ภัยยาต้านจุลชีพสิ่งที่ต้องตระหนักรู้

25 พ.ย. 2563 | 03:05 น.

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 แสนคน เนื่องจากโรคดื้อยา และคาดการณ์ว่าจำนวนนี้อาจเพิ่มขึ้นถึง 10 ล้านคน ภายในปี 2593 หากไม่มีการดำเนินการใดๆ

เพราะฉะนั้น วันที่ 18 - 24 พฤศจิกายนของทุกปี องค์การอนามัยโลก (World Health Organisation: WHO) จึงประกาศให้เป็นสัปดาห์ความตระหนักรู้เรื่องยาต้านจุลชีพโลก เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ต่อภัยคุกคามด้านสาธารณสุขที่ร้ายแรง ซึ่งเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะและยาต้านจุลชีพอื่นๆ ในทางที่ผิด 

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกเผยว่า 80% ของยาปฏิชีวนะที่สำคัญทางการแพทย์ในบางประเทศ ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ โดยรายงานขององค์การอนามัยโลกหลายฉบับแสดงให้เห็นว่า การใช้ยาปฏิชีวนะในปริมาณที่มากและบ่อยครั้ง ในสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อการบริโภคของมนุษย์ ส่งผลให้เกิด “ซูเปอร์บั๊ก” (Superbugs) ซึ่งเป็นแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยยาปฏิชีวนะแบบดั้งเดิม

วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์” ผู้จัดการฝ่ายแคมเปญ องค์กรพัฒนาเอกชน ซิเนอร์เจีย แอนิมอล กล่าวว่า ระบบอาหารการกินของเรา ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และปศุสัตว์ก็เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ที่นำไปสู่ภาวะดื้อยาต้านจุลชีพ

อุตสาหกรรมปศุสัตว์ ที่เป็นจุดศูนย์รวมของสัตว์หลายล้านตัว เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการแพร่กระจายของซูเปอร์บั๊ก จากข้อมูลของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ความเครียดเนื่องจากการกักขัง สภาพสุขาภิบาลที่ไม่ดี และขาดความหลากหลายทางพันธุกรรมของสัตว์ ส่งผลให้เกิดสภาวะที่ง่ายต่อการเกิดโรคและการแพร่กระจาย 

“ในฟาร์มสัตว์มักได้รับยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่เพื่อรักษาความเจ็บป่วย แต่เพื่อป้องกันและส่งเสริมการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น โดยสัตว์เหล่านี้สามารถกลายเป็นพาหะของซูเปอร์บั๊กซึ่งแพร่เชื้อสู่มนุษย์ได้” วิชญะภัทร์ อธิบาย

ภัยยาต้านจุลชีพสิ่งที่ต้องตระหนักรู้

ซูเปอร์บั๊ก สามารถถ่ายทอดสู่มนุษย์ได้หลากหลายวิธี ผ่านการปนเปื้อนใน ดิน นํ้า อากาศ หรือ

อาหารของเรา รวมไปถึงผ่านทางมูลสัตว์และของเหลวอื่นๆ และซูเปอร์บั๊ก ยังสามารถแพร่กระจายผ่านทางอากาศการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไอโอวา ค้นพบแบคทีเรียที่ทนต่อยาปฏิชีวนะที่เรียกว่า MRSA สามารถลอยอยู่ในอากาศได้ถึง 200 เมตรจากฟาร์มหมูในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ การวิจัยจากมหาวิทยาลัย จอนส์ ฮอปกินส์ พบแบคทีเรียที่ทนต่อยาปฏิชีวนะในอากาศภายในรถของนักวิทยาศาสตร์ หลังจากที่พวกเขาขับรถตามหลังรถบรรทุกที่ขนไก่

คนงานอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ชุมชนในพื้นที่ใกล้ฟาร์มปศุสัตว์ และโรงฆ่าสัตว์ มีสิทธิ์เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก รวมไปถึงประชาชนในประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหามาก โดยการใช้ยาปฏิชีวนะมีการเพิ่มขึ้น เนื่องมีแนวโน้มการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์สูงขึ้น และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 67% ภายในปี 2573

การศึกษาที่ตีพิมพ์โดยศูนย์โรคติดเชื้ออุบัติใหม่พบว่า ผู้ที่ทำงานในฟาร์มสุกร มีแนวโน้มที่จะมีแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาหลายชนิด รวมไปถึงMethicillin (MDRSA) มากกว่าคนปกติถึงหกเท่า สืบเนื่องจากการที่พวกเขาสัมผัสโดยตรงกับเนื้อ เลือด อุจจาระ นํ้าลายและของเหลวในร่างกายอื่นๆ ของสัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์ม อีกทั้ง ชุมชนและผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงอาจได้รับการปนเปื้อนจากอากาศและน้ ำที่มาจากสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโรงงานอีกด้วย

  วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น ของคนทั่วไปอย่างเรา จากคำแนะนำขององค์กรซิเนอร์เจีย แอนิมอล คือ การเปลี่ยนมารับประทานอาหารที่เน้นผัก ผลไม้ เพื่อเป็นวิธีการลดความต้องการของผลิตภัณฑ์จากสัตว์ 

องค์กรฯ ได้ทำโครงการท้าลอง 22 วัน เชิญให้คุณทดลองเป็นวีแกน 22 วัน โดยผู้เข้าร่วมจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับสูตรอาหารและการสนับสนุนจากนักโภชนาการทุกวัน แบบไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้ที่สนใจ สามารถลงทะเบียนได้แล้ววันนี้ที่ www.thai challenge22.org 

 

หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,629 วันที่ 22 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563