นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” โดยมีเนื้อหาระบุว่า Rapid test ที่ต้องการคือ ต้อง สามารถ “คัดกรองไม่หลุด” ไม่ให้ผู้ติดเชื้อเข้ามาปะปนได้ นั่นก็คือมีความไว 100%
ทั้งนี้โดยที่ชุดตรวจที่มีอยู่ในขณะนี้จะอนุโลมให้ความไวอยู่ในระดับ 96% ซึ่งหมายความว่าเมื่อตรวจ 1,000 คนจะหลุดได้ 40 คน
ทำไมชุดตรวจใบยามีลักษณะที่ดีในการคัดกรองไม่หลุด เนื่องจากใช้โปรตีน RBD ที่มีความจำเพาะและเป็นโปรตีนชนิดเดียวกันกับที่ทำวัคซีนใบยาที่จะมีการทดสอบในคนไทยระยะที่หนึ่งในเดือนมิถุนายน 2564
ชุดตรวจใบยามีผลบวกเกินจากความเป็นจริงได้ ดังที่ได้มีการตรวจที่ทำเนียบรัฐบาล 350 รายจะมีผลบวกเกินจริงเก้าราย หรือ 2.5% ทั้งนี้ชุดตรวจราคาประมาณ 200 บาทถ้าทำการตรวจด้วยการหาเชื้อจากการแยงจมูกค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ อย่างน้อย 2,000 บาทต่อครั้ง (350X2000บาท) เทียบกับ 200 บาทต่อครั้ง (350X200บาท)
และไม่ให้ผลบวกกับเชื้ออื่นๆทั้งสิ้น เนื่องจากตัวที่จับ กับภูมิในเลือดคือ RBD receptor bindind domain ของ โควิด-19 และประเมินแล้วกับคนติดเชื้ออื่นๆ 300 ราย ที่ไม่ใช่โควิด-19 ทั้งโคโรนาไวรัสประจำถิ่นไวรัสไข้เลือดออกไวรัสใครหวัดใหญ่และอื่นๆที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ
รายละเอียดของการผลิตโปรตีนจากใบยารบกวนรับชมและรับฟังทางวิดีโอต่อไปนี้ครับ