นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) มีนโยบายขอความร่วมมือให้ประชาชนหลีกเลี่ยง หรือชะลอการเดินทางเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โควิด-19ระลอกใหม่ การรถไฟฯ จึงต้องปรับการให้บริการเดินรถใหม่ให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของ ศบค.
โดยมีการงดการให้บริการขบวนรถเชิงสังคม ได้แก่ ขบวนรถธรรมดา ขบวนรถท้องถิ่น และขบวนรถชานเมืองที่ไม่ได้วิ่งให้บริการในชั่วโมงเร่งด่วน จำนวน 57 ขบวน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนการให้บริการการเดินรถในครั้งนี้ การรถไฟฯได้คำนึงถึงความเหมาะสมในการให้บริการแก่ประชาชน โดยพิจารณางดเดินรถเฉพาะเส้นทางที่มีผู้ใช้บริการน้อย หรือเป็นขบวนรถที่มีความจำเป็นไม่มากต่อประชาชนและไม่ได้วิ่งให้บริการในชั่วโมงเร่งด่วน โดยการรถไฟฯ ยังมีขบวนรถโดยสารให้บริการรองรับการเดินทางของประชาชนในทุกเส้นทางอย่างครบถ้วน
อีกทั้งการรถไฟฯ ยังได้มีการดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางราง และกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยกำหนดจุดคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิผู้โดยสารก่อนเข้าในพื้นที่สถานี การตั้งจุดบริการแอลกอฮอล์ล้างมือ ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทาง
พร้อมกับให้สแกนแอพพลิเคชันไทยชนะ ก่อนและหลังใช้บริการ แต่หากผู้โดยสารไม่สามารถใช้แอพพลิเคชันไทยชนะ สามารถกรอกข้อมูลการเดินทางแทนได้ สำหรับประชาชนที่ต้องการเดินทางโดยรถไฟ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
สำหรับขบวนรถเชิงสังคมที่งดให้บริการตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2564 ประกอบด้วย
สายเหนือ จำนวน 13 ขบวน
- ขบวนรถธรรมดาที่ 207/208 กรุงเทพ – นครสวรรค์ - กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 209/210 กรุงเทพ – บ้านตาคลี - กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 211/212 กรุงเทพ – ตะพานหิน - กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 303/304 กรุงเทพ – ลพบุรี - กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 317/318 กรุงเทพ – ลพบุรี - กรุงเทพ
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 401/402 ลพบุรี – พิษณุโลก - ลพบุรี
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 409 อยุธยา - ลพบุรี
สายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 18 ขบวน
- ขบวนรถธรรมดาที่ 233/234 กรุงเทพ – สุรินทร์ - กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 339/340 กรุงเทพ - ชุมทางแก่งคอย - กรุงเทพ
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 417/416 นครราชสีมา – อุดรธานี - นครราชสีมา
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 419/420 นครราชสีมา – อุบลราชธานี - ลำชี
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 423/424 ลำชี – สำโรงทาบ - นครราชสีมา
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 427/428 นครราชสีมา – อุบลราชธานี - นครราชสีมา
-ขบวนรถท้องถิ่นที่ 433/434 ชุมทางแก่งคอย – ชุมทางบัวใหญ่ – ชุมทางแก่งคอย
-ขบวนรถท้องถิ่นที่ 437/438 ชุมทางแก่งคอย – ลำนารายณ์ – ชุมทางแก่งคอย
-ขบวนรถท้องถิ่นที่ 439/440 ชุมทางแก่งคอย – ชุมทางบัวใหญ่ - ชุมทางแก่งคอย
สายใต้ จำนวน 12 ขบวน
- ขบวนรถธรรมดาที่ 251/252 ธนบุรี – ประจวบคีรีขันธ์ - ธนบุรี
- ขบวนรถธรรมดาที่ 259/260 ธนบุรี – น้ำตก - ธนบุรี
- ขบวนรถธรรมดาที่ 261/262 กรุงเทพ – หัวหิน - กรุงเทพ
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 455/456 นครศรีธรรมราช – ยะลา - นครศรีธรรมราช
- ขบวนรถรวมที่ 485/486 ชุมทางหนองปลาดุก – น้ำตก – ชุมทางหนองปลาดุก
- ขบวนรถรวมที่ 489/490 สุราษฎร์ธานี – คีรีรัฐนิคม - สุราษฎร์ธานี
สายตะวันออก จำนวน 14 ขบวน
- ขบวนรถธรรมดาที่ 275/276 กรุงเทพ – ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก - กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 277/278 กรุงเทพ – กบินทร์บุรี – กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 279/280 กรุงเทพ – ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก - กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 281/282 กรุงเทพ - กบินทร์บุรี - กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 367/368 กรุงเทพ – ชุมทางฉะเชิงเทรา - กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 379/380 กรุงเทพ - หัวตะเข้ - กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 389/390 กรุงเทพ – ชุมทางฉะเชิงเทรา - กรุงเทพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลุยรถไฟไทย-จีนเฟส 1-2 เร่ง ประมูล-ลงนาม สัญญาปี64
รฟท.แจงวิธี 'จองตั๋วรถไฟออนไลน์''ง่ายๆ
ส่องสาเหตุ ทำไมรฟท.รายได้หด 13.7 ล้าน