จากวิกฤตเตียงในโรงพยาบาลไม่พอสำหรับรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในหลายจังหวัดโดยเฉพาะพื้นที่สีแดงเข้มนั้น การเตรียมความพร้อมสำหรับการแยกกักตัวที่บ้าน (Home isolation) สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการรุนแรง และไม่มีโรคแทรกซ้อนไว้เพื่อสังเกตอาการและควบคุมการระบาดของโรคให้แยกตัวอยู่ที่บ้าน เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ทำได้ไม่ยาก โดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ได้เผยแพร่ "แนวทางการแยกตัวที่บ้าน" (Home isolation) ซึ่งเป็นการจัดเตรียมสถานที่เพื่อแยกตัวอย่างเหมาะสม ตามคำแนะนำการปฏิบัติการแยกตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่ได้เข้ารักษาตัวแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาล ฉบับวันที่ 16 เมษายน 2564 มีขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติตัว ดังนี้
1.เคร่งครัดในการกักตัว
2.พยายามไม่ออกไปนอกห้อง และบ้าน ของตนระหว่างช่วงแยกตัว
3.คอยหมั่นตรวจสอบอาการของตนเอง อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง (เช้าและเย็น) พร้อมจดบันทึกอุณหภูมิร่างกาย ค่า oxygen saturation เป็นระยะเวลา 14 วัน และรายงานให้แพทย์หรือพยาบาลผู้รับผิดชอบทราบ
4.งดใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ถ้วยชาม ช้อนส้อม ผ้าเช็ดตัว และแปรงสีฟัน เป็นต้น รวมถึงงดการรับประทานอาหารหรือนอนเตียงร่วมกัน
5.เก็บรวบรวมสิ่งของที่ใช้แล้ว หรือ ขยะติดเชื้อ นำไปทิ้งในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด อาทิ หน้ากากอนามัย ผ้าเช็ดตัว และกระดาษชำระ เป็นต้น เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้สามารถนำไปกำจัดต่อได้อย่างเหมาะสม
6.ให้ติดต่อโรงพยาบาลทันทีเมื่อมีอาการใดอาการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ รุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะฉุกเฉิน
-ไข้สูงกว่า 38.5 องศา นาน 2-7 วัน
-ไอ เจ็บคอ
-หายใจหอบเหนื่อย หายใจสั้น รู้สึกว่า หายใจไม่อิ่ม
7.รักษาสุขอนามัยของตนเองให้ดี ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือ ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ
8.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้มากเพียงพอต่อวัน และออกกำลังกายเบา ๆ เป็นประจำในพื้นที่ที่แยกตัว
ทั้งนี้ แนะนำให้ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แนะนำให้แยกตัวต่อเนื่องจนครบ 1 เดือน
ทั้งนี้ ข้อมูลของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้อธิบาย "หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อแยกกักตัวที่บ้าน" ไว้ ดังนี้
1.ต้องเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีลักษณะ ดังนี้
2.สถานที่สำหรับแยกกักตัว
3.ขั้นตอนของโรงพยาบาล
ข้อมูลจาก เพจเฟซบุ๊ก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง