หลังจากมีการประกาศปลดล็อก "พืชกระท่อม" หรือ "ใบกระท่อม" ออกจากยาเสพติดให้โทษ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายพืชกระท่อมได้อย่างเสรี ไม่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม หากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่นๆ เช่น 4 × 100 ยังถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย ขณะที่การนำเข้าหรือส่งออกไปต่างประเทศในเชิงอุตสาหกรรมนั้น ก็ต้องขออนุญาตก่อน
ดังนั้นก่อนที่จะไปซื้อ-ขาย หรือปลูก พืชกระท่อม วันนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ"พืชกระท่อม" หรือ "ใบกระท่อม" ทั้งในส่วนของสรรพคุณทางยา รวมไปถึงประโยชน์และโทษมานำเสนอ ดังต่อไปนี้
-ชื่อทางวิทยาศาสตร์
-ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-แหล่งที่พบ
-สรรพคุณทางยา
-วิธีการใช้
-โทษของใบกระท่อมและอาการข้างเคียง
-อาการเมื่อหยุดเสพใบกระท่อม
เรียกได้ว่ามีทั้งคุณประโยชน์และโทษอยู่ในตัวสำหรับพืชกระท่อม อย่างไรก็ตามในมุมมองของนายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. .... ที่ได้เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ก็บอกเล่าว่า การปลดล็อกพืชกระท่อมในครั้งนี้จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะสร้างรายได้ให้กับประชาชน
เนื่องจากประเมินแล้วว่า ถ้าปลูกกระท่อม 1 ไร่ จะมีรายได้มากกว่าปลูกยางพารา 10 เท่า และขณะนี้ยางพารากิโลกรัมละไม่เกิน 40 บาท แต่ กระท่อม ราคากิโลกรัมละ 1,000 บาท หรือมากกว่า ดังนั้น ถ้าปลูก 1 ต้นจะมีรายได้เดือนละประมาณ 3,000 บาท
อย่างไรก็ดีต้องควบคุมการปลูก เพราะหากปลูกมากเกินไป เห็นว่าจะได้ดี แห่กันปลูก สุดท้ายราคาตกเพราะมีเยอะ การทำอะไรต้องศึกษากลไกการตลาดควบคู่ด้วย
ที่มาข้อมูล :
1.กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข