วันนี้(18 ม.ค.64) เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนและองค์กรภาคี ยื่นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่าน นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี เรียกร้องมาตรการเยียวยาในกลุ่มแรงงาน จากผลกระทบการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้มีความชัดเจน เพียงพอ และครอบคลุม
พร้อมทำกิจกรรมบริเวณข้างทำเนียบรัฐบาล ชูป้ายที่มีข้อความว่า “เงินเยียวยาแรงงานต้องได้ทุกคนอย่างเท่าเทียม เงินภาษีจากประชาชนทำไมต้องลงทะเบียน” โดยขอเรียกร้องที่ได้มีการยื่น ประกอบด้วย
1.ขยายมาตรการการชดเชยรายได้พื้นฐานให้แก่ประชาชนทุกคน ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป รวมถึงแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่อาศัยในประเทศไทย ยกเว้นภาคราชการ โดยจ่ายเดือนละ 5,000 บาทต่อคน เป็นระยะเวลา 3 เดือนจนถึงช่วงรับวัคซีน
2.ปรับปรุงชั้นตอนการเข้าถึงสิทธิการได้รับเงินชดเชยดังกล่าวข้างต้น โดยใช้ฐานข้อมูลบุคคลสัญชาติไทยและคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติขอทะเบียนราษฎรของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ฐานข้อมูลแรงงานจากประเทศเพื่อนของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน รวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนใช้จ่ายเงินชดเชยดังกล่าว กระจายรายได้ให้แก่ผู้ค้าปลีกรายย่อยมากกว่าร้านค้าสะดวกซื้อรายใหญ่
3. จากที่ผ่านมาแต่ละสถาบันการเงินจะใช้ดุลพินิจพักหนี้คราวละ 3 เดือน แต่การพักหนี้ระยะสั้นไม่ส่งผลดีต่อการวางแผนชีวิต สร้างงานใหม่ จึงควรให้ออกมาตรการพักหนี้ครัวเรือนเป็นการทั่วไปอย่างน้อย 1 ปี ได้แก่ หนี้สินส่วนบุคคล บ้าน รถ และลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคและอินเตอร์เน็ท เป็นเวลา 3 เดือน (มกราคมถึงมีนาคม 2564)
4. ยกเลิกหนี้กองทุนเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยให้ดำเนิการจัดสรรเงินทุนให้เปล่าแก่นักเรียนนักศึกษาทุกคนขึ้นมาแทน เพราะการศึกษาควรเป็นสวัสดิการที่รัฐต้องจัดให้ประชาชนฟรี ซึ่งสามารถทำได้โดยการปรับลด โยกย้ายงบประมาณจากส่วนอื่นๆลง อาทิ งบกองทัพและงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์มาชดเชยเพื่อสร้างการศึกษาที่ดีสำหรับประชาชน
5.ประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนไทยหรือแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทย ต้องเข้าถึงการตรวจโรคฟรี รวมถึงได้รับวัคซีนฟรีเมื่อแสดงเจตจำนงที่โรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม ผู้ที่แสดงเจตจำนงไม่ฉีดวัคซีนจะต้องไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่นดียวกับการมีสิทธิเลือกที่จะดาวน์โหลดแอปพลิเคชันตระกูลชนะ ของรัฐหรือไม่ก็ได้
6.จากบทเรียนกรออกมาตรการเยียวยาครั้งที่ผ่านมา ที่ประสบปัญหาสับสน คลุมเครือ มีการแบ่งแยกกีดกันกัน ระหว่งแรงงานบางกลุ่ม และให้สิทธิไม่ถ้วนหน้า ครั้งนี้รัฐไม่ควรทำผิดพลาดซ้ำเดิม โดยต้องให้แรงงานทุกกลุ่มอาชีพเข้าถึงมาตรการเยียวยาของรัฐโดยไม่แบ่งแยก และจะต้องไม่นำงินประกันสังคมของลูกจ้างไปใช้เยี่ยวยาอีก
7.รัฐต้องดูแลแรงงานภาคส่วนศิลปวัฒนธรรม ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำสั่งราชการ
8.มีมาตรการช่วยเหลือแรงงานจากประเทศเพื่อบ้าน
9.มีมาตรการลดและป้องกันช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย สร้างความมั่นคงเพิ่มอำนาจให้ประชาชน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยจะต้องนำมาตรการเก็บภาษีรายได้ในอัตราก้าวหน้าและภาษีความมั่งคั่ง จากคนที่ร่ำรวยที่สุด 1% ในสังคมไทยมาบังคับใช้
10.การแพร่ระบาดรอบสองถือเป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องแสดงความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นตัวการสร้างความเสียหายแก่ประเทศมาเป็นเวลามากกว่า 6 ปี รวมถึงเป็นผู้ไร้ความสามารถอย่างสิ้นเชิง ในการบริหารประเทศในสถานการณ์วิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19
ทั้งนี้ ทางกลุ่มยังขอเรียกร้องให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อเปิดโอกาสชุมนุม เพราะที่ผ่านมาไม่เกิดการแพร่เชื้อจากการชุมนุม แต่มาจากการลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมาย