"เยียวยาประกันสังคม"สรุปเงื่อนไขจ่ายเงินลูกจ้าง ม. 33 สูงสุด 10,000 บาท

13 ก.ค. 2564 | 17:30 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ก.ค. 2564 | 12:06 น.

ตรวจสอบเงื่อนไข "มาตรการเยียวยาประกันสังคม" ล่าสุด สำหรับแรงงาน-ลูกจ้าง ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 ใน "พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด" จ่ายสูงสุด 10,000 บาท สรุปให้ที่นี่  

จากกรณีที่เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 64 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติออก "มาตรการเยียวยาโควิด" ล่าสุด โดยหนึ่งในนั้นคือ "เยียวยาลูกจ้าง" ผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 (ม.33) 

ที่ได้รับผลกระทบ จากการประกาศเคอร์ฟิว และมาตรการล็อกดาวน์ หรือ ข้อกำหนดศบค. ฉบับที่ 27 พื้นที่สีแดงเข้ม หรือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด 

ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลาและสงขลา   

โดยมาตรการเยียวยาลูกจ้าง ม.33 รวม 10,000 บาท มี 2 ส่วน ดังนี้  

  1. สำนักงานประกันสังคม จ่ายชดเซยเยียวยา จากหตุสุดวิสัย 50% ของรายไต้ ให้ลูกจ้างโดยตรง (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท)
  2. รัฐบาลจ่ายเพิ่มเติมให้ลูกจ้างในระบบประกันสังคม (สัญชาติไทย) อีก 2,500 บาทต่อคน 

แต่ทั้งนี้ การเยียวยาลูกจ้าง ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ที่จะได้รับเงินเยียวยารวม 10,000 บาทนั้น นอกจากจะต้องอยู่ในพื้นที่ 10 จังหวัด พื้นที่สีแดงเข้ม และต้องทำงานในกิจการ 9 หมวด ของประกันสังคม ประกอบด้วย

  1. กิจการก่อสร้าง 
  2. กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
  3. กิจการศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ 
  4. กิจการกิจกรรมการบริการต้านอื่นๆ 
  5. กิจการขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์ 
  6. กิจการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
  7. กิจการกิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
  8. กิจการกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ 
  9. กิจการข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร

และนอกจากการเยียวยาลูกจ้างแล้ว ยังมีการเยียวยานายจ้าง ม.33  ด้วยเช่นกัน ดังนี้   

  • -รัฐบาลจ่ายให้นายจ้างในระบบประกันสังคม ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาท/หัว (สูงสุดไม่เกิน 200 คน) 

ทั้งนี้ หากนายจ้าง(ผู้ประกอบการ) มีลูกจ้าง 200 คน หรือ มากกว่า 200 คน จะได้รับเงินเยียวยารวมสูงสุด 600,000 บาท 

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 ก.ค. 64 เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดฉบับที่ 27  เพื่อลดผลกระทบในระยะสั้นสำหรับกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการทั้งในและนอกระบบประกันสังคม

โดยเป็นการทดแทนมาตรการช่วยเหลือตามมติครม. เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือ 1 เดือน

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมถึงกรอบวงเงินสำหรับมาตรการช่วยเหลือกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการว่า จำน 30,000 ล้านบาท  สำหรับมาตรการช่วยเหลือด้านการเงินและลูกหนี้สถาบันการเงินนั้น กระทรวงการคลัง  ธนาคารแห่งประเทศไทย จะหารือกับธนาคารพาณิชย์

เพื่อดำเนินมาตรการผ่อนปรนการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยหรือการเลื่อนงวดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าของสถาบันการเงินด้วย

ซึ่งหลังจากนี้ ครม. ยังมีจะพิจารณามาตรการช่วยเหลือในระยะต่อไปโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ทั่วประเทศต่อไปด้วย