ท่องเที่ยวชุมชนอีสานยุคนิวนอร์มอล 11จังหวัดลุยเพิ่มศักยภาพ‘โฮมลอดจ์’

11 พ.ย. 2563 | 03:37 น.
อัปเดตล่าสุด :11 พ.ย. 2563 | 10:50 น.

    กระทรวงท่องเที่ยวฯผนึกพันธมิตร พัฒนาศักยภาพที่พักนักเดินทางโฮมลอดจ์ กระตุ้นการท่องเที่ยวชุมชน 11 จังหวัดอีสานเหนือ ปรับตัวสู่มาตรฐานใหม่ยุคหลังโควิด-19 เน้นสุขภาพ ความสะอาด ปลอดภัย


กระทรวงท่องเที่ยวฯผนึกพันธมิตร พัฒนาศักยภาพที่พักนักเดินทาง โฮมลอดจ์ กระตุ้นการท่องเที่ยวชุมชน 11 จังหวัดอีสานเหนือ ปรับตัวสู่มาตรฐานใหม่ยุคหลังโควิด-19 เน้นสุขภาพ ความสะอาด ปลอดภัย 
    

ผู้สื่อข่าว “ฐานเศรษฐกิจ” รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ห้องประชุมณฑาทิพย์ ศูนย์การประชุมและจัดแสดงนานาชาติ จังหวัดอุดรธานี กระทรวงการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) องค์การบริหารการจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ได้จัดอบรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพที่พักนักเดินทางโฮม ลอดจ์ เตรียมพร้อมรองรับการท่องเที่ยววิถีใหม่ มุ่งเน้นการเป็นเจ้าบ้านที่ดีเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีผู้ประกอบการสินค้าการท่องเที่ยวชุมชน ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการที่พักโฮมลอด์จ (Home Lodge) ผู้ประกอยการผลิตสินค้าชุมชนจาก 11 จังหวัดอีสานเหนือ  ได้แก่ อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ เลย กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด และจังหวัดสกลนคร จำนวน 250 คน เข้าร่วม
   ท่องเที่ยวชุมชนอีสานยุคนิวนอร์มอล 11จังหวัดลุยเพิ่มศักยภาพ‘โฮมลอดจ์’  

ทั้งนี้ หลังการระบาดเชื้อโควิด-19 คุณภาพสินค้าและการบริการด้านการท่องเที่ยว จะต้องมีความสะดวก สะอาด ปลอดภัย และเป็นธรรมกับนักท่องเที่ยว นอกเหนือจากการที่จะมุ่งเน้นในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีมิตร ไมตรียินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างยิ้มแย้มเป็นกันเอง คาดหวังหลังกิจกรรมนี้จะมีผู้ประกอบการและชุมชนสมัครเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกร้อยละ 50 ในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชนได้อีกเป็นจำนวนมาก 
    

นายสุเทพ เกื้อสังข์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน อพท. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท) กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิค-19 คือโอกาสที่ยิ่งใหญ่ เมื่อคนต้องกลับภูมิลำเนาเดิม พร้อมกับนำเอาเทคโนโลยี เทคนิค ความรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ติดตัวกลับมาบ้านเกิดชุมชนด้วย  จึงเป็นโอกาสที่ดีในการนำองค์ความรู้เหล่านี้มาจัดการร่วมกับชุมชน  สิ่งสำคัญชุมชนเองก็ต้องรู้จักการท่องเที่ยวชุมชนโดยชุมชน ว่าคือการท่องเที่ยวในรูปแบบหนึ่ง ที่เอาการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ เข้าไปจัดการกับสิ่งที่มีคุณค่าต่างๆ ของชุมชนที่มีอยู่อย่างมากมายไม่เหมือนใคร เช่นความเชื่อ วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์ ฯลฯ ที่ในชุมชนของเรา มาสร้างเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ในสังคมสิ่งแวดล้อมผ่านการมีความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และเมื่อเกิดผลแล้วแบ่งปันกัน  ปลายทางคือ การสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในชุมชนท้องถิ่น และกับนักท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลให้ระดับประเทศเข้มแข็งไปด้วย
       

การแพร่ระบาดของเชื้อโควิค-19 และหลังจากนี้ต่อไปในอนาคต การท่องเที่ยวในทุกๆ มิติ จะไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว เพราะนักท่องเที่ยวจะเป็นห่วงในเรื่องของสุขอนามัยในทุกๆ ด้าน ที่เรียกว่ามาตรฐาน SHA เรื่องความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและยิ่งใหญ่ ต่อมาคือสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวทั่วๆ ไป จึงเป็นโอกาสที่ดีของการท่องเที่ยวชุมชนและการท่องเที่ยวเมืองรอง เพราะการท่องเที่ยวในระดับนี้ต้อนรับนักท่องเที่ยวในประเทศเป็นหลัก
  ท่องเที่ยวชุมชนอีสานยุคนิวนอร์มอล 11จังหวัดลุยเพิ่มศักยภาพ‘โฮมลอดจ์’    

ท่องเที่ยวชุมชนอีสานยุคนิวนอร์มอล 11จังหวัดลุยเพิ่มศักยภาพ‘โฮมลอดจ์’

“ขอยํ้าว่าการทำเท่องเที่ยวชุมชนโดยชุมชน ต้องเข้าใจ เข้าถีง และการพัฒนาโดยมีเหตุผล พอประมาณ พอเพียง  สุดท้ายก็จะมีภูมิคุ้มกันเมื่อมีภัยมากระทบ” นายสุเทพฯกล่าว 

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 17 ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,626 วันที่  12-14 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจก"แผนที่ดิจิทัล"จุดชม"บั้งไฟพญานาค"เพียบตลอดลำน้ำโขง

"เส้นทางพญานาค"ปักหมุด20จุดเช็กอิน"ห้ามพลาด"

Unseen แหล่งท่องเที่ยว อุดรธานี

"วัดภูตะเภาทอง" Unseen แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมะ