หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ กล่าวว่า “โครงการฝ่าวิกฤติด้วยเศรษฐกิจและสังคมฐานรากให้พัฒนาก้าวไปตามแนวพระราชดำริ” ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ ภายหลัง เกิดความสำเร็จจากอย่างดีจาก ”โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานรากเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19” ในพื้นที่ต้นแบบ 3 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ ในเวลาเพียง 5 เดือนตั้งแต่มีนาคม-กรกฎาคม 2563
สำหรับโครงการฝ่าวิกฤติด้วยเศรษฐกิจและสังคมฐานรากให้พัฒนาก้าวไปตามแนวพระราชดำริจะจ้างแรงงานผู้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งหมด 9 จังหวัด ที่เป็นพื้นที่ต้นแบบปิดทองหลังพระฯ ได้แก่ น่าน อุทัยธานี เพชรบุรี อุดรธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ประมาณ 450 โครงการที่แตกต่างกันตามสภาพท้องถิ่น ปัญหา ความต้องการ ความพร้อมของชุมชนผ่านการทำประชาคมของแต่ละจังหวัด อาจรวมถึงจังหวัดอื่นที่มีความต้องการและพร้อมดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาของปิดทองหลังพระฯ
มีการศึกษาวิเคราะห์ผลลัพธ์และผลกระทบ ที่เกิดขึ้นจากโครงการ ทั้ง 9 จังหวัดคาดว่า แหล่งน้ำที่จะได้รับการการซ่อมแซมและเสริมศักยภาพ 450 โครงการ คาดว่า 22,500 ครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์จะสามารถมีน้ำทำการเกษตรลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ไม่น้อยกว่า 3,266 บาทต่อเดือน เพิ่มพื้นที่รับประโยชน์ 126,000 ไร่ น้ำเพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้น 99 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดการณ์รายได้ 882 ล้านบาทต่อปี
รูปแบบการทำงานปิดทองหลังพระฯเป็นผู้สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ประชาชนมีส่วนร่วมสละแรงงาน ส่วนงานที่ยากและใช้เวลาสามารถใช้เครื่องกลได้ หรือกรณีต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคเฉพาะก็สามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดำเนินการได้ เป็นการทำงานตามแนวทางในพื้นที่ต้นแบบ และประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายพื้นที่
หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดากล่าวว่า “จากประสบการณ์จ้างงานพื้นที่ 3 จังหวัดอีสานรวม 352 คน ลงทุนไป 65 ล้านบาท ชาวบ้านได้ประโยชน์ 217 ล้านบาท หรือลงทุน 1 บาท จะได้เงินคืนที่ชาวบ้าน 3.3 บาท และ ที่สำคัญคนที่เราจ้างงานไว้ประมาณ ร้อยละ 54 ไม่คิดจะกลับไปทำงานนอกพื้นที่ เราทำเล็ก แต่ได้ใหญ่ แหล่งน้ำบางแห่งใช้เวลา 8 วันเสร็จ ชาวบ้านได้ใช้น้ำทันที”
คนเหล่านี้เป็นคนวัยทำงาน มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ก็นำมาวามรู้ของเขามาช่วยงานของสถาบันฯ เป็นอาสาสมัครพัฒนาพื้นที่ช่วยประสานงานทำโครงการร่วมกับคนในหมู่บ้าน บางคนเป็นบ้านเกิดของตนเองจึงพูดคุย หารือกับคนในหมู่บ้านได้ตลอดเวลา ขณะเดียวกัน ก็เป็นโอกาสให้คนเหล่านี้ได้มาเรียนรู้แนวพระราชดำริ หลักการทรงงานแท้จริงโดยลงมือปฏิบัติ และมีโอกาสกลับมาช่วยเหลือบ้านเกิดเมืองนอนของเขาเอง ถือเป็นงานที่เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย
พอระบบน้ำสำเร็จ ก็มีการเดินหน้าทำงานต่อด้วยการวางแผนการทำเกษตรในพื้นที่ให้สอดคล้องกับระบบน้ำที่ได้ตลอดทั้งปี อาทิ การทำนาหลังการเก็บเกี่ยวแล้วจะปลูกพืชหลังนาอะไรบ้านที่ทำรายได้ให้กับครัวเรือน เป็นการวางแผนตลอดปี “เขาจะมีรายได้ตลอดปี เป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักก็ได้ อย่างน้อยก็มีพืชผักอาหารไว้กินที่บ้านไม่ต้องซื้อ เป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ จะไปสร้างมูลค่าต่อด้วยการหาตลาด ทำส่งขายก็สามารถพัฒนาต่อไปได้ด้วยตนเอง”
“การทำงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป้าหมายหลักก็คือ ครัวเรือน ชุมชน พึ่งพาตนเองได้ โดยการพัฒนาต้องขึ้นอยู่กับความต้องการชาวบ้านเป็นหลัก ไม่ได้มีใครไปบังคับ เขามองเห็นปัญหาของตนเองแล้วร่วมมือแก้ไข สุดท้ายก็เกิดประโยชน์กับตัวเอง”หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดากล่าว