เพจเฟซบุ๊ก "ไทยรู้สู้โควิด"ได้โพสต์ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับงานการศึกษาผลของวัคซีนซิโนแวค (Sinovac - Coronavac) ต่อการป้องกันโรคโควิด-19 โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) สำหรับรายงานดังกล่าวได้รวบรวมข้อมูลและอ้างอิงพื้นที่ที่ทำการศึกษา ใน 4 ประเทศได้แก่ ตุรกี,ชิลิ,อินโดนีเซีย,บราซิล
ผลการศึกษาของวัคซีนซิโนแวค (Sinovac - Coronavac) ต่อการป้องกันโรคโควิด-19 ในส่วนของประเทศตุรกี พบว่าวัคซีนซิโนแวค มีประสิทธิภาพสามารถป้องกันการเจ็บป่วยคิดเป็นร้อยละ 85 ขณะที่ชิลี ร้อยละ 67 ,อินโดนีเซีย 65 ส่วนในบราซิล คิดเป็นร้อยละ 50 -51
สำหรับวัคซีนซิโนแวค (Sinovac - Coronavac) ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 64 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้อนุมัติวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตโดยซิโนแวค ไบโอเทค เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
WHO ระบุว่า คณะผู้เชี่ยวชาญอิสระได้แนะนำใช้วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค กับผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี โดยให้ฉีดโดสที่สองในอีก 2-4 สัปดาห์หลังฉีดโดสแรก และไม่จำกัดอายุที่สูงขึ้นของผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 เนื่องจากมีข้อมูลชี้ให้เห็นว่า มีแนวโน้มที่จะมีผลในการป้องกันไวรัสในผู้สูงอายุ
นอกจากนั้นแล้ว คณะที่ปรึกษายุทธศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกัน (SAGE) ขององค์การฯ เผยว่าวัคซีนของซิโนแวคป้องกันโรคที่แสดงอาการในผู้รับวัคซีนร้อยละ 51 รวมถึงป้องกันอาการป่วยรุนแรงจากโรคโควิด-19 และการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในประชากรกลุ่มศึกษาร้อยละ 100
สำหรับประเทศไทย ข้อมูลล่าสุดจากสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ณ วันที่ 1 มิ.ย.64 แจ้งว่า วัคซีนซิโนแวคมีการส่งมอบมายังประเทศไทยแล้ว 6 ล้านโดส ได้รับบริจาคจากรัฐบาลจีน 1 ล้านโดส และเตรียมจัดหาเพิ่มเติม 10 - 15 ล้านโดส โดยมีการทยอยส่งมอบเดือนละ 2 - 3ล้านโดส ตั้งแต่มิ.ย.เป็นต้นไป
ส่วนข้อมูลของการฉีดวัคซีนโควิด -ของประเทศไทย ณ วันที่ 2 มิ.ย. 64 พบว่าได้รับการจัดสรรวัคซีนแล้วทั้งหมด 4,235,266 โดส แบ่งออกเป็นวัคซีนซิโนแวค 4,119,266 โดส และ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 116,000 โดส
ขณะที่การฉีดวัคซีนสะสมมีจำนวน 3,753,718 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 2,591,372 โดส
-เข็มสอง 1,162,346 โดส
ข่าวที่เกี่ยวข้อง