ไม่ต้องหยุดยาไมเกรนก่อนฉีดวัคซีนโควิด "สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย"ออกประกาศยืนยัน

07 มิ.ย. 2564 | 09:05 น.

"สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย"ออกประกาศไม่ต้องหยุดยารักษาไมเกรนทุกชนิดก่อนฉีดวัคซีนโควิด

รายงานข่าวระบุว่า พล.อ.ท.อนุตตร จิตตินันทน์ (หมออนุตตร) ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (Anutra Chittinandana) โดยมีข้อความว่า
    ประกาศสมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย เรื่องการฉีดวัคซีนโควิด-19 และการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน
    สรุปว่าไม่จำเป็นต้องหยุดยารักษาไมเกรนทุกชนิดนะครับ
    สำหรับเนื้อหาของประกาศมีข้อความว่า 
    ประกาศสมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย
    ส.ป.ท.ที่ 26/2564
    เรื่อง การฉีดวัดชีนป้องกันโรคโควิด-19 และการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน
    เนื่องจากประเทศไทยได้มีการดำเนินการฉีดวัดซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อให้หยุด การแพร่ระบาดของโรคโดวิด-19 และถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่สำคัญในระดับประเทศ ที่คนไทยทุกคนควรได้รับวัคซีนโควิด-19 รวมถึงผู้ป่วยโรคปวดศีรษะไมเกรน อย่างไรก็ตาม มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนกับการฉีดวัดซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทำให้ผู้ปวยโรคปวดศีรษะไมเกรนเกิดความกังวลใจ ทางสมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนดังนี้
    1.เนื่องจากมีรายงานผลของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทำให้เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทชั่วคราว เช่น อาการชา หรือ อาการอ่อนแรง แต่จากการรวบรวมกรณีศึกษาต่าง ๆ ยังไม่พบว่ามีความผิดปกติจากการตรวจเอ็กชเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI Brain) และการตรวจหลอดเลือดในสมอง (MRA หรือ CTA) อย่างชัดเจนอาการดังกล่าวเกิดจากการตอบสนองของร่างกายจากการฉีดวัคซีน ซึ่งเกิดได้กับวัคซีนทุกชนิด และเกิดขึ้น ชั่วคราวเท่านั้น
    2.จากข้อมูลในปัจจุบันจึงแนะนำเรื่องการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนว่าไม่จำเป็นต้องหยุดยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน เช่น ยากลุ่ม acetaminophen ยากลุ่ม NSAIDs ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine และคาเฟอีน หรือ ยาในกลุ่มทริปแทน หรือยาป้องกันไมเกรนชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ยาในกลุ่มยากันชัก เช่น Topiramate, Valproic acid ยาในกลุ่มยาต้านเศร้า เช่น Amitriptyline , Venlafaxine ยาในกลุ่มต้านแคลเซียม เช่น Flunarizine ยาในกลุ่มต้านเบต้า เช่น Propranolol และยาป้องกันไมเกรนชนิดอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่เป็นประจำ
    3.หากยังมีความกังวลใจ และต้องการหยุดยาแก้ปวดไมเกรนหรือยาป้องกันไมเกรน ให้ปรึกษาแพทย์ที่รักษา เพื่อวางแผนในการฉีควัคซีนโควิด -19 และแนะนำอาการของโรคปวดศีรษะไมเกรนที่อาจจะเกิดขึ้น
    ประกาศ ณ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2564
    สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย

ไม่ต้องหยุดยาไมเกรนก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

สำหรับประเด็นเรื่องการรับประทานยารักษาไมเกรนก่อนฉีดวคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่นั้น เป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันมาก่อนหน้านี้ รวมถึงการรับประทานยาคุมกำเนิดควรฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่  โดยศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เคยโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า  ผลข้างเคียงของวัคซีนแม้เกิดได้น้อยมากๆก็ตาม แต่ถ้าสามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด กลไกของผลข้างเคียงจากวัคซีนโควิด ที่สำคัญประการหนึ่ง(นอกจากการแพ้เฉียบพลัน ) คือการจุดให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง และมีผลต่อเนื่อง ทำให้เส้นเลือดหดตัว และลิ่มเลือด และเป็นเหตุผลที่ต้องละเว้นยาที่มีผลทำให้เส้นเลือดหดตัวอยู่แล้ว เช่นยาแก้ปวดไมเกรนและยาแก้หวัด คัดจมูกกลุ่มที่มีฤทธิ์ทำให้กระทบต่อเส้นเลือดและหัวใจ 

    ส่วนสตรีที่ใช้ฮอร์โมนเพศหญิงสำหรับคุมกำเนิดหรือภาวะเกี่ยวข้องกับข้อมูลควรที่จะหยุดก่อนที่จะฉีดวัคซีนทั้งนี้อย่างน้อย 14 วัน ถ้าทำได้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง :