รมว.ดีอีเอส ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้า โครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล จากผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนโดยดีป้า ในโครงการท่าเรืออัจฉริยะ ที่สะพานท่าเทียบเรืออ่าวปอ
วันที่ 1 พ.ย. 2563 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พร้อมด้วยนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ และคณะผู้บริหารกระทรวงดิจิทัลฯ และหน่วยงานในสังกัด ลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล จากผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน ภายใต้มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และการนำเทคโนโลยีจาก Digital Startup มาประยุกต์ใช้ ภายใต้มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล โดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2563 โดยมีผู้บริหารในจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยผู้บริหารท้องถิ่น รวมถึงนายประชา อัศวธีระ ผู้อำนวยการ ดีป้า เขตพื้นที่ภาคใต้ ร่วมให้การต้อนรับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง และหน่วยงานในสังกัดได้ติดตามความก้าวหน้า โครงการท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) ณ สะพานท่าเทียบเรืออ่าวปอ ในอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพื่อติดตามต้นแบบท่าเทียบเรืออ่าวปอ โดยบริษัท พัชทรี ทัวร์ จำกัด ที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการท่าเทียบเรือ แพลตฟอร์มที่พัฒนาประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ดังนี้
1. ระบบลงทะเบียนผู้โดยสารทางทะเลกลางผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยให้ผู้ประกอบการนำเที่ยว หรือเจ้าของเรือ ลงทะเบียนรายชื่อผู้โดยสาร ลูกเรือ กัปตัน ชื่อเรือ พร้อมเส้นทางการเดินทางของเรือ ก่อนเรือออกในแต่ละวัน พร้อมระบบรายงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง
2. ระบบจัดการผู้โดยสารท่าเรืออัจฉริยะ
2.1 ประตูอัตโนมัติ ณ จุดขึ้นลงเรือ พร้อม CCTV จับใบหน้า
2.2 ตู้พร้อมอุปกรณ์ (Kiosk) ลงทะเบียนผู้โดยสารหน้าท่าเรือ พร้อมกล้องจับใบหน้า เครื่องอ่านบัตร ประชาชน และหนังสือเดินทาง (Passport)
ซึ่งแพลตฟอร์มออกแบบในลักษณะ One Stop Service เช่น การเชื่อมต่อข้อมูลด้านประกันภัยแบบอัตโนมัติ เมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น นักท่องเที่ยวสามารถนำสายรัดข้อมือไปยืนยันการเคลมประกันกับโรงพยาบาลได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องโทรติดต่อประกันภัย หรือนำเอกสารยืนยันตัวต่างๆ เข้าไปยื่นก่อนการรักษา สามารถเข้ารับการรักษาได้เลย เป็นการลดขั้นตอน ลดระยะเวลาไปอย่างมาก หรือจะเป็นการส่งรายชื่อนักท่องเที่ยวทุกคน ให้เจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่าก่อนการออกเดินทาง เพื่อเป็นไปตามมาตรการรักษาความปลอดภัย ซึ่งแพลตฟอร์มรองรับการอัปโหลดข้อมูลจากบริษัทนำเที่ยว จากนั้นแพลตฟอร์มจะทำการส่งข้อมูลเหล่านั้นให้กับเจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่า และสามารถประมวลผลและสรุปผลได้โดยทันที
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง และหน่วยงานในสังกัดได้เยี่ยมชมระบบจัดการผู้โดยสารท่าเรืออัจฉริยะ ประกอบด้วยตู้อุปกรณ์ (Kiosk) ลงทะเบียนผู้โดยสารหน้าท่าเรือพร้อมกล้องจับใบหน้า เครื่องอ่านบัตรประชาชนและพาสปอร์ต ประตูอัตโนมัติ ณ จุดขึ้น-ลงเรือ กล้องซีซีทีวีตรวจวัดอุณหภูมิ เพื่อประโยชน์ในการดูแลความปลอดภัยและติดตามโรคระบาด ระบบริสแบนด์ติดตามตัวบุคคลและร้องขอความช่วยเหลือเมื่อประสบภัย ภายใต้โครงการ Aqua เป็น Data Driven IoT Platform ที่มาพร้อมกับระบบความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยวทางเรือ ด้วย Technology GPS ระบบเรียกความช่วยเหลือฉุกเฉิน และวงเงินประกันชีวิตและอุบัติเหตุ ได้มีการเก็บข้อมูลการใช้งาน และปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจากผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวทางเรือ เพื่อนำมาหาทางออก (Solution) โดยนำเอา Technology ด้าน IoT ที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะของทางบริษัทมาช่วยในการออกแบบและพัฒนาบริการ Aqua เพื่อรองรับการท่องเที่ยวแห่งยุคดิจิทัล และส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดภูเก็ต
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชงครม.สัญจรภูเก็ต ของบ 1.5 พัต้ นล้าน จ้างงาน5จังหวัด
"นายกฯ" หนุนเพิ่มศักยภาพภาคใต้อันดามันทุกด้าน แนะปรับตัวเพื่อสร้างศักยภาพใหม่
เปิดหมดใจที่มาข้อเสนอ"ยาแรง"ฟื้นอันดามัน
เกาะติด "ครม.สัญจรภูเก็ต" ฟื้นเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งอันดามัน