นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 ก.พ. 64 มีมติรับทราบ ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 5 มกราคม 2564 ตามมติคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 โดยให้มีผลบังคับใช้หลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 90 วันเป็นต้นไป ทั้งนี้ กลุ่มสาขาอาชีพ/สาขาอาชีพ ประกอบด้วย
กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหการ ได้แก่
- ช่างกลึง อัตราค่าจ้าง 460-630 บาท/วัน
- ช่างควบคุมเครื่องกลึง CNC อัตราค่าจ้าง 470-675 บาท/วัน
- ช่างควบคุมเครื่อง Wire Cut อัตราค่าจ้าง 480 บาท/วัน
- ช่างเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ อัตราค่าจ้างในช่วง 465-630 บาท/วัน
กลุ่มสาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ได้แก่
- ช่างไฟฟ้าภายนอกอาคารและช่างโทรคมนาคม (ไมโครเวฟและการสื่อสารดาวเทียม) อัตราค่าจ้าง 450 บาท/วัน
- ช่างควบคุมด้วยระบบโปรแกรมเมเบิ้ลลอจิกคอนโทรลเลอร์ (Programmable Logic Controller: PLC) อัตราจ้างระหว่าง 450 -540 บาท/วัน
- ช่างไฟฟ้าสำหรับอุตสาหกรรมการจัดประชุม การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล และการแสดงสินค้า (MICE : Meetings Incentives Conventions Exhibitions) อัตราจ้าง 440 บาท/วัน
- ช่างติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ อัตราจ้าง 450 บาท/วัน
กลุ่มสาขาอาชีพช่างเครื่องกล ได้แก่
- พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถยกไฟฟ้า พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถยกใช้เครื่องยนต์ อัตราค่าจ้าง 430 บาท / วัน
- ช่างตั้งศูนย์และถ่วงล้อรถยนต์ ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ อัตราค่าจ้าง 415 บาท/วัน
ทั้งนี้ สาขาอาชีพพนักงานขับรถบรรทุก ได้มีการชะลอการออกประกาศฯ ไว้ก่อน เพื่อจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพพนักงานขับรถบรรทุกให้ครอบคลุมรถบรรทุกทุกประเภทก่อนจึงนำมาพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สรุปมติครม. 15 ก.พ. 64 “แต่งตั้ง-โยกย้าย" ทุกกระทรวง ทุกหน่วยงาน
ด่วน ครม.เคาะ "ม.33 เรารักกัน" ลงทะเบียน 21 ก.พ. รับเงินเยียวยา 4,000 บาท
ครม.เคาะเพิ่ม สินเชื่อดอกเบี้ย 0.10% ช่วย SME ท่องเที่ยว อาชีพอิสระ
ครม.ไฟเขียวราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ฤดูกาลผลิตปี 62/63 อัตรา 833 บาทต่อตัน