ระบบการค้าข้าวของประเทศไทย โดยเฉลี่ยในแต่ละปีมีวงเงินหมุนเวียนในประเทศกว่าปีละ 3 แสนล้านบาท ประเมินจากไทยมีผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ยปีละมากกว่า 30 ล้านตัน ตีราคาเฉลี่ยที่ตันละ 8,000 บาท ขณะที่การซื้อขายข้าวในตลาดมีมากกว่า 20 ล้านตันข้าวสารต่อปี
โดยแบ่งเป็นการส่งออกและเพื่อบริโภคในประเทศใกล้เคียงกันอย่างละ 10 ล้านตัน โรงสีทั่วประเทศที่มีมากกว่า 1,000 โรงมีกำลังการผลิตหรือกำลังการสีแปรรวมกันมากกว่า 100 ล้านตันต่อปี มากกว่าผลผลิตข้าวเปลือกในประเทศที่เฉลี่ยแต่ละปีมีราว 30 ล้านตัน หรือสัดส่วนกำลังสีแปรมากกว่าผลผลิตถึง 3-4 เท่า ล่าสุด มีความเคลื่อนไหวตามลำดับ
นายนิพนธ์ สมิทธาพิพัฒน์ เลขาธิการ สมาคมโรงสีข้าวไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ทางสมาคมโรงสีข้าวไทย ขอจัดสรรวัคซีนจาก ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อฉีดให้กับสมาชิกผู้ประกอบการโรงสีข้าว สืบเนื่องจากในเดือน พฤษภาคม มีสมาชิกโรงสีแห่งหนึ่งเกิดการระบาดของไวรัส “Covid-19” ขึ้นในสำนักงานและพนักงานของโรงสี ส่งผลให้โรงสีแห่งนั้นต้องปิดตัวลงชั่วคราว และยังความกังวลไปถึงชาวนาที่มาขายข้าวให้กับโรงนี้แห่งนั้น และยังมีผลไปถึงร้านขายข้าวอีกหลายแห่งที่รับข้าวสารจากโรงสีไปขาย ทางสมาคมเล็งเห็นว่า ถ้าหากเกิดการระบาดขึ้นในโรงสีเป็นจำนวนมากจะมีผลกระทบต่อธุรกิจข้าว และชาวนาได้
อันเนื่องมาจากอาชีพโรงสีต้องพบปะกับชาวนา และผู้คนจำนวนมากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเป็นแหล่งแพร่เชื้อ อีกทั้งถ้าหากโรงสีต้องปิดตัวอันเนื่องมาจากการระบาด จะส่งผลกระทบต่อชาวนาในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวเป็นอย่างมากเนื่องมาจากข้าวเปลือกที่ชาวนาเก็บเกี่ยวนั้นเป็นข้าวเปลือกสด ต้องทำการอบลดความชื้นในทันที ถ้าโรงสีขาดบุคลากรจะส่งผลต่อเกษตรกรแน่นอน ประกอบกับแรงงานในธุรกิจโรงสีข้าวส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานต่างด้าว ซึ่งสิทธิในการรับวัคซีนจากรัฐบาล ยังไม่มีความชัดเจน
ทางสมาคมไม่ได้นิ่งนอนใจในปัญหาที่กล่าวมา เมื่อทางราชวิทยาลัย จุฬาภรณ์ มีการนำเข้าวัคซีนทางเลือกเข้ามา ทางสมาคมจึงได้ได้ตัดสินใจทำเรื่องขอจัดสรร วัคซีน “Sinopharm” จาก ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ในทันที เพื่อมาฉีดให้กับสมาชิกที่มีความต้องการ ซึ่งทางสมาคมได้ทำเรื่องขอจัดสรรเป็นที่เรียบร้อย ขั้นตอนในขณะนี้คือรอรับผลการจัดสรรจากทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นลำดับถัดไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง