ESG แบบฉบับ "เอสซีจี"

07 พ.ค. 2564 | 12:00 น.

จากการแถลงผลประกอบการของเอสซีจีไตรมาส 1 ประจำปี 2564 ไม่เพียงแค่เป็นการประกาศตัวเลขรายได้ที่ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้นำองค์กร "รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส" กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ยังพูดถึงทิศทางและแผนการดำเนินงานของเอสซีจีที่มีเป้าหมายชัดเจนในการก้าวสู่องค์กรต้นแบบธุรกิจ ESG (Environmental, Social and Governance) โดยใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักที่ช่วยขับเคลื่อน เพื่อผลักดันให้เอสซีจีเติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่สถานการณ์ของประเทศไทยและทั่วโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง จากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ผู้นำองค์กรเอสซีจีมองว่า ณ จุดนี้ ต้องให้ความสำคัญอย่างมากกับการเตรียมความพร้อม และสร้างโอกาสเพื่อการเติบโตในระยะยาว ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG ในแบบฉบับของเอสซีจีคือ การใส่ใจสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการดูแลสังคม อย่างมีธรรมาภิบาล โปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่งเอสซีจีดำเนินการอยู่แล้ว ภายใต้แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อเร่งการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการ พร้อมโซลูชันครบวงจร ทั้งด้าน Circular Economy, Medical & Healthcare และยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle หรือ EV) ที่กำลังเติบโตสูง ควบคู่กับการบริหารจัดการต้นทุน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ESG  แบบฉบับ \"เอสซีจี\"

ตัวอย่างการขยายการลงทุนตามแนวทาง ESG ที่เห็นชัดเจน คือ การลงนามในสัญญาซื้อหุ้นบริษัทซีพลาสต์(Sirplaste) ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจและผู้นำด้านพลาสติกรีไซเคิลในประเทศโปรตุเกส การลงทุนครั้งนี้ เอสซีจีและซีพลาสต์จะประสานการทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า 

รวมไปถึงการขยายตลาดในยุโรปและอาเซียน ซึ่งเอสซีจีมองว่ายังมีโอกาสทางธุรกิจอีกมาก เนื่องจากความยั่งยืนเรื่องพลาสติกและการรีไซเคิลเป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกกำลังมุ่งไป

ESG  แบบฉบับ \"เอสซีจี\"

ขณะที่ ธุรกิจเคมิคอลส์ ที่มุ่งสู่การเป็น “ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน”  นอกจากจะเน้นการขายสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น (HVA) ยังเร่งการเข้าสู่ธุรกิจที่ตลาดมีการเติบโตสูง เช่น การประสานความร่วมมือกับซีพลาสต์ การขยายกำลังการผลิตของโรงงาน MOC Debottleneck ซึ่งธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และ DOW ได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการ และก่อสร้างแล้วเสร็จเร็วกว่าแผน ได้เริ่มทดลองดำเนินการผลิตแล้ว คาดว่าจะผลิตได้เต็มกำลังภายในเดือนพฤษภาคม 2564 นี้ จะทำให้มีกำลังการผลิตโอเลฟินส์เพิ่มขึ้น 350,000 ตันต่อปี ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ทำให้กระบวนการผลิตมีต้นทุนการลงทุนที่ต่ำลง ประหยัดพลังงาน รวมถึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Process) ด้วย

ESG  แบบฉบับ \"เอสซีจี\"

ส่วนธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เน้นการนำเสนอสินค้า บริการ และโซลูชันครบวงจร 

ตอบโจทย์การก่อสร้างและการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน อาทิ โซลูชัน Green Construction ของ CPAC ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยยกระดับมาตรฐานงานก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ

ESG  แบบฉบับ \"เอสซีจี\"

ด้าน ธุรกิจแพคเกจจิ้ง ก็ยังคงมุ่งพัฒนานวัตกรรมโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ล่าสุดได้พัฒนา OptiBreath® บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยคงความสดของผักผลไม้ให้นานขึ้น ลดการเน่าเสียและข้อจำกัดทางการขนส่งและ Odor LockTM บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยเก็บกลิ่นอาหาร เพื่อรองรับความต้องการของผู้ประกอบการและผู้บริโภคในฤดูกาลผลไม้นี้

หากลงลึกไปในรายละเอียด ปัจจุบัน เอสซีจีมีสินค้าในกลุ่ม SCG Green Choice ที่ลดการใช้พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนยืดอายุการใช้งานของสินค้าให้ยาวขึ้น รวม 103 รายการ มีเป้าหมายจะขยายเพิ่มเป็น135 รายการภายในปีนี้  โดยรายได้ของสินค้ากลุ่มนี้ อยู่ที่ 45,635 ล้านบาท คิดเป็น 37% ของรายได้จากการขายรวม

ESG  แบบฉบับ \"เอสซีจี\"

ส่วนความพยายามการลดใช้พลังงาน เอสซีจีได้เพิ่มการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) สำหรับกระบวนการผลิต โดยในปี 2563 มีสัดส่วนการใช้เท่ากับ 88,125 เมกะวัตต์-ชั่วโมง และในช่วงสองเดือนแรกของปี 2564 เท่ากับ14,769 เมกะวัตต์–ชั่วโมง เช่นเดียวกับพลังงานทางเลือก (Alternative Fuel) ที่มีสัดส่วนการใช้เพิ่มขึ้น เพื่อให้บรรลุนโยบายลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (Zero Coal Initiative) โดยในปี 2563 มีสัดส่วนการใช้เท่ากับร้อยละ 14.3 ในขณะที่ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2564 มีสัดส่วนการใช้เท่ากับร้อยละ 16.0

ESG  แบบฉบับ \"เอสซีจี\"

หลัก Circular Economy ยังถูกนำมาใช้ในการคิดค้นนวัตกรรมช่วยเหลือสังคม โดยล่าสุด เอสซีจีและเอสซีจีพี ได้ริเริ่มโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” เชิญชวนผู้บริโภคที่รักสิ่งแวดล้อมให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด 19 และสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในระยะเร่งด่วนด้วยการบริจาคกล่องกระดาษเหลือใช้ ณ จุดรับกระดาษขององค์กรที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 62 แห่ง และเอสซีจีพีจะรวบรวมกลับมายังโรงงาน เพื่อรีไซเคิลและผลิตเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี เรียกได้ว่า เป็นการพัฒนาเตียงสนามกระดาษที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิล 100% รองรับน้ำหนักได้ 100 กิโลกรัม ขนย้ายสะดวกและประกอบได้ง่าย โดยได้ส่งมอบให้กับโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศไปแล้วจำนวน 26,600 ชุด

ESG  แบบฉบับ \"เอสซีจี\"

จากการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG และการผลักดันเรื่อง Circular Economy ที่เอสซีจีใช้เป็นกลยุทธ์สำคัญขับเคลื่อนองค์กร ส่งผลให้สามารถสร้างการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 เอสซีจีจึงให้ความสำคัญกับการนำแนวทาง ESG มาผสานให้เป็นเนื้อเดียวกับกลยุทธ์ของแต่ละธุรกิจ (ESG Integration) ให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพื่อผลักดันองค์กรให้เดินไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็ง พร้อม ๆ กับการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อมให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง