ทส.พัฒนาสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริก้าวหน้า

20 เม.ย. 2564 | 06:10 น.

ทส. สรุปความก้าวหน้าการพัฒนาสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า คพ.ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการพัฒนาสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้แผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2560 - 2564 โดยความร่วมมือของหน่วยงานใน ทส. สามารถสรุปผลความก้าวหน้าการดำเนินงาน ดังนี้

 

1. ด้านการฟื้นฟูพื้นที่ป่าพรุ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ดำเนินการปลูกฟื้นฟูป่าพรุ จำนวน 700 ไร่ และบำรุงแปลงป่าพรุเดิม จำนวน 4,500 ไร่ ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟไหม้ป่าพรุ เช่น จัดทำฝายชะลอน้ำเพื่อรักษาระดับน้ำและสร้างความชุ่มชื้นในป่าพรุ จำนวน 96 แห่ง ลดปริมาณเชื้อเพลิงในพื้นที่ 12,000 ไร่ จัดทำแนวกันไฟ 90 กิโลเมตร ควบคุมระดับน้ำและเพิ่มระดับน้ำในป่าพรุ ลาดตระเวนป้องกันไหม้ป่า และประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้แก่เครือข่ายประชาชนในการแก้ไขปัญหาไฟป่า เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี 2563 พบว่าเกิดเหตุไฟไหม้เพียง 12 ครั้ง มีพื้นที่ป่าถูกไฟไหม้ 233 ไร่ น้อยกว่าในปี 2562 ที่เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ จำนวน 106 ครั้ง รวมพื้นที่ 16,260 ไร่

2. ด้านการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ดำเนินการ บำรุงรักษาฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลน จำนวน 400 ไร่ ฟื้นฟูพื้นที่นากุ้งร้างโดยปลูกป่าจาก จำนวน 150 ไร่ ลาดตระเวน เพื่อคุ้มครองป้องกันทรัพยากรป่าชายเลน สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแหลมตะลุมพุก และจัดทำโครงการบ้านปลาสะอาดคืนธรรมชาติสู่ทะเล ทำความสะอาดปะการังเทียม วางซั้งกอ เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ และโครงการธนาคารปูม้า

3.ด้านการดำเนินงานปัญหามลพิษทางน้ำ คพ. และสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14 (สสภ.14) ได้ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำปากพนัง พบว่า ในปี 2563 คุณภาพน้ำโดยรวมอยู่ในเกณฑ์พอใช้ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเภทแหล่งน้ำที่กำหนด พบว่าคุณภาพน้ำไม่เป็นไปตามประเภทการใช้ประโยชน์แหล่งน้ำประเภทที่ 3 โดยเฉพาะบริเวณตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด เนื่องจากมีค่าพารามิเตอร์ที่มีค่าเกินมาตรฐานที่กำหนด ได้แก่ ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ การปนเปื้อนแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม และแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม ซึ่งมีสาเหตุจากจำนวนประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นและระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนที่มีอยู่ยังไม่สามารถรวบรวมน้ำเสียจากชุมชนได้ครอบคลุมพื้นที่

 

ทส.พัฒนาสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริก้าวหน้า

 

โดยปัจจุบัน องค์การจัดการน้ำเสีย ได้จัดสร้างและเดินระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 6 แห่ง ในพื้นที่อำเภอปากพนัง จำนวน 3 แห่ง พื้นที่อำเภอชะอวด จำนวน 1 แห่ง และพื้นที่อำเภอหัวไทร จำนวน 2 แห่ง สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 234,975 ลูกบาศ์กเมตร/ปี และเป็นไปตามมาตรฐานการระบายน้ำทิ้งที่กำหนด ทั้งนี้ มีแผนเพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียที่อำเภอชะอวดและอำเภอปากพนังให้สามารถรองรับน้ำเสียให้ได้มากขึ้น โดยจะดำเนินการในปี 2564

ทส.พัฒนาสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริก้าวหน้า

 4. ด้านการดำเนินงานขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายชุมชน สสภ.14 ได้สำรวจข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยในจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี 2563 พบว่าปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น จำนวน 1,613.13 ตัน/วัน แบ่งออกเป็น ขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง จำนวน 1,228.23 ตัน/วัน โดยนำไปจัดการตามหลักสุขาภิบาล จำนวน 38.50 ตัน/วัน และนำกลับมาใช้ประโยชน์ จำนวน 1,189.73 ตัน/วัน ที่เหลือเป็นขยะมูลฝอยที่จัดการไม่ถูกต้อง 384.9 ตัน/วัน ทั้งนี้ ยังพบว่าจังหวัดนครศรีธรรมราชมีปริมาณขยะมูลฝอยที่ตกค้าง จำนวน 0.381 ล้านตัน ซึ่งพบว่าอยู่ในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลนครนครศรีธรรมราชมากที่สุด จำนวน 0.358 ล้านตัน

 

ทส.พัฒนาสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริก้าวหน้า

 

นอกจากนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการรวบรวมขยะอันตราย จำนวน 20.88 ตัน จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆ จำนวน 103 แห่ง ขนส่งเพื่อนำไปกำจัดตามหลักวิชาการ และเทศบาลเมืองปากพนัง มีการดำเนินงานศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจร เพื่อคัดแยกเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF) โดยคัดแยกขยะได้ประมาณ 50 ตันต่อวัน และจัดกิจกรรมรณรงค์ให้แก่นักเรียนและชุมชนในพื้นที่มีการคัดแยกขยะจากครัวเรือนและ 6. ด้านการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม และกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยดำเนินการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่ง โดยก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง และเขื่อนนอกชายฝั่ง รวมระยะทางสะสม จำนวน 43.824 กิโลเมตร จากพื้นที่เป้าหมายระยะทาง 52.79 กิโลเมตร คงเหลือพื้นที่ที่ยังไม่ได้ดำเนินการ 8.966 กิโลเมตร

ทส.พัฒนาสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริก้าวหน้า  

อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ยังคงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ภายใต้แผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2560 - 2564 ซึ่ง คพ. จะติดตามประเมินผลการดำเนินงานในปี 2564 พร้อมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทุกภาคส่วนเตรียมการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2565 2570 เพื่อให้พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สมดุล เป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำต่อไป นายอรรถพล กล่าว

ทส.พัฒนาสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริก้าวหน้า