ประกันสังคมมาตรา 40 พรุ่งนี้โอนเงินเยียวยารอบเก็บตกอย่าลืมผูกพร้อมเพย์ฯ

06 ต.ค. 2564 | 08:35 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ต.ค. 2564 | 15:03 น.

ประกันสังคมมมาตรา 40 พรุ่งนี้วันพฤหัสบดี สำนักงานประกันสังคม โอนเงินเยียวยารอบเก็บตก อย่าลืมผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชน

อัพเดทความคืบหน้าโอนเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตนในพื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัด แม้ สำนักงานประกันสังคมโอนเงินเยียวยาเสร็จสิ้นภารกิจไปแล้วตั้งแต่วันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา

 

แต่ปรากฎว่ายังมีกลุ่มตกหล่นประกันสังคมไม่สามารถโอนเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33,มาตรา 39 และ มาตรา 40  ได้ เนื่องจากผู้ประกันตนไม่ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน หรือ ชื่อ และ นามสกุล ไม่ตรงกับบัตรประชาชน และ บัญชีธนาคาร ถูกปิดเป็นต้น ประมาณ 4 แสนราย ที่ยังไม่สามารถโอนเงินเยียวยาได้

 

ล่าสุด สำนักงานประกันสังคม โอนเงินเยียวยาอีกรอบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 ทุกๆ วันพฤหัสบดี จนสิ้นสุดโครงการวันที่ 31 ธันวาคม 2564  โดยพื้นที่สีแดงเข้มจำนวน 13 จังหวัด ได้รับเงินเยียวยาจำนวน 2 รอบ และ พื้นที่สีแดงเข้มจำนวน 16 จังหวัด ได้รับเงินเยียวยาจำนวน 1 รอบเท่านั้น

 

พื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม 

  • กรุงเทพมหานคร
  • นครปฐม
  • นนทบุรี
  • ปทุมธานี
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสาคร
  • สมุทรสงคราม
  • นราธิวาส
  • ปัตตานี
  • ยะลา
  • สงขลา
  • ฉะเชิงเทรา
  • อยุธยา
  • ชลบุรี
  • นครราชสีมา
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • สระบุรี
  • สุพรรณบุรี
  • กาญจนบุรี
  • ลพบุรี
  • เพชรบูรณ์
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ปราจีนบุรี
  • เพชรบุรี
  • ตาก
  • อ่างทอง
  • นครนายก
  • สิงห์บุรี

 

 

ประกันสังคมมาตรา 40 พรุ่งนี้โอนเงินเยียวยารอบเก็บตกอย่าลืมผูกพร้อมเพย์ฯ

ก่อนหน้านี้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตั้งแต่ช่วงเดือนต้นกันยายน ถึงวันที่ 28 ก.ย.2564 กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้โอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน เพื่อให้ความช่วยเหลือนายจ้าง และผู้ประกันตน ทั้ง 3 มาตรา ไปแล้วเป็นเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจกว่า 9 หมื่นล้านบาท ให้แก่ นายจ้างกว่า 150,000 ราย ผู้ประกันตน ม.33, 39 และ 40 จำนวนเกือบ 12 ล้านคน

 

ส่วนที่เหลือผู้ประกันตน จำนวน 4 แสนกว่าราย และนายจ้าง จำนวนกว่า 2,100 ราย เงินยังไม่เข้าเนื่องจากสาเหตุบัญชียังไม่ได้ผูกพร้อมเพย์ หรือผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนไม่ได้ เช่น เป็นบุคคลล้มละลาย ถูกอายัดบัญชีจากกรมบังคับคดี หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ เป็นต้น ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการเยียวยาเพิ่มเติม.

 

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม