(22 พ.ค. 64) กรุงเทพมหานคร(กทม.) โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว มีการติดเชื้อต่อเนื่องจากสถานที่เฉพาะกลุ่ม เช่น แคมป์คนงานก่อสร้าง หรือตลาด ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ และผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้นเป็น จำนวนมากส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนโดยรวม
คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ในการประชุมครั้งที่ 14/64 เมื่อวันที่ 21 พ.ค 64 จึงมีมติเห็นชอบมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ลงวันที่ 22 พ.ค. 64 โดยมีคำสั่งดังนี้
1.ให้สถานที่ต่อไปนี้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคแนบท้าย
2. ห้ามมิให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานก่อสร้าง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นและต้องปฏิบัติตามมาตรการแนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้หากมีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท และอาจมีความผิดตามพรก.ฉุกเฉิน มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
สำหรับรายละเอียดมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)แต่ละกิจการ/กิจกรรมมีดังนี้
ตลาด
1) เจ้าของผู้ประกอบการปรับปรุงสภาพแวดล้อมตลาด เช่น การระบายอากาศภายในตลาดให้เพียงพอ เหมาะสมไม่มีกลิ่นเหม็นอับ ความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาด
2) เจ้าของ ผู้ประกอบการจัดทำบัญชีทะเบียนผู้ค้าและลูกจ้าง
3) ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อย ๆ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
4) ให้ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการ ผู้ค้า และลูกจ้าง สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
5) ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
6) ให้เว้นระยะห่างของแผง หรือระยะนั่งหรือยืน หรือระยะห่างในการเลือกสินค้าและการชำระราคาห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร
7) ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
8) ให้มีการควบคุมทางเข้าออก และมีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการ ผู้ค้าและลูกจ้าง ตามขีดความสามารถ
9) เพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ทางราชการกำหนด เช่น ไทยชนะ หมอชนะ มาใช้ได้ตาม ความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้
แคมป์คนงานก่อสร้าง สำหรับผู้ประกอบการ/นายจ้าง
1) จัดให้มีการคัดกรองเบื้องต้น โดยสังเกตผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ให้หยุดปฏิบัติงานและพาไปพบแพทย์ทันที
2) จัดหาหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า และอุปกรณ์ป้องกันให้เพียงพอกับคนงาน
3) จัดให้มีที่ล้างมือพร้อมสบู่ หรือจุดบริการเจลแอลกอฮอล์ สำหรับคนงานอย่างเพียงพอ ทั้งในพื้นที่บริเวณก่อสร้าง และที่พักคนงาน
4) จัดที่นั่งรับประทานอาหารในแคมป์หรือสถานที่ก่อสร้าง ให้มีระยะห่างระหว่างบุคคล 1 - 2 เมตร
5) การรับ - ส่ง คนงาน ควรจำกัดจำนวนคนในรถไม่ให้แออัด จัดที่นั่งไม่ให้หันหน้าเข้าหากัน ให้สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า หลีกเลี่ยงการพูดคุยตลอดระยะเวลาการเดินทาง ไม่ควรแวะระหว่างทาง และไม่ควรรับประทานอาหารระหว่างเดินทาง
6) จัดหาสื่อความรู้ และข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 ด้วยภาษา ที่คนงานเข้าใจได้ และให้มีจุดประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคโควิด-19 ที่ชัดเจน
7) ให้ผู้ควบคุมงาน/หัวหน้างาน จัดให้มี safety talk กับคนงานเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 ช่วงก่อนเข้างานทุกวัน และมีการกำกับติดตามการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างสม่ำเสมอ
8) เตรียมวางแผนการปฏิบัติการและทำความเข้าใจกับคนงาน กรณีที่มีการยืนยันว่าพบผู้ป่วย เช่น
8.1 การโยกย้ายคนงานที่ไม่ป่วยเพื่อลดการสัมผัสกับผู้ป่วย สำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูงรวมถึงครอบครัวของผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจะถูกแยกไปกักตัว
8.2 จัดระบบรองรับการดำรงชีวิตประจำวันในระหว่างการกักกันตัวคนงาน หรือกรณีที่มีการปิดพื้นที่แคมป์เช่น การจัดหาอาหาร และของใช้ประจำวันของคนงาน เป็นต้นง
8.3 การจำกัดการเดินทางเข้าออกจากแคมป์หรือที่พัก
8.4 การปิดพื้นที่แคมป์เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการควบคุมโรค หรือเพื่อการรักษาพยาบาล
8.5 ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ทันที เพื่อรับทราบคำแนะนำ สำหรับคนงานและบุคคลในครอบครัว
1) ให้ทำความสะอาดห้องพักและบริเวณพื้นที่ส่วนกลางหรือพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันในที่พัก และเปิดประตู หน้าต่างเพื่อระบายอากาศเป็นประจำทุกวัน
2) ที่อาบน้ำรวม ไม่ควรรวมกลุ่มอาบน้ำพร้อมกัน ควรใช้อุปกรณ์อาบน้ำส่วนตัว เช่น ขันน้ำ สบู่ เป็นต้น
3) ให้ทำความสะอาด ห้องน้ า ห้องส้วม กลอน ลูกบิดประตู อ่างล้างมือ และบริเวณที่อาจมีการปนเปื้อน หรือบริเวณที่มีการสัมผัสบ่อยๆ เช่น ราวจับ สวิตซ์ไฟ ฯลฯ ด้วยน้ำผสมผงซักฟอกหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อย่างสม่ำเสมอ
4) ให้สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ตลอดเวลาทั้งขณะปฏิบัติงานและอยู่ในที่พัก ไม่นำมือมาสัมผัสใบหน้า ตา จมูก และปาก โดยไม่จำเป็น
5) การทำอาหาร ต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง ก่อนหยิบจับอาหาร ไม่กินอาหารร่วมกันเป็นกลุ่ม และควรแยกของใช้ส่วนตัว เช่น แก้วน้ำ ช้อน เป็นต้น
6) ไม่ไปในสถานที่แออัด หรือที่รวมกันของคนหมู่มาก เช่น ตลาด หรือร้านค้า เป็นต้น
7) งดกิจกรรมสังสรรค์ที่มีการรวมกลุ่ม การกิน การดื่ม ในช่วงเวลาเลิกงาน หรือวันหยุด
8) ให้สังเกตตนเองและบุคคลในครอบครัว หากมีอาการ ไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ให้หยุดปฏิบัติงาน และแจ้งหัวหน้างานหรือนายจ้างทราบ
การควบคุมการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามเขตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
1) ให้นายจ้าง/ผู้ประกอบการแจ้งสำนักงานเขต ต้นทางและปลายทางทราบก่อนเดินทาง ไม่น้อยกว่า 7 วัน
2) เคลื่อนย้ายแรงงานให้เรียบร้อยภายในระยะเวลา 1 วัน
3) ระบุเหตุผลความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายแรงงานและข้อมูลในการเดินทาง
4) ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเคร่งครัด เอกสารประกอบการแจ้งการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงาน
1) แบบแจ้งการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงาน
2) หนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล
3) รายชื่อแรงงานที่จะเดินทางและเคลื่อนย้าย
4) ใบอนุญาตทำงาน
5) สัญญาจ้างโครงการ
6) เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่สำนักงานเขตร้องขอ
การเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าหรือออกพื้นที่กรุงเทพมหานคร
1) ให้นายจ้าง/ผู้ประกอบการ ดำเนินการตามมาตรการของจังหวัดต้นทางหรือจังหวัดปลายทาง แล้วแต่กรณี ก่อนเดินทาง
2) ให้นายจ้าง/ผู้ประกอบการ แจ้งสำนักงานเขตต้นทางหรือปลายทาง แล้วแต่กรณี ทราบก่อนเดินทาง ไม่น้อยกว่า 7 วัน
3) เคลื่อนย้ายแรงงานให้เรียบร้อยภายในระยะเวลา 1 วัน
4) ระบุเหตุผลความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายแรงงานและข้อมูลในการเดินทาง
5) ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเคร่งครัด
เอกสารประกอบการแจ้งการเดินและเคลื่อนย้ายแรงงาน
1) แบบแจ้งการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงาน
2) หลักฐานการดำเนินการตามมาตรการของจังหวัดต้นทางหรือจังหวัดปลายทาง แล้วแต่กรณี
3) หนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล
4) รายชื่อแรงงานที่จะเดินทางและเคลื่อนย้าย
5) ใบอนุญาตทำงาน
6) สัญญาจ้างโครงการ
7) เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่สำนักงานเขตร้องขอ
มาตรการควบคุมการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานก่อสร้าง แนบท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2564
๑. สำหรับผู้ประกอบการ นายจ้าง หรือผู้รับผิดชอบดูแลแรงงานก่อสร้าง
๑.๑ จัดยานพาหนะสำหรับแรงงานให้เหมาะสมกับจำนวนแรงงานก่อสร้าง ไม่ให้โดยสารกันอย่างแออัด จัดที่นั่งไม่ให้หันหน้าเข้าหากัน มีระยะนั่งห่างอย่างน้อย ๐.๕ เมตร
๑.๒ จัดเตรียมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า แอลกอฮอล์เจล และอุปกรณ์ป้องกันตนเองสำหรับแรงงานก่อสร้างให้เพียงพอ และมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายไม่เกิน ๓๗.๕ องศาเซลเซียสทุกครั้งก่อนการออกเดินทาง
๑.๓ กำชับให้พนักงานขับยานพาหนะส าหรับเคลื่อนย้ายแรงงานก่อสร้าง ต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา และไม่ควรแวะระหว่างทาง และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
๑.๔ ให้ทำความสะอาดยานพาหนะโดยสารทุกครั้ง และเปิดการระบายอากาศ
๑.๕ มอบหมายหัวหน้างาน หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) รับผิดชอบตามมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายแรงงานก่อสร้างตามที่หน่วยงานราชการกำหนด
๑.๖ บันทึกหรือจัดข้อมูลจำนวนแรงงานที่ต้องมีการเดินทางหรือเคลื่อนย้ายแรงงานก่อสร้างเป็นประจำทุกวัน
๑.๗ จัดทำแผนปฏิบัติการการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานก่อสร้าง และทำความเข้าใจกับคนงานในการปฏิบัติตนในระหว่างการเดินทางอย่างถูกต้อง
๑.๘ กรณีการเดินทางข้ามจังหวัด ให้ศึกษามาตรการการเคลื่อนย้ายแรงงานก่อสร้างของแต่ละจังหวัดและปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัดด้วย
๒. สำหรับการปฏิบัติตนของแรงงานก่อสร้าง
๒.๑ ให้สวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการพูดคุย ตลอดระยะเวลาการเดินทาง ไม่แวะระหว่างทาง และไม่รับประทานอาหารระหว่างเดินทาง
๒.๒ เมื่อมีการหยิบจับ หรือสัมผัสสิ่งของหรือบริเวณอื่นๆ ของยานพาหนะโดยสาร ไม่ควรนำมือมาสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก ควรทำความสะอาดมือทุกครั้งหลังการสัมผัสด้วยสเปรย์แอลกอฮอล์หรือแอลกอฮอล์เจล
๒.๓ หมั่นสังเกตตนเอง หากมีอาการ ไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบให้รีบแจ้งหัวหน้างานหรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) หรือนายจ้างโดยเร็ว
สถานประกอบการ call center
1) ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาปฏิบัติงาน
2) ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ในบริเวณจุดคัดกรองทางเข้า–ออกของสถานที่ รวมทั้งในบริเวณที่มีจุดสัมผัสร่วมต่าง ๆ อย่างเพียงพอ
3)กำหนดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนเข้าปฏิบัติงาน
4) มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 - 2 เมตร ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ หรือทำกิจกรรมใด ๆ ในพื้นที่ส่วนกลาง เช่น การต่อแถวซื้ออาหาร การนั่งในห้องประชุม การนั่งในจุดติดต่องาน การใช้จุดพักผ่อน เป็นต้น
5)จัดทำกระจก/แผ่นใสกั้นในจุดที่พนักงานต้องสื่อสารพูดคุย
6)จัดให้มีชุดหูฟังและไมโครโฟน (Headset) ส่วนบุคคล และมีการทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือ 70 % Alcohol ชุดหูฟังและไมโครโฟน (Headset) และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ก่อนและหลังการใช้งาน
7)กำกับดูแลความสะอาดสถานที่อย่างสม่ำเสมอ เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาด ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคบริเวณสัมผัสร่วมที่มีความเสี่ยง เช่น ลูกบิดประตู ก๊อกน้ำ สวิตช์ไฟ เครื่องถ่ายเอกสาร หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่มักมีผู้สัมผัสจำนวนมาก
8) เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ อย่างน้อย 2 เดือนต่อครั้ง และทำความสะอาดหน้ากากกรองฝุ่นของเครื่องปรับอากาศ 2 ครั้งต่อสัปดาห์และพิจารณาการเพิ่มระบบระบายอากาศ ให้มีการหมุนเวียนอากาศมากขึ้น
9) พิจารณารูปแบบการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง เพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากการติดเชื้อ
มาตรการเมื่อพบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
1) แจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ภายใน 3 ชั่วโมงนับตั้งแต่พบผู้ป่วย เพื่อให้ดำเนินการสอบสวนโรค ป้องกันและควบคุมโรค โดยสถานประกอบการต้องดำเนินการตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ/คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
2) หยุดกิจกรรมหรือให้บริการในแผนกที่มีผู้ป่วย เป็นเวลาอย่างน้อย 3 วัน เพื่อทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค