ฐานเศรษฐกิจ เกาะติดสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำท่วม ฝนตก ฯเพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินสถานการณ์การดำเนินกิจการ การเดินทาง การใช้ชีวิตประจำวัน
ล่าสุด คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. สรุปสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 7 ตุลาคม 2564 เนื้อหาในรายงานสรุปว่า นับจากวันที่ 7 ตุลาคม 2564 เหลืออีก 25 วัน จะสิ้นสุดฤดูฝน พร้อมกันนี้ยังมีการคาดการณ์ฝนด้วยว่า
ช่วงวันที่ 7-9 ต.ค. 64
ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัด ปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยมีกําแรง ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และฝนตกหนักได้ในบางแห่งบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้และด้านตะวันตกของประเทศ
โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ตราด และจันทบุรี
ช่วงวันที่ 10-13 ต.ค. 64
ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียง ใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยมีกําลังแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักได้ในบางแห่งบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และด้านตะวันตกของประเทศ
สําหรับหย่อมความกดอากาศต่ำกําลังแรงได้พัฒนาเป็นพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มจะทวีกําลังแรงขึ้น และเคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณ อ่าวตังเกี่ย ทั้งนี้ขอให้เฝ้าติดตามการคาดการณ์อย่างใกล้ชิด
คาดการณ์คลื่น
ช่วงวันที่ 7-9 ต.ค. 64 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทย มีกําลังแรง ส่งผลให้บริเวณทะเลอันดามัน มีคลื่นสูงประมาณ 1 - 1.5 เมตร ส่วนทะเลฝั่งอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 1 - 2 เมตร
สรุปสถานการณ์เฝ้าระวัง
เฝ้าระวัง
ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นบริเวณที่ลุ่มริมแม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก ในหลายพื้นที่จากอิทธิพลของฝนที่ตกหนักในช่วงที่ ผ่านมาและมีการปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนพระรามหก
ทั้งนี้ปัจจุบันฝนที่ตกมีแนวโน้มลดลง ทําให้การระบายน้ําจะไม่เพิ่มสูงขึ้น
เฝ้าระวัง
ฝนตกหนักถึงหนักมากในบริเวณจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร เนื่องจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กําลังแรง พัดปกคลุมบริเวณภาคใต้และด้านตะวันตกของประเทศ
เฝ้าติดตาม
พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ โดยมีแนวโน้มทวีกําลังแรงขึ้นและเคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ทั้งนี้ขอให้เฝ้า ติดตามการคาดการณ์อย่างใกล้ชิด
เฝ้าติดตาม
ปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ยังคงมีน้ำใช้การน้อย เพียง 6,305 ล้าน ลบ.ม.
ที่มา คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ