เกาะติด “มาตรการเยียวยา” "เยียวยาแท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์" พื้นที่สีแดง เป็นโครงการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และรถจักรยานยนต์สาธารณะ อายุเกิน 65 ปี ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ใน 29 จังหวัด ของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม
วันนี้เป็นวันแรกที่เปิดให้จองคิวเพื่อลงทะเบียนรับเงินเยียวยาโครงการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์สาธารณะ อายุเกิน 65 ปี
ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 โดยจองคิวออนไลน์ล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือเว็บไซต์ https://gecc.dlt.go.th/ ตั้งแต่วันที่ 18 ต.ค. - 5 พ.ย. 2564
เมื่อได้คิววันนัดแล้วต้องไปลงทะเบียนรับสิทธิช่วยเหลือด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 25 ต.ค.-5 พ.ย.2564 ที่กรมการขนส่งทางบก, สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-4 และสำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ
เริ่มลงทะเบียน
วันที่ 25 ตุลาคม-5 พฤศจิกายน 64
หลักฐานการลงทะเบียน
1.ใบคำขอเพื่อรับสิทธิช่วยเหลือ รับ ณ จุดลงทะเบียน
2.บัตรประจำตัวประชาชน
3.ใบอนุญาตขับรถสาธารณะ
4.บัตรประจำตัวผู้ขับรถสาธษรณะ
**ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน
จ่ายเงินรอบแรก
ระหว่างวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2564 สำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะเเละรถเเท็กซี่ส่วนบุคคล
จ่ายเงินรอบที่ 2
ระหว่างวันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2564 สำหรับเเท็กซี่สาธารณะที่เช่าขับ
การจ่ายเงิน
จ่ายเงินผ่านพร้อมเพย์เฉพาะการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น
กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ขับรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์
1.กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ขับรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี ก่อนวันที่ 11 ส.ค.64
2.ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33, 39 และมาตรา 40 ที่ประกอบอาชีพอยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จำนวน 29 จังหวัด รวม 16,694 คน แบ่งเป็น
3.มีใบอนุญาตขับรถสาธารณะ เเละบัตรประจำตัวผู้ขับรถสาธารณะ
4.รถที่ใช้ประกอบอาชีพต้องชำระภาษีครบถ้วน
5.ประกอบการชีพใน 29 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดเเละเข้มงวด
6.มีศักยภาพในการขับรถ
7.กรณีรถเช่า ต้องสามารถยืนยันทะเบียนรถ เเละผู้ให้เช่า โดยกรมการขนส่งทางบก จะตรวจสอบก่อนรับสิทธิ
ทั้งนี้มี กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ 12,918 คน รถจักรยานยนต์สาธารณะ 3,776 คน
ระยะเวลาดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินการ 2 เดือน กรอบวงเงิน 166.94 ล้านบาท
การจ่ายเงินเยียวยา
-13 จังหวัดตามข้อกำหนดฉบับที่ 25 และฉบับที่ 28 ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จะได้รับเงินเยียวยาในอัตรา 10,000 บาทต่อคน (คนละ 5,000 บาท จำนวน 2 เดือน)
-16 จังหวัดตามข้อกำหนดฉบับที่ 30 จะได้รับเงินเยียวยาในอัตรา 5,000 บาท ต่อคน(คนละ 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน) วิธีการจ่ายเงินจะโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เฉพาะการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชน หรือตามวิธีการอื่นที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด