สถานการณ์โควิดในประเทศยังไม่มีทีท่าว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะลดลง ยอดโควิดวันนี้ (25 มิ.ย.64) ผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3,644 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 44 คน หายป่วยเพิ่ม 1,751 ราย ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสม 207,428
แน่นอนว่าวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ถือเป็นความหวังสูงสุดในการหยุดการระบาด ประเทศไทยได้เริ่มการฉีดวัคซีนโควิด ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน ยังเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสำคัญ โดยเฉพาะ “ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน”
ลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด คืออะไร
ลิ่มเลือดอุดตันอาจเกิดขึ้นได้หลังฉีดวัคซีนโควิด หรือที่เรียกว่า ภาวะ VITT แม้จะพบได้น้อย แต่ก็ต้องเฝ้าระวังภายใน 4-30 วัน เกิดจากการที่วัคซีนทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาผิดปกติ จนไปกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด ส่งผลให้เกล็ดเลือดต่ำ และก่อให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
ภาวะ VITT เป็นการเกิดลิ่มเลือดอุดตันชนิดพิเศษที่แตกต่างจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง โดย VITT จะเกิดร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
ส่วนภาวะลิ่มเลือดอุดตันทั่วไปจะไม่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำร่วมด้วย อีกทั้งยังมีความแตกต่างทางปัจจัยอื่น ๆ เช่น จุดที่เกิดลิ่มเลือด ปัจจัยเสี่ยง อาการแสดงบางอย่าง รวมไปถึงการรักษา
ลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด กลุ่มเสี่ยงคือใคร
กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 ชนิด Viral Vector หรือ mRNA
ลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 โอกาสเกิดมีมากแค่ไหน
สสส. ให้ข้อมูลว่า โอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิดมีน้อยมาก ไม่เกิน 10 เคส ต่อการฉีดล้านครั้ง อาการมักเกิดช่วง 4-30 วันหลังฉีด และมักเกิดหลังฉีดวัคซีนเข็มแรก สำหรับโอกาสเกิดหลังฉีดวัคซีนเข็มสองนั้น มีน้อยกว่าเข็มแรก 10 เท่า
แม้โอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 จะน้อยมาก แต่มาทำความรู้จักอาการนี้ไว้
อาการลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิดแบบไหนที่ต้องรีบพบแพทย์
• ปวดศีรษะรุนแรงและต่องเนื่อง
• มีอาการทางประสาท เฉพาะที่ เช่น ตามัว เห็นภาพซ้อน
• หายใจไม่เต็มอิ่ม เจ็บหน้าอก ปวดหลัง ปวดท้องรุนแรง และคลื่นไส้ อาเจียนต่อเนื่อง
• มีเลือดออกผิดปกติ เช่น มีจ้ำเลือดตามตัว มีตุ่มน้ำที่มีเลือดออกภายใน
• แขนขาปวดบวม
หากมีอาการผิดปกติควรทำอย่างไร
หากมีอาการที่เป็นสัญญาณภาวะลิ่มเลือดอุดตันภายใน 4-30 วัน หลังฉีดวัคซีนโควิด ร่วมกับมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษา
ลิ่มเลือดอุดตัน ป้องกันและลดความเสี่ยงได้อย่างไร
• ดื่มน้ำมาก ๆ ทั้งก่อนและหลังฉีดวัคซีน เพื่อลดความหนืดของเลือด
• ดื่มกาแฟ ร่วมกับการดื่มน้ำให้เยอะกว่าเดิม
• หากมีความกังวลอาจพิจารณาหยุดยาที่เพิ่มความเสี่ยง เช่น ยาคุมกำเนิด ยาฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ทำให้เลือดหนืดขึ้น โดยอาจจะหยุดยาประมาณ 2 สัปดาห์ ทั้งก่อนและหลังไปฉีดวัคซีน หรือปรึกษาแพทย์ประจำตัว
• คนที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคที่ทำให้เส้นเลือดอักเสบได้ง่าย ควรควบคุมโรคให้สงบก่อน และควรปรึกษาแพทย์ที่รักษาว่าฉีดได้ไหม
• คนที่เพิ่งผ่าตัดมาและไม่สามารถเดินหรือขยับตัวได้สะดวก ควรยืดเวลาการฉีดวัคซีนออกไปก่อนจนกว่าจะกลับมาขยับตัวได้ตามปกติ โดยให้คนรอบ ๆ ตัวไปฉีดวัคซีนโควิดก่อน
อ้างอิง คู่มือ วัคซีนสู้โควิด (ฉบับประชาชน) สสส. กระทรวงสาธารณสุข