4 ปัจจัย ดันตลาดแรงงานไอทีโตแรง

22 มี.ค. 2564 | 14:01 น.

เอ็กซ์พีริส ประเทศไทย เผยผลสำรวจล่าสุด 4 ปัจจัยความต้องการแรงงานไอทีที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมเจาะลึกสายอาชีพเติบโตสูงสวนกระแส แม้ในสถานการณ์โควิด-19

นายไซมอน แมททิวส์ ผู้จัดการระดับภูมิภาคประจำประเทศไทย, แถบตะวันออกกลาง และเวียดนาม แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เปิดเผยว่า บุคลากรสายงานไอทีนับเป็นกลุ่มงานที่ตลาดแรงงานมีความต้องการสูงและยังมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากคาดการณ์ในอีก 5 - 10 ปีข้างหน้า ความต้องการคนสายไอทียังคงเติบโต โดยมี 4 ปัจจัยหลักเป็นตัวขับเคลื่อน ได้แก่ 

ปัจจัยแรก การเติบโตของกลุ่มเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ อาทิ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), Robotic Process Automation (RPA), บิ๊กดาต้า (Big Data), คลาวด์ (Cloud), อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things-IoT) และฟินเทค (Fintech) เป็นต้น ซึ่งเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนเชิงธุรกิจทำให้โครงสร้างพื้นฐานไอทีของหลายๆ องค์กรเติบโตไปด้วย ดังนั้นจึงทำให้มีความต้องการบุคลากรไอทีจำนวนมากเข้ามาช่วยในส่วนนี้  

ปัจจัยที่สอง ในทุกภาคส่วนของธุรกิจมีการเร่งทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นเพื่อตอบโจทย์ประสบการณ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล  ซึ่งกลุ่มที่เห็นได้ชัดก็คือ กลุ่มธนาคารและการเงิน  ซึ่งปัจจุบันการใช้งานและธุรกรรมต่างๆ ทางการเงินทำได้ง่ายผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ  รวมทั้งกลุ่มการประกันภัย การสื่อสาร ธุรกิจค้าปลีก และยังตามมาด้วยกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ กลุ่มพลังงาน, กลุ่มทรัพยากรบุคคล, ภาคการศึกษาและอุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น  

ส่วนปัจจัยที่สาม มาจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซ, โลจิสติกส์ และธุรกิจเดลิเวอรี่ ที่ช่วยขับเคลื่อนให้กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องเติบโตตามไปด้วยอย่างมีนัยสำคัญ 

และปัจจัยสุดท้าย ก็คือ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด (COVID-19)  เป็นอัตราเร่งให้ทุกองค์กรมีการปรับวิถีชีวิตและการทำงานสู่รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า วิถีชีวิตใหม่ (New Normal)  ทำให้รูปแบบการทำงานขององค์กรเปลี่ยนไปเป็นการทำงานแบบรีโมท (Remote Work) และทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) มากขึ้น

นายไซมอน แมททิวส์ ผู้จัดการระดับภูมิภาคประจำประเทศไทย, แถบตะวันออกกลาง และเวียดนาม แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เปิดเผยว่า บุคลากรสายงานไอทีนับเป็นกลุ่มงานที่ตลาดแรงงานมีความต้องการสูงและยังมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากคาดการณ์ในอีก 5 - 10 ปีข้างหน้า ความต้องการคนสายไอทียังคงเติบโต โดยมี 4 ปัจจัยหลักเป็นตัวขับเคลื่อน ได้แก่ 

ปัจจัยแรก การเติบโตของกลุ่มเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ อาทิ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), Robotic Process Automation (RPA), บิ๊กดาต้า (Big Data), คลาวด์ (Cloud), อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things-IoT) และฟินเทค (Fintech) เป็นต้น ซึ่งเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนเชิงธุรกิจทำให้โครงสร้างพื้นฐานไอทีของหลายๆ องค์กรเติบโตไปด้วย ดังนั้นจึงทำให้มีความต้องการบุคลากรไอทีจำนวนมากเข้ามาช่วยในส่วนนี้  

ปัจจัยที่สอง ในทุกภาคส่วนของธุรกิจมีการเร่งทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นเพื่อตอบโจทย์ประสบการณ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล  ซึ่งกลุ่มที่เห็นได้ชัดก็คือ กลุ่มธนาคารและการเงิน  ซึ่งปัจจุบันการใช้งานและธุรกรรมต่างๆ ทางการเงินทำได้ง่ายผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ  รวมทั้งกลุ่มการประกันภัย การสื่อสาร ธุรกิจค้าปลีก และยังตามมาด้วยกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ กลุ่มพลังงาน, กลุ่มทรัพยากรบุคคล, ภาคการศึกษาและอุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น  

ส่วนปัจจัยที่สาม มาจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซ, โลจิสติกส์ และธุรกิจเดลิเวอรี่ ที่ช่วยขับเคลื่อนให้กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องเติบโตตามไปด้วยอย่างมีนัยสำคัญ 

และปัจจัยสุดท้าย ก็คือ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด (COVID-19)  เป็นอัตราเร่งให้ทุกองค์กรมีการปรับวิถีชีวิตและการทำงานสู่รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า วิถีชีวิตใหม่ (New Normal)  ทำให้รูปแบบการทำงานขององค์กรเปลี่ยนไปเป็นการทำงานแบบรีโมท (Remote Work) และทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) มากขึ้น

สำหรับคนที่ทำงานด้านไอที รูปแบบการทำงานแบบรีโมท (Remote Work) หรือทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะก่อนหน้าที่จะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด กลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยีหลายๆ แห่ง นำรูปแบบการทำงานนี้มาใช้ ซึ่งช่วยความยืดหยุ่นในการทำงานของคนทำงานไอที ปัจจุบันองค์กรมีการปรับรูปแบบการทำงานและกลยุทธ์เพื่อเตรียมพร้อมด้านเทคโนโลยีมากขึ้น จึงทำให้เกิดความต้องการทางด้านบุคลากรไอทีเพิ่มขึ้นไปอีกด้วย

 อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์ถึงดีมานด์ (Demand) การเติบโตของแรงงานไอทีในตลาด พบว่าในบางช่วงมีการชะลอตัวลงเช่นกัน โดยปีที่ผ่านมาในช่วงไตรมาส  2 หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดเพิ่มมากขึ้นเป็นวงกว้างในหลายประเทศ ทำให้เกิดการล็อคดาวน์ กลุ่มองค์กรมีการปรับแผนและชะลอการจ้างตำแหน่งงานใหม่ ซึ่งมีเหตุผลมาจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ หรือยังไม่มั่นใจในสถานการณ์เบื้องหน้า แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาส 3 และ 4  เริ่มมีการกลับมาของความต้องการบุคลากรด้านไอทีที่มากขึ้นและรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง  

ทางด้านมุมของซัพพลาย (Supply) ในประเทศไทยและทั่วโลก ยังคงประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรไอที จากข้อมูลผลสำรวจการเติบโตของตลาดไอทีทั่วโลกของไอดีซีพบว่าในระยะเวลา 5 ปี  ตั้งแต่ปี 2561 – 2565 ตลาดไอทีมีสัดส่วนการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 25.8% ในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย ภายในปี 2565 คาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนการเติบโตอยู่ที่ 61% ของจีดีพี ส่งผลให้อัตราการจ้างงานด้านไอที เติบโตควบคู่ไปด้วย ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2566 ทั่วโลกจะเผชิญกับปัญหาขาดแคลนบุคลากรไอทีมากกว่า 2 ล้านตำแหน่ง 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สำหรับประเทศไทย ปัจจัยหลักๆ ที่ ส่งผลกระทบต่อการขาดแคลน ประกอบด้วย  1. กลุ่มคนรุ่นใหม่เลือกที่จะประกอบอาชีพอิสระ บางคนอาจมองข้ามหลักสูตรที่ใช้ไอที เนื่องจากพวกเขาพบว่าวิชาที่ใช้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นั้นยากและมีการแข่งขันสูง

2. มหาวิทยาลัยจำนวนมากเปิดสอนสาขาไอที โดยเน้นที่ปริมาณมากกว่าคุณภาพ ซึ่งข้อมูลจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุว่า ประเทศไทยมีนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในสาขาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จำนวน 5.7 แสนคนต่อปี แต่ทำงานตรงสายงานแค่เพียง 15% เท่านั้น และในแต่ละปีประเทศไทยสามารถผลิตบัณทิตด้านไอทีที่มีคุณสมบัติเพียงพอกับความต้องการของภาคธุรกิจได้ไม่เกิน 5,000 คน  และ 3. บุคลากรไอทีที่มีคุณภาพจะเน้นเลือกทำงานกับองค์กรใหญ่ๆ และบริษัทข้ามชาติหรือบางส่วนก็ได้โอกาสไปทำงานที่ต่างประเทศ  

นอกจากนี้ ยังมีบางส่วนออกไปตั้งบริษัทที่ปรึกษาทางด้านไอทีของตัวเอง และบางส่วนมีการเปลี่ยนแปลงผันสายงานตัวเองจากไอทีไปทำในสายงานอื่นๆ  ดังนั้น จะเห็นได้ว่าจาก 3 ปัจจัยดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าแรงงานด้านไอทีกำลังขาดแคลนอย่างมีนัยสำคัญ จึงอยากขอเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผนึกความร่วมมือกับภาคธุรกิจเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง