“นิพนธ์”ลุยติดตามน้ำ“เขื่อนบางลาง-เขื่อนปัตตานี”รองรับเข้าฤดูมรสุม    

26 ก.ย. 2564 | 08:00 น.
อัปเดตล่าสุด :26 ก.ย. 2564 | 15:13 น.

“นิพนธ์”ห่วงประชาชน 3 จังหวัดชายแดนใต้เดือดร้อน ลุยติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนบางลาง-เขื่อนปัตตานี เร่งเตรียมการภาคใต้เข้าฤดูมรสุม ย้ำหลัก "สร้างที่ให้น้ำอยู่ ทำทางให้น้ำไหล"

วันที่ 26 กันยายน 2564 ที่เขื่อนบางลาง หมู่ที่ 2 ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา นายนิพนธ์ บุญญามณี  รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่ตรวจติดตามการควบคุมระดับน้ำและการระบายน้ำของเขื่อนบางลาง เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดยะลาและพื้นที่ใกล้เคียง

 

โดยมีรองผวจ.ยะลา  ผอ.สำนักงานชลประทานที่ 17 หน.สนง.ปภ.ยะลา โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดยะลา นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมรายงานสถานการณ์ในพื้นที่

  “นิพนธ์”ลุยติดตามน้ำ“เขื่อนบางลาง-เขื่อนปัตตานี”รองรับเข้าฤดูมรสุม        “นิพนธ์”ลุยติดตามน้ำ“เขื่อนบางลาง-เขื่อนปัตตานี”รองรับเข้าฤดูมรสุม     

นายนิพนธ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำของเขื่อนบางลาง ซึ่งในปีที่แล้วบริเวณนี้ได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำที่มากกว่าปกติ วันนี้จึงลงมาเพื่อเตรียมความพร้อมซึ่งคาดการณ์ว่าปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะเยอะกว่าปีที่แล้ว ซึ่งขณะนี้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย กำลังได้รับผลกระทบจากร่องมรสุมพาดผ่าน

    “นิพนธ์”ลุยติดตามน้ำ“เขื่อนบางลาง-เขื่อนปัตตานี”รองรับเข้าฤดูมรสุม        “นิพนธ์”ลุยติดตามน้ำ“เขื่อนบางลาง-เขื่อนปัตตานี”รองรับเข้าฤดูมรสุม     

ดั้งนั้น พื้นที่ภาคใต้ในช่วงปลายตุลาคม- ธันวาคม จะเข้าสู่ช่วงมรสุม จึงต้องวางแผนเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ก่อนน้ำมา ตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ บูรณาการร่วมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการวางแผนร่วมกันในการรับมวลน้ำที่จะเข้ามาในช่วงฤดูการมรสุม

 

ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุดไม่ให้เกิดการสูญเสียชีวิต ซึ่งการเตรียมความพร้อมที่ดีจะเป็นการยับยั้งการสูญเสียและบรรเทาความเสียหายได้

              

นอกจากนี้ ได้ประสานไปยังกรมโยธาธิการและผังเมืองให้เร่งรัดจัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างคันเขื่อนอีกฝั่ง(ชุมชนหมู่ที่2)ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เนื่องจากปีมาณน้ำจากต้นปีนี้มีการเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนที่อยู่อาศัยสร้างความเสียหายให้แก่พี่น้องประชาชนอีกด้วย

 

ทั้งนี้จังหวัดยะลามีเขื่อนบางลางที่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ให้เน้นย้ำหลักคิด "สร้างที่ให้น้ำอยู่ ทำทางให้น้ำไหล" ถ้าทำควบคู่กันก็จะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งอย่างเป็นระบบและยั่งยืน 

                     

การสร้างที่ให้น้ำอยู่ ที่มาของน้ำหลักๆ คือ น้ำฝนในช่วงมรสุม หรือเข้าสู่ฤดูฝนต้องกักเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด พร้อมจัดทำทางให้น้ำไหล เพื่อเร่งระบายน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ ลงสู่ทะเล อย่าให้กระทบต่อประชาชน บริเวณบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และพื้นที่การเกษตร มุ่งคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนเป็นสำคัญ

 

พร้อมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการวางแผนป้องกันน้ำหลากน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึงนี้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งเตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือและกำลังคนที่พร้อมจะเข้าไปให้การช่วยเหลือบรรเทาภัยอย่างเต็มศักยภาพ ส่วนสถานการณ์น้ำในเขื่อนบางลาง (ข้อมูลวันที่ 25 ก.ย. 64) มีปริมาตรน้ำอ่าง 5,341 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 65 ของความจุที่ระดับเก็บกัก

                  “นิพนธ์”ลุยติดตามน้ำ“เขื่อนบางลาง-เขื่อนปัตตานี”รองรับเข้าฤดูมรสุม     

จากนั้น รมช.มหาดไทย ได้เดินทางต่อไปยัง เขื่อนปัตตานี ตำบลตาเซะ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เพื่อติดตามระบบการควบคุมและระบายน้ำ พร้อมทั้งประเมินสถานการณ์เพื่อการรับมือสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ซึ่งสำนักงานชลประทานที่ 17 นั้น เป็นศูนย์บริหารจัดการน้ำในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยขณะนี้สถานการณ์ในภาพรวมยังคงปกติ แต่ก็ต้องติดตามสถานการณ์พายุและปริมาณฝนตกในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเพราะช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูมรสุมของพื้นที่ภาคใต้แล้ว