นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผว่า ออกคำสั่งมาตรการผ่อนคลายการปิดสถานที่ โรงแรม และรีสอร์ท รวมถึงสถานที่ที่มีลักษณะคล้ายกัน เนื่องจากอาจได้รับผลกระทบและเกิดความเสียหายอย่างมากต่อธุรกิจ หากมีการบังคับใช้โดยเคร่งครัด
ตามคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ที่ 200/2564 ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ระลอกใหม่ ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ที่ 203/2564 ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564 เรื่อง ผ่อนผันการบังคับใช้คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี นั้น
เนื่องจากอาจมีผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม และรีสอร์ท รวมถึงสถานที่ที่มีลักษณะคล้ายกัน ได้รับผลกระทบและเกิดความเสียหายอย่างมากต่อธุรกิจ หากมีการบังคับใช้โดยเคร่งครัด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจในอนาคต และเพื่อให้ผู้ที่มีหน้าที่จำเป็นต้องมาปฏิบัติภารกิจในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งผ่านการคัดกรองตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขแล้วจะได้มีที่พักแรม จึงอาศัยอำนาจความในมาตรา 22 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2548 ประกอบกับข้อ 2 และข้อ 7 (1) ของข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และข้อ 5 ของข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564 ประกอบกับคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 1/2564 ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564
นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ กล่าวต่อว่า ในฐานะผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดกาญจนบุรี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี จึงขอยกเลิกคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ที่ 203/2564 แล้วให้ดำเนินการ ดังนี้
ผู้ประกอบการที่มีผู้มาพักแรม หรือเช่าที่พักโดยต่อเนื่องระยะยาว ดำเนินการต่อไป ตามควรแก่การระงับการสูญเสียของกิจการ ทั้งนี้ ให้มีการปฏิบัติตามมาตรการและข้อปฏิบัติด้านสุขอนามัยในเรื่อง การคัดกรองผู้ติดเชื้อ การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัย หรือหลักการของ Social Distancing ที่ชัดเจน
หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้โดยไม่มีเหตุอันสมควรจะมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง สั่ง ณ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กทม.สั่ง ปลดล็อค "13 กิจการ-กิจกรรม" ให้กลับมาเปิดได้
กทม.จ่อคลายล็อก "สปา-ร้านเกมส์-ฟิตเนส-ร้านอินเตอร์เนต"
นายกฯชี้“โควิด”ดีขึ้นรอลุ้นสิ้นเดือนนี้ประเมินคลายล็อคหรือไม่