กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการณ์เส้นทางเดินพายุ 2 ลูก ในระหว่างวันที่ 10-13 กันยายน 2564 โดยพายุลูกแรก พายุโซนร้อนกำลังแรง “โกนเซิน” (CONSON) กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นและเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง บริเวณตอนเหนือของเมืองดานัง ประมาณวันที่ 13 กันยายน 2564
ส่วนพายุอีกหนึ่งลูก พายุไต้ฝุ่น "จันทู" (CHANTHU) กำลังเคลื่อนตัวไปทางเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะไต้หวัน ในวันที่ 11-13 ก.ย. 64
ในขณะที่สถานการณ์ของประเทศไทย ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เนื่องจากมีร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง
ทั้งนี้ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังโดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 14 กันยายน 2564
กรมอุตุนิยมวิทยา ยังได้คาดหมายสภาพอากาศวันนี้ - 16 กันยายน 2564 โดยในช่วงวันที่ 11 - 14 ก.ย. 64 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นมาพาดภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูง 2-3 เมตร และอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 ก.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง มากกว่า 2 เมตร
กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการณ์สภาพอากาศ 7 วัน โดยแบ่งออกเป็นรายภาคดังต่อไปนี้
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล