ์ และส่งมอบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนสำหรับบรรจุภัณฑ์ PET
“เราผลิตพลาสติก PET ที่มีลักษณะเฉพาะและสามารถรีไซเคิล PET เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องดื่ม และเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ถูกเก็บรวบรวมและรีไซเคิลมากที่สุดในโลก ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเราในการส่งมอบคุณค่าเพิ่มให้กับลูกค้าผ่านผลิตภัณฑ์รีไซเคิลที่ยั่งยืน"
ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ไอวีแอลได้รีไซเคิลขวด PET ไปแล้วกว่า 50,000 ล้านขวด นับตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจรีไซเคิลในปี 2554 และเรายังคงดำเนินการต่อ เนื่องจาก PET เป็นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้เต็มรูปแบบ โดยเราตั้งเป้าที่จะเพิ่มการรีไซเคิลให้ได้เป็น 50,000 ล้านขวดต่อปี ภายในปี 2568 เพื่อขยายโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการรีไซเคิลที่โลกต้องการ ทั้งนี้จีพีเอพี จะร่วมกันนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน และช่วยให้คนทั่วโลกเข้าใจถึงประโยชน์ของการดำเนินการรีไซเคิลแบบครบวงจร
การเข้าร่วม Global Plastic Action Partnership นับเป็นการแสดงจุดยืนและความมุ่งมั่นของอินโดรามา เวนเจอร์สด้านความยั่งยืน และเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน" นาย Kristin Hughes ผู้อำนวยการจีพีเอพี และสมาชิกคณะกรรมการบริหารของสภาเศรษฐกิจโลกกล่าว “การดำเนินธุรกิจทั่วโลก โมเดลธุรกิจที่มีการบูรณาการและองค์ความรู้ด้านการรีไซเคิลที่มีมากกว่าทศวรรษ แสดงถึง ความเป็นเอกลักษณ์ที่จะช่วยสนับสนุนการรีไซเคิล PET แบบครบวงจรมากยิ่งขึ้น
“เราคาดหวังที่จะได้ทำงานร่วมกันและเรียนรู้จากประสบการณ์ของอินโดรามา เวนเจอร์สในด้านระบบการรวบรวมจัดเก็บที่มีอยู่ทั่วโลก เพื่อขับเคลื่อนโซลูชั่นที่จะช่วยปรับปรุงการเก็บรวบรวมร่วมกัน และสร้างความมั่นใจว่าพลาสติกจะไม่ได้เป็นเพียงขยะหลังการใช้งาน” นายโลเฮียกล่าวและว่า อินโดรามา เวนเจอร์ส มีโรงงานรีไซเคิลในประเทศแม็กซิโก สหรัฐอเมริกา บราซิล ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ โปร์แลนด์ ประเทศไทย และกำลังสร้างโรงงานแห่งใหม่ในประเทศฟิลิปปินส์ คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2564
ในปี 2563 อินโดรามา เวนเจอร์ส ประกาศความมุ่งมั่นในการเพิ่มกำลังการรีไซเคิล PET เป็น 750,000 ตัน ภายในปี 2568 พร้อมลงทุนถึง 1.5 พันล้านเหรีญสหรัฐ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว