รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า
กระบวนการรักษาที่บ้าน ที่ในชุมชน ชัดเจนขึ้นจากแรงร่วมใจของเอกชนและพื้นที่ การส่งยาต้องถึง ระบบส่งต่อเมื่ออาการเพิ่ม แต่ตราบใดที่ผู้ป่วยใหม่ยังมาก ไม่รู้จะส่งอาการหนักต่อไปที่ใด
วัคซีน ชั้นผิวหนัง ใช้ขนาด 1/5 ถึง 1/10 ของขนาดปกติที่ฉีดเข้ากล้าม
ข้อมูลเริ่มออกมามากขึ้นเรื่อยๆ รีบตัดสินใจยังไม่สายที่จะทำให้ 1,000,000 โดส กลับใช้ได้ในคนจำนวนมากขึ้นกลายเป็นห้าถึง 10,000,000 โดส
และถ้าฉีดแบบวัคซีนพิษสุนัขบ้า วันที่ศูนย์ สามและเจ็ดควรจะได้ภูมิคุ้มกันเริ่มขึ้นในวันที่ 10 ถึงวันที่ 14
ไม่ต้องรอสองเดือน (แอสตร้า 2 เข็ม ห่าง2 เดือน) หรือ ซิโนแวค (2เข็มห่าง 1เดือน แต่ภูมิขึ้นช้า) หรือ mRNA (2 เข็มห่าง 2 เดือน)
ปฎิบัติเลยพร้อมเก็บข้อมูล อย่าให้สายไปมากกว่านี้
สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 (Covid-19)ในประเทศไทยนั้น "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลการายงานจากศูนย์ข้อมูลโควิด-19 (Covid-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 28 ก.พ.-8 ส.ค. 64 พบว่า มีการฉีดสะสมแล้วจำนวน 20,669,780 โดส แบ่งเป็น เข็มที่ 1 จำนวน 15,986,354 ราย ฉีดครบ 2 เข็มจำนวน 4,461,861 ราย และฉีดเข็มที่ 3 จำนวน 221,565 ราย