สคช.ชูนวัตกรรม ต่อยอดอาชีพ สร้างแพลทฟอร์มบริหารข้อมูลกำลังคน

07 ส.ค. 2564 | 03:53 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ส.ค. 2564 | 15:28 น.

สคช. ระดมแนวคิด ช่วยคนในอาชีพปรับธุรกิจ สร้างอาชีพใหม่ พร้อมรับมือโควิด -19 และยกระดับการรับรองคุณวุฒิตามมาตรฐานสากล ชูนวัตกรรมระบบการเทียบโอนประสบการณ์ ระบบฐานข้อมูลวิชาชีพต่อยอดอาชีพ พร้อมสร้าง Platform อัจฉริยะเพื่อบริหารข้อมูลด้านกำลังคน

นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ หรือ สคช. กล่าวในเวทีสัมมนาโครงการพัฒนาองค์กร ที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ เข้าสู่มาตรฐานสากล (ISO/IEC 17024) ถึงการพัฒนากำลังคนรองรับความต้องการของตลาด โดยบูรณาการร่วมกับภาครัฐและเอกชน เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และพัฒนามาตรฐานอาชีพใน 52 สาขาวิชาชีพ รวม 835 อาชีพ  พัฒนานวัตกรรมขับเคลื่อน Upskill – Reskill ด้วยหลักสูตรออนไลน์สำหรับคนในอาชีพ ผ่านแนวทางเรียนรู้ตลอดชีวิต
 
คนในอาชีพและธุรกิจต่างได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด –19 สคช. ได้รับนโยบายของภาครัฐ เช่น การจัดอบรมออนไลน์สร้างอาชีพสร้างงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ รวมถึงความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศในการพัฒนามาตรฐานด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในด้านวิชาชีพด้านบริการสุขภาพของไทยอย่างเป็นรูปธรรม

สคช.ชูนวัตกรรม ต่อยอดอาชีพ สร้างแพลทฟอร์มบริหารข้อมูลกำลังคน

สำหรับโครงการพัฒนาองค์กรที่ทำหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคล สคช. ดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 โดยร่วมกับสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอพัฒนาองค์กร 39 แห่ง ให้มีระบบการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพตามมาตรฐานสากล และองค์กรรับรองฯ อีก 6 แห่งที่อยู่ระหว่างขอรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17024 
 

ด้าน ดร.นพดล ปิยะตระภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เน้นย้ำถึงความสำคัญของคุณวุฒิวิชาชีพต่อการสร้างโอกาสให้คนในอาชีพ เข้าถึงการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพด้วยการเทียบโอนประสบการณ์ทำงาน พร้อมฉายภาพอาชีพในยุคอนาคต 

สคช.ชูนวัตกรรม ต่อยอดอาชีพ สร้างแพลทฟอร์มบริหารข้อมูลกำลังคน

“สคช. มีกรอบคุณวุฒิวิชาชีพที่รองรับการพัฒนาความรู้ความสามารถของคนในอาชีพตลอดช่วงชีวิต ให้คนไทยมีมีความรู้และทักษะที่เป็นไปตามมาตรฐานอาชีพ มีการ Refresh - Upskill – Reskill ตามระดับคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพ โดยมีแรงงานวิชาชีพกว่า 37 ล้านคนเป็นเป้าหมาย ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมการประเมินแล้วกว่า 227,000 คน ผ่านการประเมิน 123,898 คน อยู่ระหว่างการประเมิน 13,858 คน โดยการรับรองวิชาชีพด้านต่างๆ ดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐาน”

เทรนด์อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลจะทวีความสำคัญมากขึ้นหลังยุคโควิด เช่น อาชีพที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce, ธุรกิจการเรียนการสอนออนไลน์, การบริการสาธารณสุขทางไกล, การพัฒนาแอปพลิเคชั่น, อุตสาหกรรม E-Sport บริการที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งจะเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการ โดย สคช. พร้อมสนับสนุนการสร้างงาน สร้างอาชีพ และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
 
นางสาววรชนาธิป จันทนู รอง ผอ.สคช. กล่าวเสริมว่า ทิศทางและนโยบายของ สคช. มุ่งพัฒนาคน ให้เป็นมืออาชีพตัวจริง มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งได้ใช้นวัตกรรมระบบการเทียบโอนประสบการณ์ ระบบฐานข้อมูลวิชาชีพเพื่อต่อยอดอาชีพ การสร้าง Platform อัจฉริยะเพื่อบริหารข้อมูลด้านกำลังคน และพัฒนาสมรรถนะด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิต การฝึกอบรมออนไลน์เติมทักษะและสมรรถนะจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ การต่อยอดความรู้ด้าน E-Commerce & Digital Literacy และมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่น “ปักหมุดมืออาชีพ” เพื่อช่วยค้นหาผู้ให้บริการที่เป็นมืออาชีพ และกำลังพัฒนาสู่ E- Commerce แพลตฟอร์มที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs

ขณะที่ นางสาวจุลลดา มีจุล รอง ผอ.สคช. กล่าวว่า การสร้างความร่วมมือกับองค์กรระดับประเทศ/ระดับนานาชาติ สคช. ขับเคลื่อนงานด้านมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพในเวทีสากล กับองค์กรภาครัฐและเอกชนระดับประเทศที่เป็นที่ยอมรับ ทั้งในระดับอาเซียนและยุโรป เช่น เยอรมนี เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ในหลากหลายสาขาอาชีพ โดยดำเนินการพัฒนาและเทียบเคียงมาตรฐานอาชีพ ทำให้ใบรับรองที่ได้รับใช้ได้ในระดับโลก และมีผลสำเร็จจากความร่วมมือกับประเทศออสเตรเลียเพื่อช่วยเทียบโอนประสบการณ์ข้ามประเทศให้คนทำงานที่ไม่มีคุณวุฒิ  และทิศทางในอนาคตจะร่วมกับองค์กรระดับสากล เช่น UN, UNISEF, IOM เพื่อพัฒนาและรับรองสมรรถนะให้ผู้หญิงและกลุ่มเปราะบางในสังคม  รวมทั้งการเชื่อมโยงกรอบคุณวุฒิแห่งชาติกับกรอบคุณวุฒิอาเซียน เพื่อพัฒนากำลังคนที่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศ

 

สคช.ชูนวัตกรรม ต่อยอดอาชีพ สร้างแพลทฟอร์มบริหารข้อมูลกำลังคน

สำหรับที่ผ่านมา สคช.ได้เปิดเวททีสัมมนาโครงการพัฒนาองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ เข้าสู่มาตรฐานสากล (ISO/IEC 17024) โดยมีการเสวนาและการบรรยายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิมากมายเข้าร่วมงาน อาทิ ดร. สมศักดิ์ ชลาชล (ผู้บริหารโรงเรียนเสริมสวยชลาชล) ทศพร เลิศพิเชฐ (ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ) ญาณพัฒน์  อู่ทองทรัพย์ (ที่ปรึกษาสำนักมาตรฐานทางทหาร) สมเพชร ศรีชัยโย (ผู้บริหารโรงเรียนเสริมสวยและออกแบบทรงผมนานาชาติ ณรงค์) สุทธิรักษ์  สิทธิสุนทร  (ผู้บริหารโรงเรียนไอทีเอ็มนวดไทยโบราณ) ชุติมา แฮล์ก (ประธานสมาคมนวดแผนไทยโบราณ และสปาไทยแห่งสวิตเซอร์แลนด์) เพทาย เชื้อพูล(คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)  วิลานี แซ่แต้ (ผอ.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน ธนาคารออมสิน) ปริยดา พยุงธรรม (สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ) รวมทั้ง ผู้บริหารจาก สคช. ได้แก่ มะลิ จันทร์สุนทร โอมิกา บุญกัน พิริยพงศ์ แจ้งเจนเวทย์ และพรภัทรา ฉิมพลอย