เริ่มจาก ร้านเหล่าเต๊ง (Laoteng) ภัตตาคารอาหารดังย่านไชน่าทาวน์ เยาวราช ที่ให้บริการติ่มซำแบบวีแกน ทำจาก OmniMeat Luncheon หรือจะเป็นเมนู ถุงเงินถุงทองลันชั่น และ ฟองเต้าหู้ไส้ลันชั่นทอด ซึ่งได้รับการสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจมาจากร้านอาหารจีนสไตล์ร่วมสมัยที่มีชื่อเสียง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ ในขณะที่ยังคงความเป็นกวางตุ้งแท้ๆ ไว้แบบไม่ขาดตกบกพร่อง
เมนูเด็ด จากร้าน Vistro ร้านอาหารวีแกนและคาเฟ่สไตล์โมเดิร์น ที่ซอยสุขุมวิท 24 ก็ยั่วยวนไม่แพ้กัน กับเมนู Shawarma Mia อาหารกลางวันที่มีส่วนผสมของ OmniMeat Luncheon ไว้ในจาน เพื่อนำเสนอทางเลือกใหม่จากพืชสำหรับกลุ่มวีแกนในกรุงเทพฯ
Bangkok City Diner ร้านอาหารวีแกนสไตล์อเมริกัน ย่านธุรกิจใจกลางสาทร มีเมนูอย่าง OmniMeat Luncheon Classic Mac & Cheese ซึ่งนอกจากนี้ ร้านนี้ยังมีอีกหลากหลายเมนูที่ใช้ผลิตภัณฑ์ออมนิมีท หรือจะแวะไปที่ร้าน Salada Organic Kitchen ที่มีอยู่ 5 สาขา ที่นี่นำเสนอ ข้าวผัดพริกขี้หนูสดออมนิมีทลันชั่น อาหารจากพืชในรสชาติที่คนไทยคุ้นเคย การรังสรรค์อาหารจานนี้ เป็นหนึ่งในสิบรายการอาหารจากพืชที่มีออมนิมีทอยู่ในเมนูของ Salada Organic Kitchen
ร้านสุดท้ายคือ Fitmeal ตั้งอยู่ในทองหล่อซอย 11 ที่นี่เสิร์ฟ OmniMeat English Club Sandwich และซุปเกี๊ยวจีน OmniMeat สำหรับลูกค้าที่แวะมาเยือนคาเฟ่ซึ่งเป็นมิตรกับมังสวิรัติอันทรงเสน่ห์ นอกจากนี้ ทางร้านยังมีบริการดิลิเวอรี่อีกด้วย
มีการคาดการณ์ว่า ความต้องการบริโภคเนื้อจากพืชในประเทศไทย จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 200% ในช่วงปีพ.ศ. 2564-2568 เพราะผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกมีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับทางเลือกของเนื้อสัตว์ โดย 75% ของผู้บริโภคยินดีที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืชในราคาใกล้เคียงกัน และ 78% มั่นใจว่าเทรนด์ที่ดีต่อสุขภาพนี้จะเป็นที่นิยม และนั่นทำให้คนเริ่มหันมาลองบริโภคแบบ flexitarian หรือ กินมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น โดยเปลี่ยนมาใช้อาหารจากพืชเป็นหลัก พร้อมกับการบริโภคเนื้อสัตว์เป็นครั้งคราว ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การทานมังสวิรัติเป็น 2 ใน 3 ของมื้ออาหาร สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับอาหารได้เกือบ 60% และยังเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 หน้า 24 ฉบับที่ 3,681 วันที่ 23 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2564