นายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจจากผลพวงของโควิด ภาคอุตสาหกรรมไทยอาจจะมีได้เปรียบภาคธุรกิจอื่นเล็กน้อยในเรื่องของการส่งออกที่ยังไปต่อได้ แม้ covid จะทำให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กจะค่อนข้างลำบากและมีผลกระทบค่อนข้างเยอะเช่นเรื่องของซอฟโลน ซึ่งทางสภาอุตสาหกรรมได้มีการหารือเรื่องการจ่ายเงินให้กับ SME เร็วขึ้นภายใน 30 วันเพื่อช่วยให้ SME มีสภาพคล่องมากขึ้น
การแพร่ระบาดของโควิดปัจุบันนี้ทำให้ประเทศไทยต้องล็อกดาวน์ 14 วันส่งผลให้คนเริ่มค้าขายลำบาก หากยังไม่สามารถแยกผู้ติดเชื้อ และคนที่ไม่ติดเชื้อออกจากกันได้ การแพร่ระบาดก็จะเกิดขึ้นต่อเนื่อง ภาคเอกชนก็จะลำบาก เศรษฐกิจคงยากจะฟื้นกลับมาเหมือนเดิม
ประเทศไทยมี GDP 0.5 -1.5 ทั้งหมดนี้พึ่งพาการส่งออกที่เติบโต 80 % แต่ตอนนี้การส่งออกเองก็เริ่มชะงักหลายๆโรงงานใหญ่ๆเริ่มมีคนติดเชื้อ แรงงานบางส่วนต้องกักตัว ขณะที่โรงงานต้องล็อกดาวน์ตัวเองทำให้เกิดการสะดุด ภาคอุตสาหกรรมต้องยอมรับว่าทุกวันนี้โควิดมีผลกระทบเยอะพอสมควร
เศรษฐกิจและสาธารณสุขต้องเดินหน้าควบคู่กันไป หากมาตราการทางสาธารณสุขสามารถหยุดการแพร่ระบาดได้เศรษฐกิจก็จะค่อยๆดีขึ้น สถานบันการเงินก็มั่นใจในการปล่อยเงินกู้ แต่สาธารณสุขตอนนี้เข้าสู่ช่วงร้ายแรง
และถ้ามีการเปิดประเทศจริงๆเชื่อว่าคนไทยยังไม่กล้าเที่ยว ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมามีการปิดประเทศนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สามารถเข้ามาในประเทศได้ แต่ตัวเลขการท่องเที่ยวกลับดีขึ้นเติบโต20-40 %
แต่วันนี้ตัวเลขการเติบโตนั้นลดลงเหลือไม่ถึง 5% สิ่งสำคัญคือเร่งแยกผู้ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อออกจากกัน และทยอยเปิดพื้นที่ เช่น อุตสาหกรรมไหน หรือร้านอาหารที่พนักงานฉีดวัคซีนครบ2เข็ม สามารถเปิดกิจการได้ เพราะผู้ประกอบการเองมีความพร้อมเช่นเดียวกับผู้บริโภค
ประเทศไทยมีเสน่ห์ดึงดูดนักลงทุนเยอะ มี Infrastructure ค่อนข้างพร้อม และได้อานิสงก์จากการกีดกันทางการค้าของอเมริกาและจีนซึ่งยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนหลายๆประเทศย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทยนั่นหมายความว่าประเทศไทยยังมีโอกาสในด้านของการลงทุน แม้ว่าจะมีเวียดนามเป็นคู่แข่งก็ตาม
ทั้งนี้เชื่อหลังจากโควิดคลี่คลายจะมีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในหลายๆอุตสาหกรรม เพราะเชื่อมั่นในความพร้อมหลายๆด้าน ในขณะที่ภาครัฐเองมีการส่งเสริมการลงทุน เช่น Made in thailand สนับสนุนให้คนไทยซื้อของไทย ถือเป็นโครงการช่วยเหลือให้อุตสาหกรรมไทยอยู่รอด
สิ่งสำคัญที่ภาครัฐต้องเร่งดำเนินการคือ การปรับกฎเกณฑ์ระเบียบทั้งหลายให้เป็นการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและการลงทุน ภาครัฐและเอกชนต้องจับเข่าคุยกันเพื่อดูว่าอุปสรรคทางการลงทุนมีตรงไหนและช่วยกันแก้ไข ก็จะทำให้อุตสาหกรรมไทยเข้มแข็งขึ้น
“รัฐและเอกชนไม่ค่อยจะได้ทำงานร่วมกันแก้ปัญหาอุปสรรคที่เป็นคอขวดกันจริงๆ ด้วยกฏเกณฑ์บางอย่างของรัฐทำให้เอกชนไม่สามารถยื่นมือเข้าช่วยแก้ไข ในวันนี้เราเชื่อว่าเรื่องของวัคซีนยังอีกยาว เรื่องของการแพร่ระบาดก็ยังอีกยาว แต่เราจะอยู่กับมันยังไงโดยที่เราไม่เสียหายมากกว่านี้ สิ่งเหล่านี้ถ้าร่วมกันคิดช่วยกันสนับสนุน จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราเดินต่อไป เพราะอุตสาหกรรมของไทยไม่แพ้ใคร ความคิดนวัตกรรมเรามีเยอะ แต่เราไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเท่าที่ควร”
อย่างไรก็ตามในภาวะวิกฤตแบบนี้ต้องยอมรับว่าเอกชนหลายส่วนสามารถเดินได้ด้วยตัวเองโดยเฉพาะอุตสาหกรรมใหญ่ๆที่สามารถเดินไปข้างหน้าและแข่งขันกับต่างประเทศได้ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องช่วยกันผลักดันอุตสาหกรรมเล็กๆที่มีจำนวนมากให้แข็งแรง ซึ่งวันนี้บริษัทขนาดใหญ่เองเริ่มเข้ามาดูแลบริษัทขนาดเล็กมากขึ้น ทั้งเรื่องของการแข่งขัน การรักษา supply chain ของตัวเองให้เติบโตไปด้วยกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ
“ในมุมของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงในประเทศไทย เขาไม่ได้จากปริมาณการฉีดวัคซีนครบ 70% ตามนโยบายของภาครัฐเท่านั้นเพราะการลงทุนเป็นเรื่องของระยะยาว เขาจะดูเรื่องของปัจจัยแวดล้อมเช่นต้นทุน วัตถุดิบ ตลาดรองรับ ระบบโลจิสติกส์ และความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่น สิ่งเหล่านี้ต้องพร้อมพอสมควร เพียงแต่ว่าเราจะต้องปรับกฏเกณฑ์บางอย่างให้เอื้อต่อการลงทุนมากขึ้น”