ความคืบหน้ามาตรการเยียวยาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตนในพื้นที่สีแดงเข้มจำนวน 29 จังหวัด ให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 นายจ้างและลูกจ้าง และ ได้จ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตนไปในพื้นที่สีแดงเข้มจำนวน 16 จังหวัด แล้วเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา
เมื่อเร็วๆนี้ คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. เยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ใน 9 กิจการ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ที่ประกาศใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด ดังนี้
ขยายกรอบวงเงินจาก 17,050.4 ล้านบาท เป็น 17,912.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 862.2 ล้านบาท จากการปรับปรุงจำนวนนายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ในพื้นที่ 29 จังหวัด โดยมีนายจ้างจำนวน 226,394 ราย เพิ่มขึ้น 18,900 รายและผู้ประกันตน ม.33 จำนวน 3,877,936 ราย เพิ่มขึ้น 400,375 ราย ซึ่งเป็นผลจากการขยายเวลาให้นายจ้างในพื้นที่ 3 จังหวัดและ 16 จังหวัด สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมรายใหม่ได้ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ทั้งนี้ ยังขยายระยะเวลาในการเบิกจ่ายและดำเนินโครงการฯ ถึงวันที่ 31 ธันวาคมนี้
ล่าสุดนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีกว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เปิดเผยความคืบหน้าโอนเงินเยียวยารอบ 2 ว่า คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติจ่ายเยียวยาให้กับนายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33 เพิ่มเติมรายละ 1 เดือน รวมเป็น 2 เดือน
โดยพื้นที่ 13 จังหวัดที่ประกาศล็อกดาวน์ 2 เดือน ( ก.ค.-ส.ค. 64 ) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา ชลบุรี ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยาใน 9 กลุ่มกิจการในพื้นที่ 13 จังหวัด จะได้รับเยียวยา รอบ 2 อีกคนละ 2,500 บาท เงินโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ผูกบัตรประชาชน ช่วงวันที่ 20- 30 กันยายน 2564
ส่วนนายจ้างมาตรา 33 ใน 9 กลุ่มกิจการ ในพื้นที่ 13 จังหวัด ที่ประกาศล็อกดาวน์ 2 เดือน จะได้รับเงินเยียวยานายจ้าง ตามจำนวนลูกจ้างหัวละ 3,000 บาท ไม่เกิน 200 คน หรือสูงสุด 600,000 บาท เงินเข้าบัญชีในช่วงวันที่ 20- 30 กันยายน 2564
กิจการ 9 สาขาอาชีพที่ได้รับความช่วยเหลือจากการเป็นผู้ประกันตน ม.33 ได้แก่
1) ก่อสร้าง
2) ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
3) ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
4) กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
5) ขายส่งและการขายปลีก ซ่อมยานยนต์
6) ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
7) กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
8) กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ
9) ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร.
ที่มา: สำนักงานประกันสังคม