ก็แดดมันแยงตา “บิ๊กป้อม” พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี จึงต้องเอามือบังแดด ระหว่างถ่ายรูปหมู่ ครม.ประยุทธ์ 5 ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2560
จนมีคนสังเกตเห็นแหวนเพชรระยิบระยับที่นิ้วมือและนาฬิกาหรู ยี่ห้อริชาร์ดมิลล์ Richard Mille รุ่น RM 029 ราคาอยู่ที่ประมาณเรือนละ 3.6 ล้านบาท บนข้อมือของเขา จนบานปลายสั่นคลอนรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์
ต่อมาพบว่าไม่ปรากฎในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่เจ้าตัวยื่นต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) กรณีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 4 ก.ย.2557 และ 3 ครั้งก่อนหน้านี้ (2551 2554 และ 2555) เป็นจุดเริ่มต้นของวาทะ “นาฬิกายืมเพื่อน”
ตอนนั้นกระแสสังคมตั้งประเด็นสงสัยถึงว่า "นาฬิกาสุดแสนแพงเรือนนี้ พล.อ.ประวิตร ได้รับมาเมื่อใด ซื้อหามาเอง หรือมีใครนำมามอบให้" และนำไปสู่การเผยแพร่ภาพ พล.อ.ประวิตร กับนาฬิกาหรูอีกกว่า 22 เรือน มูลค่าหลายสิบล้านบาท ตั้งแต่เป็นผู้บัญชาการทหารบก
ประเด็นร้อนและอยู่ในความสนใจของประชาชน จึงเป็นที่มาให้ ป.ป.ช.เข้ามาตรวจสอบ
กว่า 1 ปี สำหรับการแสวงหาข้อเท็จจริงของ "คณะกรรมการ ป.ป.ช." ทำให้เกิดเสียงวิพากวิจารณ์ดังกระหึ่มเป็นระยะ ว่ามีความล่าช้าและอาจไม่เที่ยงตรงหรือไม่
เพราะในที่สุดแล้ว ป.ป.ช. ก็มีมติ 5:3 ไม่รับพิจารณา “นาฬิกาหรู” เป็นคดี เพราะจากการตรวจสอบเชื่อได้ว่า นาฬิกาทั้ง 22 เรือน พล.อ. ประวิตร ยืมเพื่อนสนิทร่วมรุ่นเซนต์คาเบรียล และเพื่อนเตรียมทหารรุ่นที่ 6 ด้วยกันมา
ซึ่งก็คือ “เสี่ยคราม-นายปัฐวาท สุขศรีวงศ์” เสียชีวิตไปตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2560 และได้คืนไปหมดแล้ว
ส่วนแหวนนั้นเป็น "มรดกจากบิดาตกทอดถึงมารดา" ก่อนจะได้รับมาระหว่างดำรงตำแหน่ง กลายเป็นเหตุผลที่ทำให้ พล.อ.ประวิตรหลุดจากคดีนาฬิกาหรู
และทำให้ไม่มีมูลเพียงพอว่า พล.อ.ประวิตร จงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่า มีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินนั้น
โดยกรรมการ ป.ป.ช. เสียงข้างน้อยเห็นว่า พยานหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม นอกจากนั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้แจ้งข้อมูลนาฬิกาจำนวน 22 เรือน ต่อกรมศุลกากรเพื่อให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ซึ่งต่อมากรมศุลกากรดำเนินการตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ และได้เรียกเก็บภาษีนำเข้านาฬิกาหรูดังกล่าวแล้ว โดยเมื่อเดือน ต.ค. 2563 ที่ผ่านมา มีบุคคลเข้ามายื่นเสียภาษีนำเข้านาฬิกาหรู โดยชำระภาษีนำเข้าเป็นเงินกว่า 20 ล้านบาท
ล่าสุดประเด็นนี้เป็นที่สนใจของสังคมอีกครั้งเมื่อ ศาลปกครองกลาง สั่ง ป.ป.ช. เปิดเผยผลสอบคดีนาฬิกายืมเพื่อน และคำชี้แจงของ พล.อ.ประวิตรทั้ง 4 ครั้ง
โดยศาลปกครองกลาง ได้พิพากษาให้ ป.ป.ช.ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร จำนวน 2 รายการที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ให้กับผู้สื่อข่าวสำนักข่าวออนไลน์ The MATTER ประกอบด้วย
1. รายงานสรุปผลการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งคณะทำงานรวบรวมเสนอต่อที่ประชุม ป.ป.ช.ในวันที่มีมติเกี่ยวกับคดีนี้ รวมถึงเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.คำชี้แจงของ พล.อ.ประวิตร ที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. ในคดีนี้ รวมทั้งหมด 4 ครั้ง
ทั้งนี้ ให้ปกปิดข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะของบุคคล และให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวเผยใน 15 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุดโดยใน
คำพิพากษาบางส่วน ระบุว่า การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนี้ จะแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและตรวจสอบได้ อันจะก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและศรัทธาในการปฏิบัติงานของ ป.ป.ช. อีกทั้งผู้ฟ้องคดีสมควรจะได้รับความคุ้มครองสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ
เป็นหน้าที่ของรัฐจะต้องเปิดเผย ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 41 และ 59 เพื่อเปิดโอกาสให้มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของรัฐ
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในระบอบประชาธิปไตย ตามหลักการและเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ และเพื่อให้มีการตรวจสอบความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ของ ป.ป.ช.ให้สิ้นสงสัย อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจ ที่ต้องเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม กล้าหาญ และปราศจากอคติทั้งปวงในการใช้ดุลยพินิจ
อย่างไรก็ตาม ทาง ป.ป.ช.ยังสามารถอุทธรณ์คดีนี้ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา
ไทม์ไลน์ พล.อ.ประวิตร ปมนาฬิกายืมเพื่อนมา
ข้อมูลนาฬิกาหรูของพล.อ.ประวิตร
CSI LA เปิดเผยข้อมูลนาฬิกาหลากหลายยี่ห้อที่ พล.อ.ประวิตร
ผ่าบัญชีทรัพย์สิน พล.อ.ประวิตร
“นาฬิกายืมเพื่อน” ทำให้ พล.อ.ประวิตร ถูกวิจารณ์อย่างหนัก ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ ทรัพย์สิน 2 รายการ ทั้งนาฬิกาและแหวนเพรชมีมูลค่าเกิน 200,000 บาทหรือไม่ ได้มาช่วงไหน? ถ้าได้มาช่วงหลังเดือน ก.ย.2557 ก็ไม่ปรากฎในบัญชีทรัพย์สินฯที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. ครั้งล่าสุด เพราะจะต้องแจ้งในช่วงพ้นตำแหน่ง รมว.กลาโหม
สำนักข่าวอิศรา เคยตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินของ พล.อ.ประวิตร ตั้งแต่การดำรงตำแหน่งครั้งแรกปี 2551 – 2557 พบข้อมูล
เทียบการยื่นบัญชีฯ 2 ครั้ง ทรัพย์สินเพิ่มจำนวน 12,813,410.65 บาท เงินฝากเพิ่มขึ้น 10,868,840.45 บาท เงินลงทุนเพิ่ม 2,944,569.80 บาท
เทียบกับการยื่นบัญชีฯกรณีรับตำแหน่งครั้งแรกปี 51 มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 22 ,207,408.89 บาท เงินฝากเพิ่มขึ้น 3,629,366.69 บาท เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 14,578,041.80 บาท ที่ดินเพิ่มขึ้น 5,000,000 บาท
เทียบกับการยื่นบัญชีฯกรณีรับตำแหน่งครั้งแรกปี 51 มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 30,517,751.67 บาท เงินฝากเพิ่มขึ้น 27,983,672.67 บาท เงินลงทุนลดลง 1,465,921.40 บาท ที่ดินเพิ่มขึ้น 5,000,000 บาท