3 ตุลาคม 2564 สถานการณ์น้ำท่วม มีรายงานล่าสุดว่า กองอํานวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศฉบับที่ 17/2564 เรื่อง เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในลําน้ำชีล้นตลิ่งจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชัน "เตี้ยนหมู่" และแนวร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 24-25 กันยายน 2564 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในลุ่มน้ำชี โดยเฉพาะในลุ่มน้ำชีตอนบน บริเวณจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งปริมาณน้ำสูงสุดได้เดินทางมาถึงเขื่อนชนบท อําเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
ส่งผลให้ระดับน้ำที่เขื่อนชนบทสูงกว่าตลิ่งในช่วงพื้นที่ลุ่มต่ำประมาณ 3.50 เมตร และล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำชี ในเขต อําเภอโคกโพธิ์ไชย อําเภอแวงใหญ่ อําเภอชนบท อําเภอมัญจาคีรี อําเภอบ้านไผ่ อําเภอบ้านแฮด และอําเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
ประกอบกับระดับน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น สูงเกินเกณฑ์ระดับน้ำควบคุมสูงสุด จึงมีความจําเป็นต้องระบายน้ำลงลําน้ำพองและไหลไปรวมกับแม่น้ำชี ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำในลําน้ำชีเพิ่มสูงมากขึ้น
กองอํานวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำชีตอนกลาง บริเวณอําเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และอําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พบว่า เขื่อนมหาสารคาม อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีระดับน้ำ +147.58 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) สูงกว่า ระดับเก็บกัก 0.78 เมตร (ระดับเก็บกัก +146.8 ม.รทก.)
ปัจจุบันมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนมหาสารคาม 580 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทําให้ระดับน้ําเพิ่มสูงขึ้น 5 เซนติเมตรต่อชั่วโมงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระดับน้ำในลําน้ำชี เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1.50-2 เมตร ล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำชีในช่วงวันที่ 4-15 ตุลาคม 2564 ดังนี้
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดําเนินการ ดังนี้
1.ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่จุดเสี่ยงบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมน้ําทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมพร้อม ในการอพยพและเคลื่อนย้ายสิ่งของได้ทันท่วงที่หากเกิดสถานการณ์
2.ปรับแผนบริหารจัดการเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ โดยพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำ ให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ จัดจราจรน้ำในการสับหลีกการระบายน้ําจากอ่างเก็บน้ำและเร่งระบายน้ำในลําน้ำ แม่น้ำ รองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน เพื่อลดผลกระทบความรุนแรงของอุทกภัยและให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
3.เตรียมแผนเผชิญเหตุรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสํารอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบ ต่อประชาชนได้ทันที