รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า ข้อมูล ที่มา ความสำคัญ กลไก ความปลอดภัย ของการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง
การฉีดเข้าชั้นผิวหนังจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันผ่านกลไกอีกระบบหนึ่งที่ไม่กระตุ้นหรือมีผลน้อยที่สุดในการก่อการอักเสบแบบระบบที่ฉีดเข้ากล้าม
นอกจากนั้นปริมาณที่ใช้จะน้อยมาก
ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับยังคงอยู่แต่ลดผลข้างเคียงทั้งระยะเฉียบพลันและระยะยาวที่จะเกิดขึ้น
นอกจากนั้น ประหยัดและสามารถมีวัคซีนเหลือใช้ได้กับคนเพิ่มขึ้นห้าถึง 10 เท่า
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดกันทุกวันนี้ก็มีแบบเข้าชั้นผิวหนังเช่นกันและอนุมัติใช้ในประเทศสหรัฐด้วย
อย่างไรก็ดี "หมอธีระวัฒน์" ยังได้โพสต่ออีกด้วยว่า
ถ้าฉีดได้วันละ 1 ล้านห้า ทุกว้น
วัคซีนเข้ามากระปริบกระปรอยก็ไม่ว่า
10 ล้านโดส เป็น 30 เป็น 50 หรือ 100 ล้านโดส ขึ้นกับยี่ห้อ
ถ้าใช้การฉีดเช้าชั้นผิวหนังที่พิสุจน์แล้วได้ผล
ผลข้างเคียงถ้าจะมี ก็ที่ตำแหน่งฉีด เท่านั้น ผลรุนแรงแทบไม่มี หรือ น้อยกว่าเข้ากล้ามเป็น 10 เท่า
ทำแล้ว ที่ มอ วชิระภูเก็ต ทีม ประสาน อาจารย์หมอเขตต์ ดร.อนันต์ อาจารย์หมอทยา และเราด้วย
แล้วคนไทยจะมีความสุขแค่ไหน
ทำเลย วันนี้
สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 (covid-19) ในประเทศไทยนั้น "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.-6 ต.ค. 64 มีการฉีดสะสมแล้วจำนวน 57,387,052 โดส แบ่งเป็นเข็มที่ 1 จำนวน 33,774,684 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 22,005,722 ราย และเข็มที่ 3 จำนวน 1,606,646 ราย