30 ตุลาคม 2563 เพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความซึ่งเรียบเรียงโดย สิทธิพร เดือนตะคุ เจ้าหน้าทีสารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ สดร. ใจความว่า
อีก 48 ปีข้างหน้า #ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส อาจมีโอกาสพุ่งชนโลก
นักดาราศาสตร์ต่างจับตามอง "ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส" เนื่องจากเป็น 1 ใน 3 ดาวเคราะห์น้อยที่มีโอกาสพุ่งชนโลกในช่วงหนึ่งร้อยปีต่อจากนี้ แต่เมื่อไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวายได้เปิดเผยว่า วงโคจรของอะโฟฟิสมีความเปลี่ยนแปลง และอาจพุ่งชนโลกประมาณวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2611 หรืออีก 48 ปีข้างหน้า
Dave Tholen นักดาราศาสตร์ประจำสถาบันดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาวาย ผู้ติดตามดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสมากว่า 16 ปี ได้อธิบายถึงผลการสำรวจล่าสุดว่า การเปลี่ยนแปลงวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยเกิดจากการดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์เรียกว่า ยาคอฟสกีเอฟเฟค (Yarkovsky effect) ส่งผลให้เกิดการเบี่ยงเบนวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสจากเดิมที่คำนวณไว้ปีละ 170 เมตร ซึ่งมากพอที่อาจจะมีโอกาสพุ่งชนโลกในปี พ.ศ. 2611
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"อิมแพ็ค"พร้อมรับคอนเสิร์ตใหญ่ "THE GENTLEMEN LIVE"
เช็กด่วน www.ไทยมีงานทำ.com รับสมัครงานกว่า 5 หมื่นคน
"นายกฯ--ภริยา" ร่วมลอยกระทง 2563 ตามแนววิถีใหม่
DTAV ตั้ง "นกุล เซห์กัล" เป็น CFO คนใหม่
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้โอกาสการเกิดขึ้นมากที่สุดตาม Sentry Risk Table ขององค์การนาซาคือ 1 ใน 150,000 หรือคิดเป็นร้อยละ 0.00067
ปัจจุบัน นักดาราศาสตร์ได้ติดตามดาวเคราะห์น้อยอะโฟฟิสอย่างต่อเนื่อง อัพเดทข้อมูลล่าสุดและคำนวณอย่างระมัดระวัง ซึ่งข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ซูบารุในเดือนมกราคมถึงมีนาคม ช่วยให้วัดตำแหน่งของอะโพฟิสได้อย่างแม่นยำ และสามารถประมาณขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดาวเคราะห์น้อยอะโฟฟิสได้ นั่นคือ 370 เมตร
การเข้าใกล้โลกมากที่สุดครั้งถัดไป คือวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2572 ซึ่งอาจทำให้สามารถมองเห็นดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า นักดาราศาสตร์ต่างเฝ้ารอการเข้าใกล้ครั้งนี้เพราะเป็นโอกาสที่จะได้ข้อมูลของวงโคจรที่แม่นยำ ผลของแรงโน้มถ่วงและแสงอาทิตย์ที่มีผลกับวงโคจรของอะโฟฟิส
ดาวเคราะห์น้อยอะโฟฟิสถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2547 โดยหอดูดาวแห่งชาติคิตพีค (Kitt Peak National Observatory) หากการพุ่งชนเกิดขึ้นจะทำให้เกิดแรงระเบิดที่เทียบเท่ากับระเบิด TNT จำนวน 880 ล้านตัน