จากผลการศึกษาของกรีนพีซเอเชียตะวนัออกเฉียงใต้และIQAirจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากป้าย แสดงผลตัวเลขตามเวลาจริง(liveCostEstimator)ออนไลน์ พบว่า ปี 2563 ฝุ่นพิษ PM2.5 เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ก่อนวัยอันควรราว 160,000 รายใน 5 เมืองใหญ่ ที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ในขณะที่หลายเมืองมีคุณภาพอากาศดีข้ึนบ้าง อันเป็นผลมาจากมาตรการล๊อคดาวน์ ช่วงการระบาดของโควิด-19 ผลกระทบที่รุนแรงจากมลพิษทางอากาศย้ำถึงความจำเป็นในการ ขยายระบบพลังงานหมุนเวียนท่ีสะอาดอย่างรวดเร็ว สร้างระบบขนส่งมวลชนไฟฟ้าที่ประชาชนเข้าถึงได้ และยุติการพึ่งพา เชื้อเพลิงฟอสซิล
นายอวินัช จันทร์ชาญ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ อินเดีย กล่าวว่า เมื่อรัฐบาลเลือกใช้ถ่านหินน้ำมัน และก๊าซ มากกว่าพลังงานหมุนเวียน นั่นคือต้นทุนด้านสุขภาพที่ประชาชนต้องเป็นผู้จ่าย มลพิษทางอากาศจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มความเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดทางสมอง ความเจ็บป่วยจากโรคหอบหืด และเพิ่มความรุนแรงของโควิด-19 ในเมื่อทางแก้ปัญหามลพิษทางอากาศมีอยู่พร้อมแล้วและมีราคาไม่แพง เราจึงไม่อาจทนหายใจเอาอากาศสกปรกเข้าปอดอีกต่อไป
ในประเทศไทย มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรกว่า 14,000 รายใน 6 จังหวัด โดยคิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 149.37 ล้านบาทกรุงเทพมหานครมีความเสียหายมูลค่าทางเศรษฐกิจจากมลพิษ PM2.5 กว่า 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 104.56 ล้านบาท โดยคิดเป็น 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด(city’sGDP) โดยฝุ่นพิษ PM 2.5 เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรในกรุงเทพฯ เกือบ 10,000 ราย ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่มีการเสียชีวิตจากฝุ่นพิษ PM 2.5 สูงสุดในประเทศไทย รองลงมาคือ เชียงใหม่ ชลบุรี สมุทรสาคร ขอนแก่น และระยอง ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความเสียหายที่เกิดขึ้นคือ ระยะเวลา ความหนาแน่นของประชากร และกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในจังหวัด ในขณะที่ประเทศไทยใช้มาตรการล็อคดาวน์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 มาหลายเดือนแล้ว แต่ปัญหามลพิษทางอากาศกลับไม่ได้ลดน้อยลงเลย และกำลังคุกคามสุขภาพของประชาชน และระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เว้นแต่ว่าวิกฤตมลพิษทางอากาศจะได้รับการแก้ไข
ปี 2563 กรุงเดลี ประเทศอินเดียมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากฝุ่นพิษ PM 2.5 ประมาณ 54,000 ราย หรือคิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 1 คนต่อประชากร 500 คน กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรประมาณ 13,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นพิษ PM 2.5 อย่างต่อเนื่องคิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 101.57 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.2% เทียบกับ GDP ทั้งหมดของกรุงจาการ์ตา
ประมาณการณ์ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศใน 5 เมืองใหญ่ของโลก ปี 2563
ในปี 2563 ความเสียทางเศรษฐกิจโดยประมาณจากฝุ่นพิษ PM 2.5 ใน 14 เมืองที่ปรากฎอยู่ในป้ายแสดงผลตัวเลขตามเวลาจริง คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 149.37 ล้านบาทและเมืองที่มีค่าความเสียหายจากมลพิษ PM 2.5 สูงที่สุดที่บันทึกไว้คือ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรประมาณ 40,000 ราย และคิดเป็นความสียหายทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากฝุ่นพิษ PM 2.5 ประมาณ 43,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว1,284.56 ล้านบาท ลอสแองเจลิสทำสถิติสูงสุดด้านค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจากฝุ่นพิษ PM 2.5 ต่อคนโดยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,700 เหรียญสหรัฐต่อคน หรือ 80,658.20 บาทต่อคน
กรีนพีซเรียกร้องให้รัฐบาลในทุกระดับสนับสนุนให้เกิดลงทุนระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และระบบขนส่งสาธารณะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ เพื่อเป็นการป้องกันสุขภาพของประชาชนจากมลพิษทางอากาศที่ร้ายแรง
แฟรงค์ แฮมเมส ผู้บริหาร IQAir กล่าวว่า“การหายใจของคนเราไม่ควรเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ความจริงที่ว่า มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรราว 160,000 รายใน 5 เมืองใหญ่ น่าจะทำให้เราฉุกคิด โดยเฉพาะในปีที่ผ่านมาที่หลายเมืองมีคุณภาพอากาศดีขึ้นเนื่องจากมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจน้อยลง ภาครัฐ บริษัทต่าง ๆ และภาคประชาชนต้องร่วมกันลดแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศและทำให้เมืองของเราน่าอยู่ขึ้น”
วริษา สี่หิรัญวงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์เพื่อการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน กรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวว่า การสร้างโครงสร้างพื้นฐานของระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดในหลาย ๆ ส่วนของโลกนั้นมีต้นทุนถูกกว่าการลงทุนในเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อมลพิษ โดยที่ยังไม่รวมต้นทุนผลกระทบของมลพิษทางอากาศและวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่ รัฐบาลต้องการให้เกิดการฟื้นตัวจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากสถานการณ์การระบาดของโควิด -19 ภาครัฐจำเป็นต้องสนับสนุนการจ้างงาน และสร้างระบบขนส่งสาธารณะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ และเพิ่มการลงทุนระบบพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ เราต้องการสภาวะปกติที่ดีขึ้นไม่เพียงเพื่ออากาศที่ดีของเรา แต่รวมถึงเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว - อุทกภัย ความแห่งแล้งยาวนาน คลื่นความร้อน พายุที่รุนแรง - ที่เป็นผลมาจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ