นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด (บีไอจี) เปิดเผยในงานสัมมนา Virtual Forum Go Green หัวข้อ GREEN MISSION:ปฏิบัติการไทย สู่สังคมโลว์คาร์บอน ลดโลกร้อน จัดโดยกรุงเทพธุรกิจว่า สิ่งที่บริษัทจะดำเนินการให้เกิดขึ้นได้คือการนำนวัตกรรมไร้ขีดจำกัดทางอากาศมาใช้ เนื่องจากบริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อากาศ โดยสิ่งที่บริษัทดำเนินการธุรกิจนี้มานานกว่า 30 ปี รวมทั้งบริษัทแม่ที่ดำเนินธุรกิจร่วมกันกว่า 80ปี ทำให้บริษัทได้ Dow jone sustainability index ซึ่งได้รับการตอบรับด้านการเติบโตและความยั่งยืนของบริษัท
ขณะเดียวกันธุรกิจของบริษัทมีการนำผลิตภัณฑ์ทางอากาศไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมได้ เช่น ออกซิเจน สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมกระจกและเหล็ก ซึ่งจะช่วยให้การเผาไหม้สมบูรณ์ขึ้น ส่งผลให้ลดการเกิดภาวะแก๊สเรือนกระจก ช่วยประหยัดพลังงาน ลดการใช้เชื้อเพลิง ส่วนไนโตรเจน สามารถนำไปใช้อุตสาหกรรมอาหารโดยไม่จำเป็นต้องใช้คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขณะที่ไฮโดรเจน สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานทางเลือกในภาคอุตสาหกรรมขนส่งได้เช่นกัน
“ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีจุดหมายปลายทางคือการลดโลกร้อนโดยแท้จริง เพราะฉะนั้นธุรกิจของเราเป็นการเซตซีโร่ รวมทั้งในอนาคตธุรกิจจะดำเนินการในส่วนของโลว์คาร์บอน คาร์บอนแคปเจอร์ แก๊สพลิเคชั่น ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะนำนวัตกรรมทางอากาศไปใช้อย่างไรให้ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกได้”
นายปิยบุตร กล่าวต่อว่า ส่วนการทำธุรกิจของบริษัทนั้น พบว่าลูกค้าของบริษัทอยู่ในทุกอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยานยนต์ เหล็ก กระจก โดยรากฐานการเกิดอุตสาหกรรมไทยเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2530 ซึ่งมาจากการใช้ก๊าซธรรมชาติ ทำให้รากฐานอุตสาหกรรมไทยคือคาร์บอนเบส เมื่อมีการแข่งขันด้านต้นทุนและดำเนินการส่งออกจนเกิดการแข่งขันด้านราคา ทำให้ผลิตภัณฑ์มีราคาต่ำ ส่งผลให้ต้นทุนต่ำลงไปด้วย ดังนั้นอุตสาหกรรมในไทยกลายเป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนเบสและต้นทุนต่ำ เมื่อเข้าสู่โลว์คาร์บอน อุตสาหกรรมไทยเป็นอุตสาหกรรมที่มีการส่งออก รวมทั้งหลายประเทศเริ่มมีการเซ็ตซีโร่ในเรื่องนี้ หากไทยต้องการค้าขายในสังคมต้องดำเนินการในส่วนนี้ด้วย ซึ่งถือเป็นความท้าทาย
“เราคิดว่าอุตสาหกรรมไทยต้องมองในเรื่อง ECO SYSTEM ให้ได้ ซึ่งสามารถทำได้ โดยบริษัทพยายามนำโซลูชั่นนี้ไปใช้ดำเนินการในทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรม ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมสามารถดำเนินการได้ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีโรงกลั่น เนื่องจากมีผู้เล่นระดับประเทศและระดับโลก ปัจจุบันมีความพร้อมในการลดคาร์บอนแล้ว ส่วนหลายอุตสาหกรรมที่ยังต้องดำเนินการอยู่กับผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเดิม ก็ต้องนำนวัตกรรมเหล่านี้เข้าไปช่วยในการลดคาร์บอน โดยผู้ที่ก้าวหน้าไปแล้วและผู้ที่ต้องการการพึ่งพาต้องรวมกันเป็นอีโคซิสเท็ม ซึ่งเราต้องการทำให้โลกนี้ดีขึ้นและยั่งยืนเพื่อช่วยกันทำให้มีโซลูชั่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง”
นายปิยบุตร กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมมือกัน โดยประเทศที่มีระบบการคิดว่า from covid full climate โควิดเป็นแล้วมีวัคซีนแก้ได้ถึงไม่เต็ม 100% ก็ตาม แต่ climate หากเป็นแล้วไม่มีอะไรแก้ได้ ขณะเดียวกันประเทศไทยในปี 2540 จาก Worle Economic Forum ถือเป็น 1 ในประเทศที่จมน้ำ หากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เมืองหลวงในไทยจะได้รับผลกระทบก่อน ซึ่งอยู่ในสภาวะที่จะทำก็รอดหรือไม่ทำก็ตาย
“ภาคเอกชนเราคิดว่าไม่มีออปชั่นที่จะไม่ทำ ในส่วนของต้นทุนที่เราไม่ได้สนใจ เช่น ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ต้นทุนการจ่ายกำแพงภาษีต่างๆ เราต้องเก็บมาคิดแล้วว่า เราจะทำอย่างไร ขณะที่ซัพพลายเชน ภาครัฐพยายามสนับสนุนเรื่องสมาร์ท ฯลฯ เราควรมองที่ซัพพลายเชน โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าที่เริ่มเข้ามา ซึ่งมีอีเอเข้ามาช่วยในเรื่องเชื้อเพลิง รวมทั้งกระจก เชื้อเพลิง มันกรีนแล้วหรือยัง เราจะทำอย่างไรให้อีโคซิสเท็มซัพพลายเชนเป็นกลุ่มซัพพลายเชน โดยภาครัฐจะต้องมีส่วนช่วยเพื่อดำเนินการต่อไปได้”
ทั้งนี้ภาครัฐจะต้องช่วยให้เกิดความตระหนักรับรู้และเกิดโปรเจคต์นำร่อง เนื่องจากหลายประเทศเริ่มดำเนินการแล้ว ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเข้าสู่เซ็ตซีโร่ โดยบริษัทจขออาสาเป็นตัวแทนดำเนินการเรื่องนี้ให้เกิดซัพพลายเชนในผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ สามารถนำมาผลิตออกซิเจน ไนโตรเจน ซึ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีความแตกต่างจากที่อื่น เนื่องจากบริษัทมีคาร์บอนเครดิตที่มีสีเขียว สามารถนำไปสู่การใช้ภาคอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ หรือภาคอุตสาหกรรมขนส่ง อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้สังคมและสิ่งแวดล้อมต้องยั่งยืน รวมทั้ง sustainability ยังเป็นพื้นฐานของการเซ็ตซีโร่อีกด้วย