วันที่ 17 มิ.ย.65 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงผลการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ว่า ที่ประชุม ศบค.เห็นชอบ การปรับโซนสีโควิดล่าสุด หรือ ปรับพื้นที่สถานการณ์ทั่วราชอาณาจักร อีกครั้ง โดยปรับเป็นพื้นเฝ้าระวัง (สีเขียว) ทั้ง 77 จังหวัด และยกเลิกกำหนดพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) ทั้งประเทศ
รวมถึงเห็นชอบข้อเสนอผ่อนคลายมาตรการป้องกันควบคุมโรคในประเทศ เริ่มวันที่ 1 ก.ค.65ได้แก่
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ในที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่ มีการหารือที่ใช้เวลาพอสมควรถึงข้อเสนอให้เปิดสถานบันเทิงและบริโภคสุราถึงเวลา 02.00 น. เนื่องจากต้องศึกษาข้อกฎหมายที่มีความเชื่อมโยงกัน 3 ฉบับ คือ
"โดยที่ประชุมมอบให้ฝ่ายกฎหมาย ให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผอ.ศปก.ศบค. หาข้อสรุปโดยไปดูกฎหมายเก่าว่าจะผ่อนคลายอย่างไร ต้องผ่านกระบวนการจัดการเรื่องกฎหมาย และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะผอ.ศบค. ขอให้ทำให้เร็วที่สุด โดยอยากให้เกิดขึ้นในวันที่ 1 ก.ค. แต่เลขาฯสมช.ขอเวลาตรงนี้ให้ฝ่ายต่างๆ ได้ไปทำงานให้เต็มที่ เพื่อให้กกฎหมายและข้อมูลที่รวบรวมมาแก้ไขได้ถูกต้อง และจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง"
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่า กรมควบคุมโรครายงาน ปลายเดือน พ.ค.ถึง ก.ค. จะทราบว่าสถานการณ์จะไปอย่างไร ขณะนี้เราอยู่ในช่วงระยะหลังเกิดโรคติดต่อ โดยที่ประชุมได้รับทราบตามที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอภาพการระบาดใน 77 จังหวัด ว่า มี 50 จังหวัดมีทิศทางลดลงสอดคล้องกัน แต่มี 17 จังหวัดที่ตัวเลขลดลงแต่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องมีมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังไม่ให้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม
"หลังจากนี้จะบอกว่าหมดการระบาดแล้วนั้นยังไม่เชิง ยังคาดการณ์กันว่าอาจจะมีการระลอกเล็กๆ เกิดขึ้นมาได้บ้าง จึงต้องเฝ้าระวัง ซึ่งขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันโรคที่หมายถึงการฉีดเข็มกระตุ้นและการสวมหน้ากาก เพราะการให้ถอดหน้ากากอาจทำให้เกิดการระบาดเล็กๆ ได้"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่รอมติศบค.วันที่ 17 มิ.ย. 65 มีผลบังคับใช้ 1 ก.ค. 65 นั้น ต้องรอการประกาศมติศบค.เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เพื่อบังคับใช้อย่างเป็นทางการ
ดังนั้นก่อนถึงวันที่ 1 ก.ค. 65 จึงยังคงบังคับใช้ประกาศบค.เดิมไปก่อน ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 30 พ.ค.65 คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) หรือ คำสั่งศบค. ประกาศโซนสีโควิดใหม่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง พื้นที่เฝ้าระวัง พื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว เริ่มบังคับใช้ 1มิ.ย.65 เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียดดังนี้
คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 10/2565 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กําหนดเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง พื้นที่เฝ้าระวัง และพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังกล่าวออกไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ นั้น
เพื่อให้การบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ตามแนวทางการจัดเขตพื้นที่สถานการณ์ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 (2) ของคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กํากับ การปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563
และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหาร สถานการณ์โควิด - 19 โดยคําแนะนําของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย จึงมีคําสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงาน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรการตามข้อกําหนดฯ สําหรับเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กําหนด เป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง พื้นที่เฝ้าระวังและพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้าย คําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น
สั่ง ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ลงนามโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19
พื้นที่เฝ้าระวังสูง(สีเหลือง) รวมทั้งสิ้น 46 จังหวัด
พื้นที่เฝ้าระวัง(สีเขียว) รวมทั้งสิ้น 14 จังหวัด
พื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว (สีฟ้า) รวมทั้งสิ้น 29 จังหวัด
ราชกิจจานุเบกษาที่เกี่ยวข้อง
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔๕)
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔๔)