พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการให้บริการฉีควัคซีนที่ศูนย์ฉีดวัคนกลางบางชื่อ ที่สถานีกลางบางชื่อ ว่า ปัจจุบันมีวัคซีนโควิดที่ฉีดไปแล้วกว่า 30 ล้านโดส ทั้งแอสตร้าเซเนกาและซิโนแวค เราจัดบริหารวัคซีนเป็นรายสัปดาห์ได้แจกจ่ายไปยังจุดที่ให้บริการฉีดวัคซีนซึ่งวันนี้ก็ให้ในส่วนของกทม.และผู้ประกันตน มาตรา 33 มหาวิทยาลัย เพื่อให้เพียงพอกับครูในการรองรับการเปิดเรียนซึ่งมีครูประมาณ 5,000 คน รวมถึงครูต่างจังหวัดด้วย และขอบคุณสถานที่ที่ให้บริการฉีดทุกจังหวัดที่เหน็ดเหนื่อย เสียสละ บางคนก็เสี่ยงอันตราย บางคนก็เจ็บป่วย ก็ต้องชื่นชม และก็ต้องเห็นใจ เพราะบางคนมีปัญหาครอบครัว ทุกคนทำงานกันอย่างเสียสละ ซึ่งรัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ขอให้ทุกคนเข้าใจด้วยว่า รัฐบาลทำอย่างเต็มที่ คำว่าเต็มที่ก็คือเต็มที่ตามสถานการณ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันของประเทศและสถานการณ์วัคซีนโรค สถานการณ์รอบบ้านยังมีความรุนแรงเกิดขึ้นอยู่ เราก็ต้องบริหารให้สอดคล้องกับความเสี่ยงในกลุ่มต่างๆของเรา ตนขอยืนยันเรื่องอื่นๆกระทรวงสธารณสุขก็ได้ชี้แจงไปหมดแล้ว
“อะไรที่ทำให้ทุกคนไม่สบายใจก็ต้องขอโทษด้วยแล้วกัน ก็จะทำให้ดีที่สุด เพราะเราทุกคนตั้งใจว่าจะทำเพื่อคนไทยทุกคน การจะทำอะไรให้คนจำนวนมากมีปัญหาแน่นอน ซึ่งเราปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้อยู่แล้ว เราก็ไปหาสิ่งที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำได้ เพื่อให้ดีที่สุด วันนี้อย่ามีคำถามอะไรเลย พอถามก็มีปัญหาอีกเพราะเพราะคนก็ไปตีความอย่างอื่นอีก ถือว่าผมเล่าให้ฟังก็แล้วกัน”นายกฯกล่าว
ทั้งนี้นายกฯได้วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังหน่วยงานส่วนภูมิภาค 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ชลบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น และภูเก็ต โดยนายกฯได้กล่าวทักทายพร้อมสอบถามความเรียบร้อยแต่ละจังหวัดว่า เป็นอย่างไรบ้าง เรียบร้อยใช่ไหม ขอให้กำลังใจทั้งเจ้าหน้าที่ และผู้ที่มารับบริการฉีดวัคซีน ต้องขอขอบคุณและดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ได้มีฉีดกันมาตั้งแต่เดือนเม.ย. และวันนี้เป็นการสตาร์ทฉีดในเดือนมิ.ย. เพราะได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น ขณะที่จ.ภูเก็ต เราต้องเตรียมเปิดประเทศ ซึ่งเราสามารถที่จะทำได้ ขณะนี้ก็ให้ดูแลเรื่องวัคซีนที่จะลงไปแล้ว หลายอย่างเรามีการดำเนินการมาต่อเนื่องมีการปรับเรื่องของการฉีดเพื่อไม่ให้มีปัญหาในระยะยาว ซึ่งมีการปรับเป็นเดือนๆไป “ผมย้ำว่าทุกคนได้ฉีดแน่นอนไม่ว่าจะลงทะเบียนที่ไหนก็ตาม ซึ่งวัคซีนก็ทยอยเข้ามาตามลำดับเรื่อยๆ ผมก็ได้รับรายงานจากรองนายกฯว่าวัคซีนเข้ามาจำนวนมากในวันนี้ เนื่องจากมียอดจองจำนวนมากก็เป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งเราก็จะนำวัคซีนที่มีอยู่ค่อยๆทยอยฉีดไปก่อน วัคซีนมีไม่มากเท่าคนฉีดมันก็ยากอยู่พอสมควร มันมีปัญหาเพราะคนทั่วโลกต้องการวัคซีนเหมือนกัน ไม่ใช่นายกฯไม่ห่วง นายกฯก็ห่วงทุกคนนั่นแหละ” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายอนุทิน ชาญรีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ภายหลังจากเปิดให้ สถานีกลางบางชื่อเป็น "ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางชื่อ" มาระยะหนึ่งปรากฎว่าได้รับความสนใจจาก กลุ่มเป้าหมาย ทั้งผู้ให้บริการด้านการขนส่งสาธารณะทุกประเภทและส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจในกำกับดูแล ของกระทรวงคมนาคม เข้ามารับบริการฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยมากกว่า 10,000 คนต่อวัน ยรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีเป้าหมายฉีดวัคซีนในกรุงเทพฯที่เป็นพื้นที่เสี่ยงสูงและเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศให้ได้อย่างน้อย 5 ล้านคนหรือ 70% ของประชากรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ได้ภายใน 2 เดือน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้พยายามเร่งจัดหาวัคซีนมาฉีด ให้ประชาชนได้เพียงพอตามเป้าหมาย ดังนั้นผู้ที่จะเข้ามารับบริการฉีดวัคซีน จะต้องลงทะเบียนผ่าน แอพพลิเคชั่นหมอพร้อมเพื่อรับคิว หรือลงทะเบียนผ่านผู้ให้บริการระบบมือถือ เพื่อมารับบริการที่สถานีกลาง บางซื่อ เริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้ จัดเตรียมพื้นที่ของสถานีกลางบางชื่อ จำนวน 14,294 ตารางเมตร นอกจากนี้ยังมีพื้นที่เก็บวัคซีน และพื้นที่ สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอีกด้วย รวมทั้งได้เตรียมโต๊ะจำนวน 400 ตัว เก้าอี้ 5,000 ตัว และรถพยาบาล กรณีฉุกเฉิน โดยภายในพื้นที่แบ่งเป็น 4 จุด จุดแรกเป็นจุดคัดกรอง แบ่งเป็น 4โซน จุคที่ 2 เป็นพื้นที่ ลงทะเบียนข้อมูลและเซ็นใบยินยอม รองรับได้ 260 โต๊ะ จุดที่ 3 จุดฉีดวัคซีน รองรับได้ 100 โต๊ะ จุดที่ 4 จุด พักรอสังเกตอาการ มีประมาณ 1,400 ที่นั่ง โดยจะสามารถรองรับการฉีดวัคซีนได้ประมาณ 900 คนต่อชั่วโมงหรือ 10,000 คนต่อวัน เป็นอย่างน้อย โดยตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 6 มิถุนายน สามารถฉีดวัคชื่นเข็มแรกไปแล้วกว่า 154,637 คน แบ่งเป็นบุคลากรด้านการขนส่ง 133,894 คน และหน่วยงานอื่นๆ อีก 20,743 คน
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า กระทรวงคมนาคมยังได้สั่งการให้หน่วยงานต่างๆ ดูแลการเดินทางมายังสถานีกลางบางชื่อ ให้มีความหลากหลายและสะดวกสบาย เช่น เดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้า BTS ระบบเรือโดยสารและรถขนส่งมวลชนสาธารณะ โดยได้จัดรถโดยสารปรับอากาศ รับ -ส่งประชาชน จำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ 1.ท่าน้ำบางโพ-สถานีเตาปูนสายสีม่วง 2.อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 3.ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว- รถไฟฟ้าBTS สถานีหมอชิต หรือรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสวนจตุจักร-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ หรือหมอชิต 2 เพื่อเชื่อมมายังสถานีกลางบางชื่อ นอกจากนี้ยังจัดรถ Shuttle Bus จำนวน 6 คัน เพื่อรับ-ส่งผู้ใช้บริการภายในสถานีกลางบางชื่อด้วย ส่วนผู้ที่เดินทางมาด้วยรถยนต์ส่วนตัว ก็มีลานจอดรถที่สามารถรองรับได้อย่างเพียงพอกว่า 1,500 คัน
"การจัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อในครั้งนี้ ไม่กระทบต่อแผนการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่จะเริ่มเปีดให้ประชาชนทดลองใช้บริการในเดือนกรกฎาคม 2564 และเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ อย่างเต็มรูปแบบในเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยกระทรวงคมนาคมมั่นใจว่าการเปิดให้บริการจะเป็นไป ตามกำหนดเดิมอย่างแน่นอน"