นาย วรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ กล่าวในงานสัมมนา ทิศทางพลังงานไทย จะไปสู่เป้าหมาย Net Zero อย่างไร ของ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า นับตั้งแต่มนุษยชาติมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์มีการพัฒนาสูงสุดมีการยกระดับความกินดี อยู่ดีและมาตรฐานการครองชีพที่สูงมาก แน่นอนว่าอีกด้านหนึ่งของการยกระดับการกินดี อยู่ดีที่ว่าคือการใช้พลังงานอย่างมหาศาล
ในโลกมีการใช้พลังงานอย่างมหาศาลจากเชื้อเพลิงฟอสซิลจนมาถึงประมาณปี 1988 ประเทศต่างๆในสหประชาชาติได้ทำงานร่วมกันเพื่อติดตามดูสภาพอากาศ เพราะว่าเริ่มรู้สึกถึงปัญหาและในปี 1997 เริ่มมีสนธิสัญญาระหว่างประเทศในการดูแลสภาพภูมิอากาศของโลก มีการสร้างกฎระเบียบและกติการะหว่างประเทศซึ่งแต่ละประเทศต้องดูแล
เมื่อ 3 ปีที่แล้วมีนักรณรงค์สิ่งแวดล้อม เกรต้า ธันเบิร์ก ปัจจุบันอายุ 18 ปี ลุกขึ้นมาเพื่อบอกโลกทั้งโลกว่าโลกที่พวกเรากำลังส่งมอบให้กับเยาวชนรุ่นหลัง เป็นโลกที่กำลังอยู่ในภาวะอันตรายและต่อต้านการกระทำที่ทำให้โลกร้อน จนถูกนำเสนอเป็นแคนดิเดตชิงรางวัลโนเบลในปีที่ผ่านมา ซึ่ง
การเพิ่มอุณหภูมิของโลกที่ผ่านมาซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีข้อต่อข้อโต้แย้งมากมายว่าอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นมาเป็นไปตามธรรมชาติของโลก
จนรายงานเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมายืนยันว่ามีหลักฐานที่ชัดเจนว่าอุณหภูมิโลกร้อนที่สูงขึ้นมาจากมนุษย์ ดังนั้น Net-Zero 2050 ดูเหมือนจะไม่ทัน และข้อตกลงในการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่หลายประเทศคิดว่าจะทอดยาวไปถึง 2050 ดูไม่พอที่จะดูแลโลก
ในเรื่องของพลังงาน กฎหลักในการดูแลภาคพลังงานมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมพลังงาน ซึ่งหลักๆก็จะเป็นเรื่องของความมั่นคงทางพลังงานและการเข้าถึงการใช้ไฟฟ้า 2 เป็นเรื่องของปัจจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน และ 3 ต้นทุนการใช้พลังงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เมื่อนำnet zero เข้าไปประกบกับกฏเหล็กทั้งสามจะมีใจความสำคัญ3 ข้อคือ 1พลังงานปฐมภูมิ จากเดิมเป็นที่เป็นพลังงานฟอสซิลต้องมีการลดการใช้อย่างมีนัยยะสำคัญ 2 รูปแบบของการใช้พลังงานปฐมภูมิต้องเปลี่ยนมาเป็นเรื่องของสายลมและแสงแดดมากขึ้น 3 โลกที่กำลังจะมาถึงจะเป็นโลกที่ Go electric และGo green ซึ่งGo green ที่ว่านี้คือพลังงานทุติยภูมิที่จะเปลี่ยนจากพลังงานแสงแดด สายลมเป็นพลังงานไฟฟ้าซึ่งจะถูกใช้กับชีวิตประจำวันมนุษย์
เมื่อรูปแบบพลังงานต้นทางคือสายลมและแสงแดด รูปแบบของการผลิตก็จะเป็นลักษณะของการกระจาย ecosystem และ network infrastructure ของระบบไฟฟ้าก็จะเปลี่ยนไป มีการนำดิจิตอลเข้ามาใช้ นำ AIเข้ามาใช้ มีแบตเตอรี่ที่ต้องถูกพัฒนามาเพื่อทำให้โจทย์การใช้ไฟฟ้าเป็นไปโดยสมบูรณ์นี่เป็นทิศทางของโลกที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน
สำหรับบริษัทอย่าง GPSC ซึ่งเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้า ในปัจจุบันมีกำลังผลิตประมาณประมาณ 5000mw และการเติบโตของธุรกิจยังคงดำเนินต่อไป เป้าหมายใหม่ของGPSCใน 10 ปีข้างหน้าเชื่อว่าน่าจะเติบโตประมาณ 3-4 เท่า และมีกำลังการผลิต 15000-20000mw มีPortfolio ที่เป็น Renewable มากกว่า 50% และCarbon intensity มีคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปลดปล่อยต่อพลังงานต่ำลงมากกว่า 30-40% จากปัจจุบันที่เป็นอยู่
นอกจากนี้ infrastructure ที่นำมาใช้ในโลกอนาคตที่กำลังเปลี่ยนผ่านพลังงานจากปัจจุบันเป็นภาพอนาคต แบตเตอรี่น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่มีที่มีความสำคัญที่ทำให้โลกการใช้งานสมบูรณ์ขึ้น ปัจจุบันเรามีการพัฒนาแบตเตอรี่ที่เรียกว่า จีเซลล์ ที่เชื่อว่าจะสามารถทำให้ต้นทุนในการผลิตแบตเตอรี่ในต่ำลง ซึ่งมีการเปิดตัวไปเมื่อเดือนที่ผ่านมา และจะเริ่มทยอยใช้งานตามลำดับนี่เป็นทิศทางที่บริษัทจะเปลี่ยนไปและดำเนินอยู่
“เราเองในฐานะที่เป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าในกลุ่มปตท. เราติดตามเรื่องของ Carbon Capture Utilizationand Storage ซึ่งเราชื่อว่าจะทำให้โลกเข้าสู่Carbon Neutral ด้วยความที่เป็นเอกชนเราอาจจะปรับตัวได้ง่าย แต่ในแง่ของเป้าหมายเรามองข้ามไปค่อนข้างไกลแน่นอนลูกค้าของเราเมื่อรับไฟฟ้าของเราไปใช้อาจต้องรับผลกระทบจาก carbon tax นั่นคือสิ่งที่เรามองและพยายามทำอยู่
ส่วนเรื่องของcarbon capture เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากถ้าไม่มีคำตอบที่ชัดเจนและดีพอ โลกจะเข้าสู่Net zero ไม่ได้เนื่องจากการใช้งานในหลายๆภาคส่วนยังจำเป็นที่จะต้องมีคาร์บอนไดออกไซด์ แต่คาร์บอนไดออกไซด์ ที่ออกมาก็เป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องดูแล เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีในปัจจุบันยังมีต้นทุนในการดูแลที่แพง แต่เราเชื่อว่าในอนาคตมันจะถูกลง
เพราะฉะนั้นถ้าเรามีกรอปเวลา 20-30 ปีข้างหน้าที่จะเดินไปถึง net zero เชื่อว่าคำตอบของcarbon capture จะออกมาเร็วๆนี้โดยเฉพาะปลายปีนี้น่าจะมีแนวทางส่งเสริมการปฏิวัติพลังงานเพื่อนำมาซึ่ง carbon capture นี้โดยเร็วที่สุด