ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 13 และ 20 กรกฎาคม 2564 มีมติให้นายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ได้รับสิทธิรับเงินช่วยเหลือเยียวยา จากการที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งล็อกดาวน์ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือพื้นที่สีแดงเข้ม รวม 13 จังหวัด 9 ประเภทกิจการ
สำนักงานประกันสังคม จะโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น เริ่มโอนเงินรอบแรกในวันที่ 4 สิงหาคม 2564 นี้
13 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือสีแดงเข้ม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สงขลา นราธิวาส ยะลา และปัตตานี
9 ประเภทกิจการ ได้แก่ 1.ก่อสร้าง 2.ที่พักแรมบริการด้านอาหาร 3.ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ 4.กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ 5.สาขาขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ 6.การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 7.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน 8.กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ และ9.ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
สำนักงานประกันสังคม จะโอนเงินให้ผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 33 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้นายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกปิดกิจการตามประกาศคำสั่งของ ศบค. ดังนี้
ผู้ประกันตน ม.33 ในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม มีไทม์ไลน์โอนเงินเยียวยา ดังนี้
"ประกันสังคม" พร้อมโอนเงินเยียวยา
นางสาวลัดดา แซ่ลี้ รองโฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 และ 20 กรกฎาคม 2564 มีมติให้นายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ได้รับสิทธิรับเงินช่วยเหลือเยียวยาที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งล็อกดาวน์พื้นที่สีแดงเข้ม รวม 13 จังหวัด 9 ประเภทกิจการ
โดยมีผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 3.1 ล้านคน ที่มีสัญชาติไทย จะได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาลคนละ 2,500 บาท จ่ายครั้งเดียวโดยโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนเท่านั้น
นายจ้าง จำนวน 176,619 ราย จะได้รับการเยียวยาจากรัฐบาลตามจำนวนลูกจ้างหัวละ 3,000 บาท สูงสุดลูกจ้าง ไม่เกิน 200 คน ซึ่งจะนับรวมลูกจ้างทั้งสัญชาติไทยและต่างด้าว นายจ้างบุคคลธรรมดาจะได้รับการโอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนเช่นกัน
ส่วนนายจ้างที่เป็นนิติบุคคลจะโอนเข้าบัญชีธนาคารตามที่ได้แจ้งไว้กับสำนักงานประกันสังคม โดยเงินจะเริ่มโอนเงินรอบแรกในวันที่ 4 สิงหาคม 2564 นี้
ในกรณีของผู้ประกันตนมาตรา 33 และนายจ้างบุคคลธรรมดา ที่มีบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนอยู่แล้ว สามารถใช้ได้ทุกธนาคารที่มีอยู่ เช่น กรุงไทย ออมสิน ธ.ก.ส.รวมถึงธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง เงินจะโอนเข้าบัญชีโดยอัตโนมัติไม่จำเป็นต้องติดต่อธนาคารเพื่อเปิดบัญชีใหม่
สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน หรือผูกด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือ ให้รีบดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน หรือเปลี่ยนพร้อมเพย์จากเบอร์โทรศัพท์มือถือมาเป็นผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน สามารถดำเนินการด้วยตนเองผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารที่ท่านมีบัญชีอยู่ตามที่ท่านสะดวก เช่น Mobile Application, Internet Banking และที่ตู้ ATM โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่สาขาธนาคาร
พร้อมเพย์ (PromptPay) คืออะไร
พร้อมเพย์ คือ บริการโอนเงินและรับเงินที่จะทำให้ธุรกรรมทางการเงินสะดวกและง่ายขึ้น เพียงผูกบัญชีเงินฝากธนาคารที่มีกับหมายเลขอ้างอิง (proxy ID) เช่น หมายเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ
อยากลงทะเบียนพร้อมเพย์ ต้องทำอย่างไร
ก่อนที่จะลงทะเบียนพร้อมเพย์ได้ จะต้องมีบัญชีธนาคารใดธนาคารหนึ่งก่อน หลังจากนั้นจึงลงทะเบียนผูกบัญชีธนาคารเข้ากับพร้อมเพย์ โดยสามารถเลือกได้ว่าจะผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขอ้างอิงใด เช่น หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ในกรณีที่ต้องการรับเงินสวัสดิการต่างๆ จากภาครัฐจะต้องผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน ในขณะที่หากต้องการความสะดวกในการรับโอนเงินจากผู้อื่นได้ง่าย ๆ ไม่ต้องจดจำเลขบัญชีธนาคารอาจเลือกผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ
การลงทะเบียนพร้อมเพย์ สามารถดำเนินการได้ที่ธนาคารทุกสาขา โดยมีขั้นตอนที่แตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร นอกจากนี้ ธนาคารส่วนใหญ่ยังมีช่องทางอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากสาขาธนาคารด้วย เช่น ลงทะเบียนผ่าน mobile banking, internet banking, ตู้ ATM หรือ call center ซึ่งท่านสามารถศึกษาวิธีการและช่องทางการลงทะเบียนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
ขั้นตอนและช่องทางการลงทะเบียนพร้อมเพย์ของแต่ละธนาคาร
ธนาคารกรุงเทพ(คลิกที่นี่)
ธนาคารกรุงไทย(คลิกที่นี่)
ธนาคารกสิกรไทย(คลิกที่นี่)
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย(คลิกที่นี่)
ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต(คลิกที่นี่)
ธนาคารทิสโก้(คลิกที่นี่)
ธนาคารไทยเครดิต(คลิกที่นี่)
ธนาคารไทยพาณิชย์(คลิกที่นี่)
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(คลิกที่นี่)
ธนาคารยูโอบี(คลิกที่นี่)
ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์(คลิกที่นี่)
ธนาคารออมสิน(คลิกที่นี่)
ธนาคารอาคารสงเคราะห์(คลิกที่นี่)
ธนาคารอิสลาม(คลิกที่นี่)
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย