"ประกาศเคอร์ฟิว" หรือ "ล็อกดาวน์" ทั่วประเทศ หากจำกันได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 เมื่อครั้งระบาดระลอกแรก ช่วงต้นปี 2563
ซึ่งเป็นการ "ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน" เมื่อ 26 มี.ค 63 โดยใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือ พระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนาม และตั้งศบค.ขึ้นมารับภารกิจ
จากนั้นมีการออก ข้อกำหนดฉบับที่ 1 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ "ล็อกดาวน์" หลายข้อ โดยสรุปดังนี้
การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง
การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค
การปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร
การห้ามชุมนุม
การเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด
และถัดมาจากนั้นน 2 เม.ย. 63 มีการออกประกาศฉบับที่ 2 คือ การ "ประกาศเคอร์ฟิว" เพิ่มเติมโดยมีข้อกำหนดดังนี้
1. ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่มีความจําเป็นหรือเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ การธนาคาร การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตการเกษตร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ หนังสือพิมพ์ การขนส่ง น้ํามันเชื้อเพลิง
การขนส่งพัสดุภัณฑ์ การขนส่งสินค้าเพื่อการนําเข้าหรือส่งออก การขนย้ายประชาชน ไปสู่ที่เอกเทศเพื่อกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ
การเข้าออกเวรทํางานผลัดกลางคืนตามปกติ หรือการเดินทางมาจากหรือไปยังท่าอากาศยาน โดยมีเอกสารรับรองความจําเป็นหรือเอกสารเกี่ยวกับ สินค้าหรือการเดินทาง และมีมาตรการป้องกันโรคตามข้อกําหนด (ฉบับที่ 1) หรือเป็นเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานตามข้อกําหนด ประกาศ หรือคําสั่งต่าง ๆ ของทางราชการ หรือมีเหตุจําเป็นอื่น ๆ โดยได้รับ อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจํา ทั้งปรับ ทั้งนี้ ตามมาตรา 18 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ณ ช่วงการประกาศใช้ยาแรงทั้ง เคอร์ฟิวและล็อกดาวน์ เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างเห็นได้ชัด ศบค.ก็ค่อยๆทำการคลายล็อกมาตรการ ให้ประชาชนได้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกขึ้นตามลำดับ