ภาคเอกชนเสนอให้รัฐบาลแก้ปัญหาเอสเอ็มอีทั้งระบบ อาทิ เสนอให้ปลดล็อคลูกหนี้ที่ติดเครดิตบูโร/NPL และปล่อยสินเชื่อให้ SMEs ผ่านผู้ประกอบการค้าปลีก รวมทั้งข้อเสนออื่นๆอีกมากมาย
ซึ่งข้อเสนอดังกล่าว เกิดขึ้นวันนี้ (23 มิถุนายน 2564) เวลา 14.30 น. ที่มีตัวแทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทยและสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ร่วมหารือกับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถึงนโยบายและมาตรการช่วยเหลือ SMEs ที่ห้องประชุมสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหามาตรการลดภาระต้นทุน เพิ่มสภาพคล่อง และเสริมรายได้เพิ่ม เพื่อให้ SMEs สามารถประคับประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตินี้โควิด-19 และไปต่อได้
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า โอกาสนี้ หอการค้าไทยได้นำเสนอมาตรการระยะสั้นและวางรากฐานช่วย SMEs ไทย อาทิ
ขณะที่ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย นำเสนอมาตรการเร่งด่วนเข้าถึงแหล่งทุนและลดการว่างงาน อาทิ
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เสนอ 8 แนวทาง 3 ด้านสำคัญ คือ
ด้านการเงิน อาทิ
ด้านการตลาด
นายอนุชา กล่าวว่า ที่ผ่านมาท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ทั้งการเพิ่มรายได้และลดต้นทุน เช่น ด้วยการเร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐและกระตุ้นการการบริโภคภายในประเทศผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการเราชนะ คนละครึ่ง ม33 เรารักกัน รวมทั้งเพิ่มวงเงินให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
การจัดให้มีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ผ่าน พรก. Soft Loan โครงการค้ำประกันเงินกู้และสินเชื่อสำหรับกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้งการออกมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ และปรับโครงสร้างหนี้ การลด/เร่งคืนภาษี ให้กับผู้ประกอบการส่งออก และขยายระยะเวลาการยื่นภาษีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสนับสนุนอื่น ๆ อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการให้บริการ Digital Factoring และกระบวนการสนับสนุน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย การออกกฎกระทรวงการคลังกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างจาก SMEs และการออกประกาศคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า กำหนดแนวปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรม เกี่ยวกับระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้ำ (Credit Term) กรณี SMEs เป็นผู้ขายสินค้าหรือบริการ
โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวด้วยว่า ระหว่างการประชุม นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวว่า ภาคเอกชนถือเป็นพันธมิตรสำคัญของรัฐบาล ในการเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุน SMEs ตามแนวทางและมาตรการของรัฐ โดยเฉพาะการจูงใจให้ SMEs มาจดทะเบียนกับภาครัฐ เพื่อให้เข้าถึงมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ เช่น เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ช่วยเสริมสภาพคล่องและเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบธุรกิจ อาทิ การสนับสนุนให้ได้รับสินเชื่อ/สินเชื่อ Factoring ดอกเบี้ยต่ำ ร่นระยะเวลาการชำระสินเชื่อการค้าแก่ SMEs ที่เป็นผู้ขายให้เร็วขึ้น จับคู่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพเข้ามาช่วยเหลือและให้ความรู้กับ SMEs ในการพัฒนาทักษะที่สำคัญในการประกอบธุรกิจ
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ขอให้สภาหอการค้าไทยแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหารือร่วมกับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยเพื่อเพิ่มบทบาทในการสนับสนุน SME ที่สอดรับกับความต้องการของ SME โดยแท้จริงอีกด้วย รวมทั้งสั่งการให้เร่งประชาสัมพันธ์และขยายผลมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนและการเพิ่มศักยภาพ และสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการ SMEs โดยจะให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามแนวทางที่ได้มีการหารือทันที่ เพราะ SMEs จำนวนมากกำลังประสบปัญหาในทุกวันนี้
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยว่า หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ตอบรับแนวทางนโยบายการเปิดประเทศ 120 วัน พร้อมสนับสนุนการฉีดวัคซีนตามแผนเปิดประเทศ และจะใช้ “ภูเก็ตโมเดล” เป็นต้นแบบ ในการจัดทำมาตรการให้สามารถเปิดพื้นที่เศรษฐกิจการค้า การท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดที่มีศักยภาพพร้อมเตรียมธุรกิจที่อยู่ในซัพพลายเชนของการท่องเที่ยว รองรับการเปิดประเทศด้านการท่องเที่ยว อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าของขวัญของที่ระลึก สินค้าในซัพพลายเชนของโรงแรม
ขณะเดียวกัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ให้ความมั่นใจว่าจะดูแลและป้องกันสุขภาวะในสถานประกอบการ เพื่อป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสถานประกอบการและแรงงานด้วย
ด้าน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวภายหลังคณะเอกชนได้หารือกับนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอแนวทางช่วยเหลือ โดยใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง ว่า นายกฯ ยืนยันช่วยเหลือเอสเอ็มอีโดยรับขอเสนอทั้งหมดไปทำต่อ ทั้งการขอพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย 6-12 เดือน และตั้งกองทุนฟื้นฟู เอ็นพีแอล เพื่อช่วยพยุงกิจการเอสเอ็มอีที่เข้าไม่ถึงการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์
อีกทั้งยังเสนอให้รัฐแก้เงื่อนไขกองทุนประกันสังคม 3 หมื่นล้านบาท ให้เอสเอ็มอีเข้าถึงง่ายขึ้น โดยรมว.แรงงานยืนยันกำลังปรับแก้ไขแล้ว รวมทั้งแก้ไขเงื่อนไขซอฟต์โลนให้เข้าถึงสะดวกขึ้น
นายแสงชัย กล่าวว่า ตอนนี้มีเอสเอ็มอีที่เป็นหนี้เสีย หรือเอ็นพีแอล ในระบบคิดเป็นวงเงินถึง 2.4 แสนล้านบาท แถมยังมีกลุ่มไฟเหลืองที่จวนเจียนจะเป็นหนี้เสียอีก 4.4 แสนล้านบาท ซึ่งถ้ารวม 2 ส่วนนี้ คิดเป็นสัดส่วน 20% ของสินเชื่อเอสเอ็มอีทั้งระบบที่มีอยู่ 3.5 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะกลุ่มไฟเหลืองถือว่าน่าเป็นห่วงมาก เพราะปรับเพิ่มขึ้นมาจากก่อนที่เกิดโควิดมีวงเงินอยู่ที่ 1.7 แสนล้านบาท แต่เมื่อเกิดโควิดขึ้นก็ปรับเพิ่มขึ้นมาถึง 4.4 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ นายกฯ ยังรับข้อเสนออื่น ๆ จากภาคเอกชนอีก โดย นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ได้เสนอให้ปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีผ่านผู้ประกอบการค้าปลีก ขอให้ปลดล็อคให้ลูกหนี้ที่ติดเครดิตบูโร หรือเป็นหนี้เสียเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในดุลพินิจกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยทำได้โดยไม่ต้องแก้กฎหมาย และอยากให้หาทางกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านการใช้เงินกู้ 5 แสนล้านบาท โดยอยากให้ปรับโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ที่มีวิธีการมากมาเป็นโครงการที่คล้ายกับช้อปดีมีคืน ที่คนเข้าไปใช้ได้ง่ายกว่า
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กรอบเวลาในการช่วยเหลือนั้น จากการหารือยังไม่มีกำหนดออกมา แต่คิดว่าอยู่ในกรอบที่นายกฯ วางไว้ 120 วันที่จะเปิดประเทศอยู่แล้ว จึงขอรีบช่วยในช่วงเวลานี้ พอถึงเวลาเปิดประเทศจะได้มีเงินไหลเข้ามาทำธุรกิจต่อไปได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :