“กรุงเทพธุรกิจ” ร่วมกับ “ฐานเศรษฐกิจ” เปิด Clubhouse เปิดเวทีกับซีอีโอองค์กรธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ ภายใต้ชื่อ “CEO โซเซ, Just Say So คุยกับ CEO หลังโควิดธุรกิจเอาไงต่อ” ปรากฏว่าได้รับความสนใจมีผู้รับฟังมากกว่า 300 คน
"เอ็มเฟค"วางแผนระยะยาวจัดลำดับการลงทุน
นายศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็มเฟค เปิดมุมมองว่า วิกฤติที่เกิดขึ้นเป็นสถานการณ์ที่บีบบังคับทำให้องค์กรธุรกิจต้องพร้อมเปลี่ยนแปลง
ก่อนวิกฤติธุรกิจไอทีมีการเปลี่ยนแปลง 3 ส่วนคือเทคโนโลยี ลูกค้า และบุคลากร จากเดิมต้องการเปลี่ยนโดยความงงๆ เมื่อมีวิกฤติกลายเป็นความชัดเจนซึ่งต้องมีการตั้งโจทย์ใหม่และมองไปข้างหน้าระยะยาว เพื่อจัดลำดับความสำคัญการลงทุน
ปัจจุบัน ลูกค้าต้องการที่จะลงทุนให้น้อยที่สุดและได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ต้องการของที่ราคาถูกลง ซึ่งเป็นโจทย์ของบริษัทที่จะต้องตอบโจทย์นี้ให้ได้ และหากทำได้ก็มีโอกาสรอด ทุกคนหากอยู่ในเกมเดิมคงอยู่รอดได้ยาก
โมเดลยื่นหยุ่น โอกาสรอดทางธุรกิจ
นายพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า จากนี้คนที่สามาถปรับตัวและมีความคล่องตัวก็จะมีโอกาสรอดสูง เช่นองค์กรที่ตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีคลาวด์ตั้งแต่ก่อนเกิดโควิด เมื่อมีปัญหาทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้มหาศาล โมเดลที่ยืดหยุ่นจะทำให้สามารถปรับเปลี่ยนการลงทุนได้ตามความจำเป็นและการใช้งานจริง
ต่อยอดหาโมเดลสร้างมูลค่าเพิ่ม
นายวีรวัฒน์ องค์วาสิฏฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วีรันดา รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การรับมืออันดับแรกคือลดต้นทุน เมื่อคลายล็อกดาวน์ เร่ิมเปิดเมือง ได้ปรับตัวมาโฟกัสไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ของลูกค้า เพื่อจับกลุ่มนักท่องเที่ยวในประเทศ
ขณะนี้ ได้เริ่มคิดถึงโหมดการออกจากโควิด มองสิ่งที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้ พร้อมคิดหาโมเดลใหม่ๆ มาพัฒนาให้เกิดแหล่งรายได้ใหม่ๆ ใช้จุดแข็งด้านแบรนด์ดิ้งและฐานลูกค้าที่แข็งแรง พร้อมร่วมมือกับนักลงทุนที่มองหาโอกาสในการลงทุน และขณะนี้เริ่มมองไปข้างหน้า 6 เดือน 9 เดือนว่าควรจะเป็นอย่างไร
ลดต้นทุน เน้นขายผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์
ขณะที่นาย ณัฐวงศ์ มารควัฒน์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท นิซเซอิ เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผลว่า การปรับตัวของธุรกิจอาหารเพื่อรับมือกับสถานการณ์หลักๆ ใช้วิธีการลดค่าใช้จ่าย เข้าไปต่อรองค่าเช่า บริหารจัดการต้นทุน ไม่รับพนักงานใหม่ และเพิ่มการขายบนออนไลน์มากขึ้น แม้จะไม่ได้ขายดีเท่าแต่ก่อน ทว่าเป็นตัวเลขที่พอรับได้
"จากเดิมลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ ปัจจุบันกลายเป็นผู้บริโภคในประเทศ ทั้งมีการทำคลาวด์คิทเช่นตอบโจทย์ดิลิเวอรี ส่งผลต่อภาพรวมการขายหน้าร้านกลับมาแล้วประมาณ 70-80% ยังไม่มากเท่าเดิม ส่วนรายได้จากการดิลิเวอรีทำสัดส่วน 30% ของรายได้ทั้งหมด"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯพูดชัด ไม่เล่น "คลับเฮาส์"แต่สั่งการให้ติดตามหวั่นมีข้อมูลบิดเบือน
"แอร์เอเชีย"แนะรัฐฯเร่งฉีดวัคซีนโควิดเพื่อเปิดประเทศ
ซีอีโอปตท.ย้ำ ไม่ต้องรีบ จองหุ้น OR ได้ถึงวันที่ 2 ก.พ.นี้
ปอท.ผนึก”ดีอี-เอ็มเฟค”เร่งสร้างตระหนักรู้ภัยไซเบอร์