รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า
จำนวนที่เห็นในแต่ละวันหมายถึงอะไร?
การที่ไม่มีรายงานในพื้นที่ หรือ จังหวัดใด หรือการที่เห็นแต่ตัวเลขตัวเดียว อาจไม่ได้หมายความว่าไม่มีหรือมีคนติดเชื้อน้อย เพราะเป็นการแพร่แบบมองไม่เห็น ไม่มีอาการ
เราต้องเข้าใจและเห็นใจผู้ปฎิบัติงาน เห็นตัวเลขน้อย ก็ปล่อยตัวไม่ได้ ต้องไม่ลืมว่ามีคนแพร่เชื้อได้หนึ่งคน สภาพเหมาะ แพร่ไปเรื่อยๆ คนต่อคน คนต่อหลายคน ติดกระจายที่บ้าน ที่ทำงาน การเดินทาง เดือนนึงเป็น 1,700 คนได้
ในประเทศไทยเอง ขณะนี้ที่ตรวจได้จำกัด เพียงแค่ตรวจตัวอย่างจากโพรงจมูก ด้วย กระบวนการ PCR ที่ดูว่ามีเชื้อเฉยๆ ยังทำได้ด้วยความยากลำบาก และไม่สามารถครอบคลุมได้ทุกคนในกลุ่มเสี่ยงและทำไม่ได้ทุกห้าถึงเจ็ดวัน และตัวเลขแต่ละวันที่เห็น ต้องยอมรับและพิจารณาให้ชัดเจนว่า “แท้จริงมาจากการตรวจกี่ราย และพบว่ามีเชื้อกี่ราย”
ที่เห็นในประกาศในเชิงรุก และที่ควรตรวจแต่ยังไม่ได้ตรวจ มีจำนวนเท่าใด นึกถึงภาพ เจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างมาส่งที่ห้องปฏิบัติการซึ่งต้องทำงานด้วยความระมัดระวังทั้ง ด่านหน้า และด่านหลัง และการที่จะดูว่ามีสายไวรัสดื้อ ต้องให้ความสำคัญที่เจอในคนพื้นที่ ที่แพร่กันเองไม่ใช่ที่เจอในสถานกักกัน เช่นสายพันธุ์อินเดีย...มีในหลายประเทศแล้ว
นอกจากอินเดีย ไปเยอรมัน อเมริกา อังกฤษ เดนมาร์ค สิงคโปร์ ที่แพร่ใน คนในพื้นที่กันเอง
การที่จะดูว่ามีสายนั้นสายนี้ ต้องลงทุนมาก ยกเว้นดูแต่มีการผันแปรรหัสในตำแหน่งที่เอื้อต่อไวรัส มากขึ้นเรื่อยๆ จะชี้บ่งว่าระวังวัคซีนได้ผลน้อยลง
ระวังตนเอง ฉีดวัคซีน และฉีดใหม่เมื่อโควิด-19 (Covid-19) ใหม่เข้าครองตลาดโดยวัคซีนเดิมด้อยประสิทธิภาพลง
อย่าลืมว่า เตียงที่รองรับระดับอาการหนัก ชนิดเต็มที่มีระดับหนึ่ง ต้องช่วยกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :