เปิด 4 ปัจจัย "แผนกระจายวัคซีน" ล่าสุด คำนึงสถานการณ์ระบาด

24 พ.ค. 2564 | 11:02 น.

รายงานพิเศษ : เปิด 4 ปัจจัย "แผนกระจายวัคซีน" ล่าสุด คำนึงสถานการณ์ระบาด

หลังจากวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 แนวโน้มว่าน่ามีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งเรื่อง "แผนกระจายวัคซีนโควิด" ของรัฐบาลและศบค. 

ซึ่ง "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม" เปิดเผยตอนหนึ่งหลังฉีดวัคซีนโควิด ยี่ห้อ แอสตร้าเซนเนก้า (astrazeneca) เข็มที่ 2 ที่สถาบันบำราศนราดูร 

เปิด 4 ปัจจัย \"แผนกระจายวัคซีน\" ล่าสุด คำนึงสถานการณ์ระบาด

นายกฯ กล่าวว่า จะต้องมีการพิจารณาแผนการกระจายวัคซีนใหม่ ตามการแพร่ระบาดของโรค ว่าพื้นที่ใดควรได้วัคซีนมากน้อย ขีดความสามารถในการกระจายวัคซีน พร้อมย้ำว่าประชาชนทุกคนต้องได้รับวัคซีนอย่างแน่นอน ขอให้ประชาชนนั้นมั่นใจ และทำความเข้าใจ ขออย่าเชื่อข่าวบิดเบือนเมื่อมีปัญหาก็ต้องแก้ไข 

เปิด 4 ปัจจัย \"แผนกระจายวัคซีน\" ล่าสุด คำนึงสถานการณ์ระบาด

"ยอมรับว่า ไม่มีอะไรเป็นสูตรตายตัวสำหรับส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัด มีกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ดูแล ที่จะปรับแก้ตลอดเวลา หากวัคซีนพอก็ทำตามแผน หากน้อยก็ปรับแผน หรือมากกว่าก็ปรับแผนก ดังนั้น สิ่งสำคัญคือฉีดผู้ที่เข้าหมอพร้อม ที่วันนี้อาจจะมีปัญหา มีการขยับเวลาไปบ้างเพราะวัคซีนยังมาไม่ถึง แต่จะได้ฉีดทุกคนเร็วบ้างช้าบ้าง ถ้าในพื้นที่ยังไม่มีการแพร่ระบาดก็ขอให้สวมใส่หน้ากาก ล้างงมือ เว้นระยะห่าง ขอให้เข้าใจอย่าบิดเบือน ฟังหมอในระบบชี้แจง พูดหลายทีบางทีไม่ตรงกันประชาชนจะสับสน" นายกรัฐมนตรี กล่าว

ท่ามกลางคำถามของสังคมกับ "แผนกระจายวัคซีน"ใหม่ ที่นายกรัฐมนตรีระบุ แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดว่าจะเปลี่ยนแลงอย่างไร ต้องดำเนินการอย่างไร เมื่อไรบ้างนั้น 
 
ปรากฏว่ามีคำตอบจาก "นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค" ที่แถลงให้ข้อมูลในวันเดียวกันว่า แผนการฉีดวัคซีนโควิด เดี๋ยวทาง ศบค.จะมีการประชุมหารือแล้วคงแถลงกับสื่อมวลชน เบื้องต้นการจัดสรรวัคซีนจะคำนึงถึง 4 ปัจจัย 

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค

  1. จำนวนวัคซีนที่มี 
  2. จำนวนประชากร 
  3. สถานการณ์การระบาดในปัจจุบัน 
  4. กลุ่มเป้าหมาย เช่น ครู แรงงาน 

อธิบดีกรมควบคุมโรคยืนยันว่า การจัดสรรต้องคำนึงถึงสถานการณ์การระบาดเพื่อควบคุมโรค

นพ.โอภาส  กล่าวด้วยว่า แผนการฉีดวัคซีนจะเริ่มใช้ในเดือนมิถุนายนเป็นหลัก ที่มีวัคซีนของแอสตราเซนเนกาเข้ามา วัคซีนซิโนแวค เป็นส่วนเสริม ที่เริ่มมีการฉีดในเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม โดยวัคซีนซิโนแวคที่เข้ามามีรวม 6 ล้านโดส และ ตรวจสอบล็อตการผลิตแล้ว 4 ล้านโดสกระจายฉีดไปแล้ว

นพ.โอภาส กล่าวว่า ขณะนี้ไม่อยากให้ประชาชนกังวลเรื่องของวัคซีนตอบสนองกับเชื้อไวรัสโควิดที่มีการสายพันธุ์ เพราะประสิทธิภาพของวัคซีนยังให้ผลดีทั้งลดอัตราการเสียชีวิต และความรุนแรงของโรค อย่ากังวลหรือคำนึงเรื่องสายพันธุ์ที่เปลี่ยนไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :