คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยผลการวิจัยในคนไทย หลังฉีดวัคซีน Sinovac โดยศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐ)
ได้ทำการทดสอบเลือดของผู้ได้รับวัคซีน Sinovac 2 เข็ม ต่อการยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส SARS-CoV-2 ในห้องทดลอง พบว่า ภูมิคุ้มกันจากวัคซีน Sinovac ที่ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ มีผลช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสที่ SARS-CoV-2 ได้
พบว่าร้อยละ 95 ของผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคเข็มที่ 2 มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส จากการตรวจภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนของไวรัสด้วยวิธี ELISA จากจำนวนทั้งหมด 186 คน
จึงมั่นใจได้ว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ผลการตรวจภูมิคุ้มกันของผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 นาน 2-3 สัปดาห์ด้วยวิธีการตรวจวัดการยับยั้งโปรตีนของไวรัสโควิดพบว่าร้อยละ 95 มีผลบวก
นอกจากนี้การทดสอบเลือดของผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแว็กซ์กับเชื้อไวรัสโควิดที่มีชีวิตหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 นาน 2 สัปดาห์จำนวน 171 คนพบว่ามากกว่าร้อยละ 70 มีภูมิในระดับที่ยับยั้งเชื้อได้ดีในห้องทดลอง
อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไปไม่มีความจำเป็นต้องตรวจภูมิหลังการฉีดวัคซีนแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาความจำเป็นในการตรวจภูมิคุ้มกันหลังการฉีดวัคซีนเช่นเดียวกันกับคำแนะนำของ Center for Disease Control and Prevention เเละองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา
ส่วนคนที่มีภูมิคุ้มกันขึ้นช้ามีสาเหตุจากการตอบสนองของแต่ละบุคคลที่ไม่เท่ากันจากหลายปัจจัยอาทิ เพศ อายุ โรคประจำตัว ระบบภูมิคุ้มกันเมื่อฉีดวัคซีนครบสองเข็มแล้ว ทุกคนยังคงต้องป้องกันตนเองเช่นเดิม เพื่อการลดการติดเชื้อและแพร่เชื้อ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง